ผลวิจัยทางการแพทย์กับการลุกขึ้นมาละหมาดในยามค่ำคืน (ตะฮัจญุด)


4,401 ผู้ชม

การลุกจากที่นอนในยามค่ำคืน และเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยภายในบ้าน และยืนขึ้น


การละหมาดส่งผลต่อระบบของร่างกายและจิตใจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละหมาดในยามค่ำคืน เพราะได้มีการยืนยันจากนักวิชาการชาวอเมริกันในหนังสือ “ลักษณะลำดับการทดลองกับสิ่งที่ซ่อนเร้นในการรักษาแบบธรรมชาติ” ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 1993 ว่า

“การลุกจากที่นอนในยามค่ำคืน และเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยภายในบ้าน และยืนขึ้นในลักษณะของการออกกำลังกายเบาๆ ถูหรือลูบปลายนิ้วด้วยกับน้ำ และหายใจลึกๆ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ”

เรื่องที่น่าสนใจ

จากการพิจารณาประโยชน์เบื้องต้น พบว่าคำยืนยันดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากกับการเคลื่อนไหวในการอาบน้ำละหมาดและการละหมาดในยามค่ำคืน เพราะแท้จริงท่านศาสดามูฮัมหมัดได้ยืนยันเรื่องนี้มามากกว่า 1430 ปีแล้วว่า “จำเป็นแก่พวกท่านที่จะลุกขึ้นมา (เพื่อทำละหมาด) ในยามค่ำคืน (ตะฮัจญุด) เพราะแท้จริงมันเป็นอุปนิสัยของบรรดาผู้ประพฤติดีในยุคก่อนพวกท่าน เป็นการทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ์ เป็นสิ่งห้ามปรามจากการกระทำความผิด และเป็นการลบล้างความชั่วร้ายต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการขับไล่โรคภัยออกจากร่างกาย” (บันทึกโดย อิหม่ามอะห์หมัด ติรมิซี บัยฮากี และฮาเก็ม)

จากวิธีการดำรงละหมาดในยามค่ำคืนที่สามารถขับไล่โรคภัยออกจากร่างกายได้นั้น ได้มีการยืนยันว่า “การลุกขึ้นมาในยามค่ำคืน (เพื่อทำละหมาด) นั้น จะนำไปสู่การลดการกระจายฮอร์โมนต่อมหมวกไต โดยเฉพาะยังยิ่งก่อนจะตื่นนอนหลายชั่วโมง ตรงกับช่วงเวลาซุโฮร์ (ช่วง 1 ใน 3 สุดท้ายของยามค่ำคืน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดมิให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นการป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน

และเช่นเดียวกัน การตื่นขึ้นมาในยามค่ำคืนจะช่วยลดความดันโลหิตสูงที่ขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ป้องกันมิให้เกิดการเป็นลมเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตก หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดใหญ่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการไหลเวียนช้าในขณะนอนหลับ ป้องกันการหายใจลำบากเนื่องจากการไหลเวียนกลับของเลือดใน เส้นเลือดใหญ่จากศีรษะล่าช้า และการละหมาดในยามค่ำคืนยังทำให้ดีขึ้นกับผู้ป่วยไขข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็นโรครูมาติซึ่มหรืออื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนไหวเบาๆ และการลูบถูด้วยกับน้ำขณะอาบน้ำละหมาดจะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้น”

จากส่วนหนึ่งของหนังสือ “ปรัชญาแห่งบทบัญญัติอิสลาม”

อัพเดทล่าสุด