การนอนกลางวันในอิสลาม


19,090 ผู้ชม

การนอนกลางวันในอิสลาม แนวทางนบีที่วิทยาศาสตร์ยอมรับ....


การนอนกลางวันดีหรือไม่ ในอิสลาม

ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าวว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

قيلوا فإن الشياطين لا تقيل

ความว่า: "พวกท่านจงนอนกลางวันเถิด เพราะแท้จริงบรรดาชัยฏอนนั้นไม่นอนกลางวัน"

[บันทึก โดยอบูนุอัยมฺใน "อัคบารฺ อัศบะฮาน" 1/195 ,  อัฏเฏาะบะรอนีย์ ใน "อัลเอาสัฏ" 1/13 ลำดับหะดีษที่28,  และอัลอิรอกีย์ ใน "อัลมูฎิหฺ" 2/159]

อัล มุฮันนาได้ถามอิหม่ามอะหฺมัดว่า: ท่านรู้หรือไม่ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า "พวกท่านจงนอนกลางวันเถิด เพราะแท้จริงบรรดาชัยฏอนนั้นไม่นอนกลางวัน"  ท่านอิหม่ามอะหฺมัดตอบว่า: "ไม่รู้ แท้จริงแล้วมันเป็นสายรายงานจากมันศูรฺ จากมุญาฮิด จากท่านอุมัรฺ"

[ดู อัลมุนตะค็อบ ฟี อิละลิล ค็อลลาล หน้า 84   , ตะหฺกีก อบูมุอาซ ฏอริก อิวะฎุลลอฮฺ]

ท่าน อัสสุยูฏีย์กล่าวว่า: "เมื่ออัลหาฟิซ-ผู้มีความจำหะดีษ-  ผู้ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์หะดีษ ได้พูดถึงหะดีษบทใดบทหนึ่งว่า ฉันไม่รู้จักแล้ว ถือเป็นหลักในการปฏิเสธหะดีษนั้น  ๆ " [ตัดรีบุรฺรอวีย์ 1/296]

การนอนกลางวันในอิสลาม

ทำไมต้องหาโอกาสนอน หรือนอนพักกลางวัน (หมอชาวบ้าน)

โดย แพทย์แผนจีน นพ.ภาสกิจ (วิทวัส) วัณนาวิบูล   

การนอนหลับเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอย่างมาก

เคยมีคนทดลองให้คน 3 คน เข้าสู่การทดลอง

คนที่ 1 ไม่ได้ดื่มอะไร

คนที่ 2 ไม่ให้กินอะไร

คนที่ 3 ไม่ให้นอนหลับ

แล้วดูผลว่าใครจะทนไม่ไหวก่อนกัน

ปรากฏว่า คนที่บังคับไม่ให้นอนหลับจะอาการหนักที่สุด แสดงว่าการนอนหลับ มีผลต่อร่างกายจิตใจและชีวิตอย่างมาก เมื่อเทียบกับการขาดอาหาร และน้ำดื่ม   

แพทย์แผนจีน เน้นช่วงเวลาการนอนหลับอย่างไร

1.นอนช่วงที่ยินเข้าสู่ภาวะสูงสุดก่อนเกิดหยาง (23.00-01.00 น.) เป็นช่วงแปรเปลี่ยนของพลังยินเป็นพลังหยาง เรียกว่า เป็นการหลับในช่วงกลางคืน หลับในช่วงจื่อสื่อ

2.นอนช่วงสั้น ๆ ในช่วงที่พลังหยางสูงสุดก่อนการเกิดพลังยิน (11.00-13.00 น.) เป็นช่วงแปรเปลี่ยนพลังหยางเป็นพลังยิน เรียกว่าหลับในช่วงหวู่สื่อ เป็นการหลับสั้น ๆ ในช่วงกลางวันหรือเที่ยง

3.การหลับให้สนิทในช่วงพลังลมปราณเข้าอวัยวะตับ คือ 01.00-03.00 น. เพื่อรักษาและถนอมตับ และเก็บเลือดกลับสู่ร่างกายให้มากที่สุด เรียกว่าหลับในช่วงโฉว่สื่อ

4.การหลับให้สนิทในช่วงพลังลมปราณเข้าอวัยวะปอด คือ 03.00-05.00 น. เพื่อช่วยให้ปอดสามารถส่งเลือด และพลังไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ เรียกว่า พลังในช่วงยิ่นสือ

การนอนกลางวันในอิสลาม

การนอนหลับในช่วงกลางวันสำคัญอย่างไร

1.แพทย์แผนจีนกล่าวถึงการนอนหลับในช่วงแปรเปลี่ยนของพลังยินหยาง คือ ช่วง 23.00-01.00 น. และช่วง 11.00-13.00 น. ว่า จื่อหวู่เจี้ยว
   

- ช่วงเวลาจื่น (23.00-01.00 น.) หลับยาว

-ช่วงเวลาหวู่ (11.00-13.00 น.) หลับสั้น ๆ
   

2.การหลับสั้น ๆ ในช่วงกลางวัน

-ช่วงลดภาวะหยางกำเริบ หรือไฟในร่างกายได้ โดยเฉพาะคนที่ปากเป็นแผลร้อนใน อารมณ์หงุดหงิด มีปัญหาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน ควรหาเวลาพักนอนหลับงีบสั้น ๆ หรือสงบอารมณ์ผ่อนคลายในช่วงนี้

-โดยธรรมชาติช่วงเวลา 11.00-13.00 น. เป็นช่วงที่พลังหยางสูงสุดในรอบวัน และยิ่งถ้าเป็นฤดูร้อน ช่วงที่อากาศร้อนจัด ความร้อนจะลอยสูงสู่เบื้องบน ทำให้เป็นช่วงที่ทำลายยินของร่างกายได้มากที่สุด หลักการสำคัญของการพักจิตใจ หรือการนอนหลับ คือการนอนเสริมหยิน เพื่อลดความร้อนแรงของหยางนั่นเอง

-ถ้ายังทำงานไม่หยุด หรือใช้พลังหยางอย่างต่อเนื่องจะทำให้พลังหยางมากยิ่งขึ้น จะทำลายหยิน และเลือดอย่างมาก

- การนอนหลับสั้น ๆ ประมาณ 15 นาที 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ตามสภาพเงื่อนไขของแต่ละบุคคล และสภาพการงาน ถ้าไม่มีโอกาสนอนงีบก็ขอให้นั่งเอนงีบหรือปิดตาปล่อยวางจิต ลดการใช้เลือดและพลังหยางของร่างกาย ก็ยังได้ผลดีกว่าไม่พักสงบจิตเลย

 3.การนอนหลับในช่วงเที่ยง

ลดภาระการทำงานหนักของหัวใจ ลดอัตราการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลันได้ร้อยละ 30 และเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพในช่วงตอนบ่าย 

4.ช่วงเที่ยงวัน ยังต้องพิจารณา เรื่องอาหารมื้อเที่ยงควบคู่กันไปด้วย

- ควรพักงีบก่อนกินอาหารเที่ยง หรือควรกินอาหารเที่ยงก่อนพักงีบ

- ปกติมักจะพักเที่ยงกันตอน 12.00 น. ตามหลักทฤษฎีแพทย์แผนจีนแล้ว ควรพักจิต หรืองีบหลับก่อนกินอาหาร เพราะเมื่อกินอาหารอิ่มแล้วไปนอนหลับ จะทำให้อาหารมีการย่อยดูดซึมไม่เต็มที่ (ไม่ว่าจะเป็นการกินอิ่มก่อนนอนในช่วงกลางวันหรือกลางคืน) เพราะขณะนอนพักร่างกายจะพักทำงาน ระบบย่อยอาหารจะทำงานน้อยลง จึงควรหาเวลาสั้น ๆ พักก่อนไปกินอาหาร หลังกินอาหารเที่ยงควรเดินพักผ่อน เคลื่อนไหวอิริยาบถเบา ๆ จึงจะเหมาะสมกว่า

การกินอาหารเที่ยงไม่ควรเกิน 12.30 น. เพราะช่วง 13.00 น. เป็นช่วงส่งผ่านพลังลมปราณ มายังลำไส้เล็ก ซึ่งมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารของดีขับแยกอาหารและของเสียออกจากกัน เพื่อขับทิ้งสู่ลำไส้ใหญ่ การทำงานของลำไส้เล็กที่ดีจะมีผลต่อการที่ร่างกายได้สารอาหารหล่อเลี้ยงที่สมบูรณ์

ช่วงเวลา 13.00-15.00 น. ร่างกายค่อนข้างทำงานหนัก ด้านหนึ่งพลังหยินกำลังเกิด พลังหยางกำลังลดลง ร่างกายใช้พลังหยางมาตลอดช่วงเช้า บางคนต้องใช้กาแฟ น้ำชา ของเผ็ดร้อน มากระตุ้นระบบประสาทให้ทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ขอแนะนำ ลองปรับเปลี่ยนเป็นวิถีธรรมชาติ ด้วยการหาเวลาหลับงีบสั้น ๆ หรือพักจิต หรือปิดตาผ่อนคลายในช่วงสั้น ๆ ระหว่างเวลา 12.00-13.00 น. ก่อนไปกินอาหาร จะทำให้อาการอ่อนล้าในช่วงบ่ายดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องกระตุ้นด้วยกาแฟ เพราะเป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติ

5.การนอนช่วงกลางวัน ไม่ควรยาวเกินหรือนานเกินไป

เพราะจะไปรบกวนธรรมชาติของร่างกาย ทำให้วงจรนาฬิกาชีวิตแปรปรวนได้ เช่น เวลาที่ควรจะง่วงและนอนกลางคืนกลับไม่ง่วง ทำให้นอนดึก ตื่นสาย กินอาหารไม่ตรงตามเวลาที่เหมาะสม

ช่วงหน้าร้อน กลางวันยาว กลางคืนสั้น การนอนช่วงกลางวัน ควรยาวกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อเก็บสะสมหยินให้มากพอ

ช่วงหน้าหนาว กลางวันสั้น กลางคืนยาว การนอนหลับ ช่วงกลางวันไม่ควรจะยาว เพราะต้องเก็บพลังหยางให้พอ

6.อาหารมื้อเที่ยง ไม่ควรอิ่มเกินไป

เพราะร่างกายต้องใช้พลังมาบำรุงเลี้ยงในการย่อยมาก

7.ถ้าไม่มีโอกาสหลับ หรืองีบ

ให้ปิดตาพักจิตใจในเวลาสั้น ๆ (การปิดตาคือการเสริมหยินและเสิน จิตประสาท สมอง) ลดการกระตุ้นจากภายนอก ทำให้จิตสงบ

สรุป

การยึดกุมโอกาส คือความสำเร็จ

วิธีธรรมชาติ ถ้าเรารู้จักกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเป็นอย่างดี เราสามารถหยิบโอกาสต่าง ๆ มาได้อย่างง่ายดาย ในทางตรงข้าม เวลาและโอกาสที่ผ่านไปสำหรับคนจำนวนมาก มองไม่เห็น เข้าไม่ถึง ได้แต่หยิบฉวยความว่างเปล่า ให้โอกาสและกาลเวลาผ่านไปอย่างน่าเสียดาย 

เคล็ดลับการนอนหลับโดยเฉพาะช่วงกลางคืน และการพักงีบสั้น ๆ ช่วงกลางวันเป็นภูมิปัญญาที่ลึกล้ำ ที่เหมาะกับการนำมาดูแลสุขภาพได้โดยไม่ต้องหายจากภายนอกแพทย์แผนจีนกล่าวไว้ว่า "บำรุงด้วยยา ไม่ดีเท่าการบำรุงด้วยอาหาร การบำรุงด้วยอาหาร ไม่ดีเท่าการบำรุงด้วยการนอนหลับ"

กล่าวให้ถึงที่สุด การนอนหลับเป็นยาบำรุงชั้นดีของตับและไต
   

จากผลของการวิจัย การนอนกลางวันที่ดีควรนอนประมาณ 10-20 นาทีโดยการนอนเพียงเท่านี้ก็ช่วยให้สมองได้พักผ่อน 
โดยข้อดีของการนอนกลางวันมีดังนี้

1.ลดความเครียด

2.ทำให้สมองกระตือรือร้นและตื่นตัว

3.เสริมความจำและการเรียนรู้

4.พักผ่อนหัวใจ

5.เสริมความคิดสร้างสรรค์ เเละเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี

6.ร่างกายมีความพร้อมสำหรับการออกกำลังกาย

7.ช่วยทดแทนการอดนอนของคืนที่ผ่านมา สมองโลดเเล่น

8.ทำให้หายง่วง กระตือรือล้น

9.เเก้โรคนอนไม่หลับ

10.สุขภาพดีขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรระลึกไว้ว่า เราไม่ได้นอนเพราะขี้เกียจ แต่นอนเพื่อพักผ่อนสมอง เพื่อความ active เมื่อตื่นขึ้นมา สักงีบหาเวลา10-20 นาที ในเเต่ละวัน

ที่มา: muslimchiangmai.net

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/20272

อัพเดทล่าสุด