ขาดบวชในเดือนรอมฎอน ควรทำอย่างไร? การถือศีลอดใช้ พร้อมการเหนียตถือศีลอดชดใช้


27,319 ผู้ชม

การถือศีลอด เป็นหลักปฏิบัติในศาสนบัญญัติ 1 ใน 5 ประการ ใครที่ขาดถือศีลอดในเดือนรอมฎอนที่มา ควรรีบชดใช้ก่อนเดือนรอมฎอนจะมาใหม่ วิธีการถือศีลอดใช้  การเหนียตถือศีลอดชดใช้


ขาดบวชในเดือนรอมฎอน ควรทำอย่างไร? การถือศีลอดใช้  พร้อมการเหนียตถือศีลอดชดใช้

การถือศีลอด เป็นหลักปฏิบัติในศาสนบัญญัติ 1 ใน 5 ประการ ใครที่ขาดถือศีลอดในเดือนรอมฎอนที่มา ควรรีบชดใช้ก่อนเดือนรอมฎอนจะมาใหม่ วิธีการถือศีลอดใช้  การเหนียตถือศีลอดชดใช้

การถือศีลอดใช้จากเดือนรอมฎอนที่ผ่านไปนั้น ไม่จำเป็นต้องถือใช้ทันที แต่จำเป็นต้องถือใช้เป็นระยะยาว

( كَانَ يَكُوْنُ عَلَيَّ الصَّوْمُ مِنْ رَمَضَانَ فَمَا أَسْتَطِيْعُ أَنْ أَقْضِيَهُ إِلا فِيْ شَعْبَان )
رواه البخاري ومسلم

เพราะมีการกล่าวอ้างอิงจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า “ฉันเคยขาดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ฉันไม่สามารถที่จะถือใช้ได้ เว้นแต่ในเดือนชะอฺบาน” บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม

อัลฮาฟิธกล่าวในหนังสือ “อัลฟัตฮุ” (4/191) ว่า “ในหะดีษเป็นการบ่งชี้ถึงการอนุญาตให้เลื่อนเวลาการถือศีลอดใช้ โดยทั่วไปถึงแม้จะมีอุปสรรคหรือไม่มีก็ตาม”

ขาดบวชในเดือนรอมฎอน ควรทำอย่างไร? การถือศีลอดใช้  พร้อมการเหนียตถือศีลอดชดใช้

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า การรีบเร่งถือศีลอดใช้ย่อมดีกว่าการเลื่อนเวลาออกไป เพราะรวมเข้าอยู่ในหลักฐานดังกล่าว มีระบุไว้ในซูเราะฮฺอาลอิมรอน อายะฮฺที่ 133 ว่า

وَسَارِعُوْا إِلَى مَغْفِرَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ 

ความว่า “และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า”

และอีกอายะฮฺหนึ่งระบุไว้ในซูเราะฮฺอัลมุอฺมินูน อายะฮฺที่ 61 ว่า

أُوْلَئِكَ يُسَارِعُونَ فِي الْخَيْرَاتِ وَهُمْ لَهَا سَابِقُونَ ﴿٦١﴾

ความว่า “ชนเหล่านั้นพวกเขารีบเร่งในการประกอบความดีทั้งหลาย และพวกเขาเป็นผู้เหมาะสม สมควรเป็นผู้รุดหน้าไปก่อน”

ไม่จำเป็นต้องถือศีลอดใช้อย่างต่อเนื่อง

อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 185 ว่า

فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ

ความว่า “ดังนั้นก็ให้ถือศีลอดใช้ในวันอื่น”

อิบนฺอับบาส กล่าวว่า “ถ้าจะถือศีลอดใช้โดยไม่ติดต่อกันก็ไม่เป็นไร”   บันทึกโดย : อัดดารุกุฎนีย์ และอิบนฺอะบีชัยบะฮฺ โดยสายสืบที่ศ่อฮี้ฮฺ

อะบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า “จะถืออย่างต่อเนื่องก็ได้หากประสงค์” โปรดดูในหนังสือ “อิรวาอุลฆ่อลีล” (4/95)

ข้อควรสังเกตุ

ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นคำสั่งใช้ของท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้ถือศีลอดอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ใกล้เคียงและเป็นการกระทำที่สะดวกง่ายดายคือ อนุญาตให้กระทำได้ทั้งสองอย่างคือ ถือศีลอดอย่างต่อเนื่องก็ได้ และถือศีลอดโดยไม่ติดต่อกันก็ได้ ดังกล่าวนี้อิมามชาวซุนนะฮฺ คือ อะหมัด อิบนฺฮัมบัล ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

อะบูดาวู๊ดได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัลมะซาอิล” (หน้า 95) ว่า “ฉันได้ยินอิมามอะหมัดถูกถามถึงการถือศีลอดใช้ของเดือนรอมฎอน ท่านกล่าวตอบว่า หากเขาประสงค์จะถือศีลอดโดยไม่ติดต่อกันก็ได้ และหากเขาประสงค์จะถือศีลอดโดยต่อเนื่องกันก็ได้ อัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ดียิ่ง”

ดังนั้นจึงอนุญาตให้ถือศีลอดใช้โดยไม่ติดต่อกัน และไม่ปฏิเสธการถือศีลอดใช้อย่างต่อเนื่องกันด้วย

การถือศีลอดแทนผู้ตาย

นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อผู้ตายขาดการละหมาด ญาติผู้ตายหรือผู้อื่นจะทำการละหมาดแทนผู้ตายไม่ได้ และเช่นเดียวกัน ผู้ใดที่ไม่สามารถถือศีลอดจะให้ผู้อื่นถือแทนเขาขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน แต่เขาจะต้องจ่ายอาหารแก่ผู้ยากจนขัดสนหนึ่งคนต่อหนึ่งวัน ดังเช่นที่อะนัส อิบนฺมาลิก ได้ปฏิบัติในการกล่าวอ้างอิงซึ่งได้กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าผู้ตายได้บนบานจะถือศีลอด ญาติผู้ตายจะถือศีลอดใช้แทนได้ ดังที่ท่านนะบีได้กล่าวไว้ว่า

مَنْ مَاتَ وَعَلَيْهِ صَوْمٌ صَامَ عَنْهُ وَلِيُّهُ ) رواه البخاري ومسلم

ความว่า “ผู้ใดตายและเขาได้บนบานจะถือศีลอดไว้ ญาติของเขาจะถือศีลอดใช้แทนได้”  บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม

มีรายงานจากอิบนฺอับบาส แจ้งว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนะบีแล้วกล่าวว่า

يَا رَسُوْلَ اللهِ إِنَّ أُمِّيْ مَاتَتْ وَعَلَيْهَا صَوْمُ شَهْرٍ فَأَقْضِيْهِ عَنْهَا ؟
قَالَ : نَعمْ ، فَدَيْنُ اللهِ أَحَقُّ أَنْ يُقْضَى )

رواه البخاري ومسلم

ความว่า “โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ มารดาของฉันได้ตายและนางไม่ได้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน ฉันจะถือศีลอดใช้แทนนางได้ไหม ? ท่านร่อซูลุลลอฮฺตอบว่า ได้! หนี้สินของอัลลอฮฺเหมาะสมยิ่งกว่าที่จะใช้”   บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม

หะดีษต่างๆ เหล่านี้เป็นหะดีษโดยทั่วไปชัดเจนในการบัญญัติให้ญาติถือศีลอดใช้แทนผู้ตายได้ในการถือศีลอดทุกชนิด ซึ่งผู้สังกัดมัซฮับชาฟีอีย์และอบินหัสมฺมีความเห็นตรงกัน

แต่ะหะดีษต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษทั่วไปเฉพาะ ดังนั้นญาติของผู้ตายจะถือศีลอดใช้แทนให้ไม่ได้นอกจากการถือศีลอดที่ได้บนบานไว้เท่านั้น ดังที่อิหม่ามอะหมัดได้กล่าวไว้ในหนังสือ บันทึกโดยอะบูดาวู๊ด กล่าวไว้ว่า “ฉันได้ยินอิหม่ามอะหมัด อิบนฺฮัมบัล กล่าวว่า ไม่มีการถือศีลอดแทนคนตายนอกจากการถือศีลอดที่บนบาน อะบูดาวู๊ดกล่าวว่า ฉันได้กล่าวกับอิหม่ามอะหมัดว่า แล้วการถือศึลอดเดือนรอมฎอนเล่า ? อิหม่ามอะหมัดตอบว่า ให้จ่ายอาหารแทน”

ขาดบวชในเดือนรอมฎอน ควรทำอย่างไร? การถือศีลอดใช้  พร้อมการเหนียตถือศีลอดชดใช้

และผู้ใดตายและเขาได้บนบานการถือศีลอดไว้

จะให้บุคคลอื่นหลายคนถือศีลอดแทนเท่าจำนวนวันที่เขาบนบานไว้อนุญาตให้กระทำได้ อัลหะซันกล่าวว่า “หากจะให้บุคคลอื่น 30 คน ถือศีลอดแทนคนละหนึ่งวัน อนุญาตให้กระทำได้”   บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ

ส่วนการบริจาคอาหารให้แก่คนยากจนขัดสนนั้น ถ้าหากญาติของเขาจะรวบรวมคนยากจนขัดสนเท่าจำนวนวันที่เขาบนบานเอาไว้ และเลี้ยงอาหารพวกเขาจนอิ่มก็อนุญาตให้กระทำได้ ดังเช่นอะนัส อิบนมาลิกได้กระทำ

ที่มา: www.islaminthailand.org

อัพเดทล่าสุด