การแบ่งเนื้อกุรบาน แจกเนื้อกุรบาน เนื้อกุรบานให้ใครได้บ้าง หาคำตอบกันเลย....
การแบ่งเนื้อกุรบาน แจกเนื้อกุรบาน เนื้อกุรบานให้ใครได้บ้าง
ชัยคฺครับ เราจะแบ่งเนื้อกุรบานกันอย่างไรครับ ?
ตอบโดย ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล มุนัจญิด นักบรรยายและนักเขียนที่มีชื่อเสียงจากประเทศซาอุดิอารเบีย
มุสลิมจะทำการเชือดพลีในช่วงอีดอัฎฮาซึ่งเป็นการดำเนินตามแบบอย่างของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลามผู้ซึ่งจะทำการเชือดลูกชายของท่านเองนั่นคือ นบีอิสมาอีล อะลัยฮิสลาม เพื่อเป็นการเชื่อฟังในคำบัญชาจากผู้เป็นเจ้า เมื่อท่านนบี อิสมาอีลถูกทดแทนด้วยการนำแกะหนึ่งตัวมาให้กับท่านนบีอิบรอฮีมโดยมะลาอิกะฮฺ ญิบรีล มะลาอิกะฮฺได้นำคำบัญชาจากอัลลอฮฺมาให้กับท่านนบีอิบรอฮีมโดยการเชือดแกะหนึ่งตัวเป็นการทดแทน
คำสั่งในการที่จะมอบกรุบาน(การเชือดพลี)เป็นการบริจาคนั้นมีรายงานอยู่ในหะดีษเป็นจำนวนมากและอนุญาตที่จะรับประทานบางส่วนและเก็บไว้บางส่วน
- จุดกำเนิดของ กุรบาน (การเชือดสัตว์พลี)
- การทำกุรบานแก่ผู้ตาย
- คำเนียตทำกุรบาน การทำกุรบาน มีว่าอย่างไร?
อิหม่ามบุคอรียฺและอิหม่ามมุสลิม รายงานว่า ท่านหญิงอาอิชะฮฺ รดิยัลลอฮุ อันฮา กล่าวว่า "ในสมัยท่านนบี(ยังมีชีวิต)ได้มีอาหรับทะลทรายที่ยากจนค่อย ๆ เดินมุ่งไปยังที่เชือดกุรบานในช่วงอีดอัฎฮา ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า "จงเก็บเนื้อเป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้นส่วนที่เหลือจงแจกจ่ายเพื่อเป็นเศาะดาเกาะฮฺ" เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งบรรดาเศาะฮาบะฮฺได้กล่าวว่า "โอ้ท่านเราะสูล มีคนจำนวนมากได้ทำถุงน้ำใส่น้ำและชำแหละเอาไขมันของมันออกไป ท่านนบีจึงถามว่า "ทำไมกัน" พวกเขากล่าวว่า "ท่านห้ามกินเนื้อสัตว์กุรบานเกินสามวัน" ท่านนบีจึงกล่าวว่า "ก่อนหน้านี้ที่ฉันห้ามพวกท่านเพราะอาหรับทะเลทรายจำเป็นต้องได้รับบริโภคมัน แต่ตอนนี้พวกท่านจงกิน จงเก็บไว้และจงแจกจ่าย(บริจาค)"
อิหม่าม นะวาวียฺให้ข้อคิดในถ้อยคำที่ว่า “ก่อนหน้านี้ที่ฉันห้ามพวกท่าน” ... “แต่ตอนนี้พวกท่านจงกิน จงเก็บไว้และจงแจกจ่าย(บริจาค)” ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การห้ามเก็บเนื้อกุรบ่านเกินสามวันจะไม่ถูกนำมาใช้อีกต่อไป ซึ่งรวมไปถึงคำสั่งให้กินและให้แจกจ่าย(บริจาค)
ส่วนเรื่องของสัดส่วนในการแบ่งอาหารเพื่อการบริจาคนั้น หากว่า มันเป็นการเชือดพลีโดยสมัครใจ ดังนั้นการแจกจ่ายเนื้อบางส่วนในการบริจาคนั้นเป็นความจำเป็น ตามทรรศนะที่มัซฮับชาฟีอียฺเห็นว่าถูกต้อง มันเป็นการดียิ่งกว่า(มุสตะฮับ)ในการแจกจ่ายเนื้อส่วนใหญ่ในการบริจาค นักวิชาการมัซฮับชาฟีอียฺ กล่าวว่า อย่างน้อยต้องแบ่งหนึ่งในสามส่วนเพื่อรับประทาน หนึ่งในสามเพื่อมอบให้เป็นของขวัญ(ฮะดียะฮฺ) และอีกส่วนเป็นการบริจาคทาน มีทรรศนะอื่น ๆ ที่ให้แบ่งครึ่งหนึ่งไว้รับประทาน อีกครึ่งหนึ่งไว้บริจาคทาน ทรรศนะที่แตกต่างจากนี้คือ การจ่ายเงินย่อมดีกว่า
สำหรับสิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติ คือการที่คนหนึ่งอาจจะจ่ายเงินในการบริจาคซึ่งนับว่าเป็นการบริจาค แต่ยังคงมีทรรศนะอื่น ๆ ที่ไม่ได้จ่ายเงินในการบริจาคอีกเช่นกัน (ทรรศนะที่แตกต่างเหล่านี้เป็นเรื่องของจำนวนหรือสัดส่วนที่ที่ดีที่สุดที่จะแจกจ่าย สำหรับการเติมเต็มส่วนที่ต้องแจกจ่าย คนหนึ่งอาจบริจาคจำนวนเท่าใดก็ได้โดยถือว่าเป็นการบริจาค แต่ก็มีบางทรรศนะที่กล่าวว่าไม่ต้องแจกจ่ายแต่อย่างใด)
สำหรับการรับประทานเนื้อของมัน เป็นเพียงแค่มุสตะฮับ (ระดับของการส่งเสริมให้กระทำ) เท่านั้น ไม่ใช่วาญิบ(จำเป็น) ผู้รู้ส่วนมากจะตีความคำสั่งในการรับประทานมัน นั้นตามอัล กุรอานที่กล่าวว่า
يَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّـهِ فِي أَيَّامٍ مَّعْلُومَاتٍ عَلَىٰ مَا رَزَقَهُم مِّن بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ ۖ فَكُلُوا مِنْهَا وَأَطْعِمُوا الْبَائِسَ الْفَقِيرَ ﴿٢٨﴾
“เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วมเป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในวันที่รู้กันอยู่แล้ว คือวันเชือด ตามที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า ดังนั้นพวกเจ้าจงกินเนื้อมัน และจงให้อาหารแก่ผู้ยากจนขัดสน” (สูเราะฮฺ อัล หัจญฺ อายะฮฺที่ 28)
อิหม่าม มาลิก กล่าวว่า “ไม่มีการกำหนดสัดส่วนเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใดในส่วนที่จะรับประทาน แจกจ่ายในการบริจาค หรือให้อาหารแก่คนยากจนหรือคนมั่งมี โดยที่คนหนึ่งจะให้เนื้อที่ยังไม่ปรุงหรือปรุงเสร็จแล้วก็ได้”
- ความประเสริฐของการทำกุรบาน (หลักใหญ่ ใจความ)
- ข้อห้ามสำหรับ ผู้ต้องการทำกุรบาน อุฎหิยะฮฺ
- การฝังกระดูกสัตว์กุรบาน
ผู้รู้มัซฮับชะฟีอียฺกล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่สมควรให้กระทำ(มุสตะฮับ)ในการแจกจ่ายให้มากที่สุดในการบริจาคและกล่าวอีกว่า อาจรับประทานเองอย่างน้อยต้องหนึ่งในสาม หนึ่งในสามแจกจ่ายในการบริจาค และอีกหนึ่งในสามเพื่อเป็นของขวัญ(ฮาดียะฮฺ) พวกเขากล่าวว่าเป็นเรื่องที่อนุมัติที่จะเก็บไว้รับประทานครึ่งหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่าที่จะแจกจ่ายมันออกไปเพื่อการบริจาค
อิหม่าม อะหฺมัด กล่าวว่า “เราได้รับสายรายงานของอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส (รดิยัลลอฮุ อันฮุ) ว่าเขาจะต้องเก็บไว้รับประทานหนึ่งในสามส่วน ให้เป็นอาหารหนึ่งในสามส่วนกับใครก็ตามที่เขาต้องการ และแจกจ่ายอีกหนึ่งในสามเพื่อการบริจาค” นี่คือทรรศนะของอิบนุ มัสอูดและอิบนุ อุมัร เช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ปรากฏทรรศนะที่แตกต่างกันในหมู่บรรดาเศาะฮาบะฮฺในประเด็นนี้
ส่วนเหตุผลที่มีทรรศนะแตกต่างกันว่าจะแจกจ่ายเท่าไหร่นั้นเนื่องจากมีรายงานที่แตกต่างกัน บางรายงานมิได้กล่าวถึงจำนวนเงินเจาะจงลงไป เช่น การรายงานของ บุรอยเฎาะฮฺ (รฎิยัลลอฮุ อันฮุ) กล่าวว่า ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า “ฉันเคยห้ามพวกท่านรับประทานเนื้อกุรบ่านเกินสามวัน จากนั้นจะต้องแจกจ่ายมันให้กับคนยากจน แต่ตอนนี้ท่านจงกินดั่งที่ท่านต้องการ จงให้อาหารแก่ผู้อื่นและจงกักเก็บไว้บางส่วน” (อัต ติรมีซียฺ) บรรดาผู้รู้จากบรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม และคนอื่น ๆ ก็ดำเนินตามมาตรฐานนี้ อัลลอฮฺเท่านั้นคือผู้ทรงรู้ดียิ่ง
สรุป การแบ่งเนื้อกุรบาน มี 3 ส่วน 1.ให้รับประทานบางส่วน 2.ให้เป็นของขวัญแก่บรรดาญาติพี่น้องของเขาและเพื่อนบ้านของเขา 3.บางส่วนบริจาคทาน(ศ่อดาเกาะฮฺ) เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ อย่าเก็บไว้กินมากกว่าแจก
การแจกจ่ายเนื้อกุรบาน ในกรณีที่เนื้อกุรบานประเภทอาสา (ตะเฏาวุอฺ) นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ให้แบ่งเนื้อออกมาเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งให้เจ้าของเก็บไว้รับประทาน ส่วนที่สองมอบเป็นของขวัญ (ฮะดียะฮฺ) แก่ญาติใกล้ชิด หรือเพื่อนฝูง ส่วนที่สามให้บริจาคทานกับคนยากจนที่เดินทางมาขอหรือไม่มาขอ
ในส่วนที่เป็นเนื้อกุรบานประเภทจำเป็น (วาญิบ) ตามทรรศนะของฮานาฟีย์และชาฟิอีย์ให้บริจาคหมดทั้งตัว เพราะหากไม่บริจาคทั้งตัวเท่ากับว่ายังทำสิ่งที่เป็นวาญิบไม่สมบูรณ์ ยังไม่หลุดพ้นจากสิ่งที่เป็นวาญิบให้กับตนเอง
เนื้อกุรบานให้ใครได้บ้าง แจกได้ทุกคนที่เป็นมุสลิม ส่วนเนื้อกุรบานให้ต่างศาสนิกได้หรือไม่
ที่มา: ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก www.islamqa.info by Mufti Sheikh Muhammad Saleh Al-Munajjid
เรียบเรียง: มุสลิมไทยโพสต์