ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนรอมฏอน
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเดือนรอมฏอน
ความว่า : จากอิบนุ อับบาส เราะฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ท่าน รอซูล (ศ็อลฯ) เป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุด (ในการให้ทาน) และท่านยังเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างที่สุดในเดือนรอมฏอน ขณะที่ท่านพบกับญิบรีล และท่านญิบรีลจะพบกับท่านรอซูลทุกค่ำคืนของเดือนรอมฏอน เพื่อสอนอัลกุรอาน แท้จริงแล้วท่านรอซูลขณะที่ท่านญิบรีลพบกับท่านนั้น ท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยการทำความดียิ่งกว่าลมรำเพย”
(บันทึกโดยบุคอรี 6 และมุสลิม 2308)
คำอธิบายหะดีษ
ท่านอิบนุหะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า “อัล-ญูด” เป็นความเอื้อเฟื้อในความหมายทางศาสนา คือ การให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมาะสมแก่คนที่มีสิทธิในสิ่งนั้น ซึ่งจะมีความหมายกว้างกว่าการให้ทาน (เศาะดะเกาะฮ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนรอมฏอนเป็นฤดูแห่งการประกอบคุณความดี เพราะอัลลอฮจะประทานความโปรดปรานลงมาแก่บ่าวของพระองค์อย่างมากมายในเดือนนี้
ท่านอัซ-ซัยน์ บิน อัลมุนีร์ กล่าวว่า ลักษณะการเปรียบเทียบระหว่างความเอื้อเฟื้อของท่านรอซูลลุลอฮด้วยความดีงาม และความเอื้อเฟื้อของลมรำเพยลมในที่นี้ก็ คือ ลมแห่งความโปรดปรานที่อัลลอฮประทานไว้ในการลงฝนทั่วฟ้า อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนตกลงมาบนพื้นดินทั้งที่แห้งแล้งหรืออุดมสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง ความดีงามของท่านรอซูลจะครอบคลุมถึงคนที่มีความขัดสนและร่ำรวย ซึ่งมีมากกว่าฝนตกที่เกิดจากลมแรง
(ฟัตฮุลบารีย์ 4/611)
อิหม่ามอันนะวะวีย์ กล่าวว่า ในหะดีษดังกล่าวนั้นมีข้อคิดอยู่หลายประการ เช่น
- ส่งเสริมให้ความเอื้อเฟื้ออยู่ตลอดเวลา
- ให้เพิ่มความเอื้อเฟื้อในเดือนรอมฏอน
- อยู่ร่วมกับผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- ให้มีการเยี่ยมเยียนผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- สุนัตให้อ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฏอนมากๆ
- หลักฐานชี้ให้เห็นว่าอัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนรอมฏอน
บทเรียนจากหะดีษ
1. แบบอย่างของท่านรอซูลในหะดีษนี้ก็คือ การมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อในการใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮ
2. ท่านมีจิตที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่เกินกว่าผู้คนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฏอนขณะที่ท่านญิบริลพบกับท่านรอซูลในทุกคืน
3. เชิญชวนประชาชาติมุสลิมทุกคนให้มีความเอื้อเฟื้อเพื่อ เจริญรอยตามแบบอย่างของท่านรอซูลและหวังเพื่อได้รับผลบุญเท่าทวีคูณ
4. ส่งเสริมให้มีการศึกษาอัลกุรอาน ในเดือนรอมฏอนโดยการสลับการอ่านและฟัง ขณะเดียวกันส่งเสริมให้มีการตะดับบุร (ใคร่ครวญ) ในขณะอ่านอัล-กุรอาน
5. อัลกุรอานและรอมฏอนได้ปลูกฝังบุคลิกภาพมุสลิมเพื่อให้มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อและใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮ
6. ความประเสริฐของการมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อและการให้ทาน (เศาะดะเกาะฮ)
7. การมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อยิ่งของท่านรอซูลนั้นเปรียบ เสมือนลมรำเพย
ผู้เขียน :อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์
ผู้แปล : ฮาเรส เจ๊ะโด
บทความที่น่าสนใจ
- เตรียมอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน? มาดูเทคนิคกันดีกว่า
- 30 ถาม-ตอบ ปัญหารอมฎอน
- วิธีละหมาดตะรอเวียะห์คนเดียว อ่านอะไรบ้าง
- 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนท่านนบี ซ.ล. ทำอะไร ?
- ภาพละหมาดตะรอเวียะห์ ค่ำคืนแรก มัสยิดอัลนะบะวีย์
- ดุอาอ์ให้มีชีวิตอยู่ถึง“เดือนรอมฎอน”อันประเสริฐยิ่ง
- จงสั่งใช้ลูกให้ละหมาด
- ละหมาดตะรอเวียะห์อ่านอะไรบ้าง? ขั้นตอนการละหมาดตะรอเวียะห์ พร้อมคำเนียต
- ละหมาดตะฮัจญุดในเดือนรอมฎอน
- ต้อนรับเดือนรอมฎอนอย่างไร?
- ตื่นเต้นกับรอมฎอนอย่างถูกวิธี
- ดุอาอ์ 3 บท สำหรับ รอมฎอน
- อาบน้ำคลายความร้อน เสียศีลอดหรือไม่ ?
- ครอบครัวมุสลิมกับเดือนรอมฎอน
- 10 ข้อควรทำเมื่อมาประจำเดือนในเดือนรอมฎอน
- อินทผาลัมแก้บวช ทำไมละศีลอดด้วยผลอินทผลัม
- การถือศีลอดเดือนรอญับ