พระเจ้าของเรานั้นจะไม่ทรงถูกถามในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทํา แต่พวกเราต่างหากที่จะถูกสอบถาม และพระองค์คือผู้ทรงตัดสินและทรงทําตามที่พระองค์ทรงประสงค์....
เพียงกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮ์ 2 ครั้ง ก็ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.)
พระเจ้าของเรานั้นจะไม่ทรงถูกถามในสิ่งที่พระองค์ทรงกระทํา แต่พวกเราต่างหากที่จะถูกสอบถาม และพระองค์คือผู้ทรงตัดสินและทรงทําตามที่พระองค์ทรงประสงค์ มหาบริสุทธิ์แต่อัลลอฮ์ ผู้ทรงพอพระทัยบ่าวของพระองค์ที่กล่าว "อัลฮัมดุลิลลาฮ์ 2 ครั้ง"
หลักฐาน มีรายงานจากท่านอนัส อิบนุมาลิก (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ) แจ้งว่า : ท่านรอซูล(ซ.ล.)กล่าวว่า :
ความว่า: “แท้จริง อัลลอฮ์ย่อมพึงพอพระทัยบ่าวที่รับประทานอาหารเสร็จแล้วกล่าวสรรเสริญพระองค์ หรือดื่มเครื่องดื่มเสร็จแล้วกล่าวสรรเสริญพระองค์” บันทึกโดย อิมามมุสลิม
เราจงรับประทานในสิ่งที่เป็นที่อนุมัติตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเอร็ดอร่อย น่าทาน อาหารสุกหรือดิบ จะเค็ม จะหวานหรือมีรสชาติใดก็ตาม แต่เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ก็จงกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮ์
และเราจงดื่มเครื่องดื่มต่างๆตามที่เราต้องการ ในสิ่งที่เป็นที่อนุมัติ ไม่ว่าจะชนิดใด มีสีหรือรสแบบไหนก็ตาม ที่ทําให้เราหมดกระหายและเอร็ดอร่อยกับมัน แต่เมื่อดื่มเสร็จแล้วก็จงกล่าว "อัลฮัมดุลิลลาฮ์" อีกเป็นครั้งที่สอง
ดังนั้น พระเจ้าของเราก็จะทรงพอพระทัยเรา ที่เรากล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮ์ถึง 2 ครั้ง ทั้งหลังจากการรับประทานและการดื่ม
จะมีการลงทุนใดที่ถูกไปกว่านี้อีก และยังทําให้เราได้รับความพึงพอพระทัยจากพระเจ้าของเรา จะมีอะไรดีไปกว่าการที่เราจะรับประทานและดื่ม ซึ่งได้ทั้งความเอร็ดอร่อยและยังได้ผลบุญอีกด้วย เราทราบหรือไม่ว่า ความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) คืออะไร?
พะองค์ตรัสว่า : “และความปิติยินดีจากอัลลอฮ์นั้นใหญ่กว่า นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” อัตเตาร์บะฮ์ 9 : 72
ด้วยเหตุนี้ เราจึงทราบถึงสถานะอันยิ่งใหญ่ของการกล่าว “อัลฮัมดุลิลลาฮ์” ณ ที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)
ท่านร่อซูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :
“การกล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮ์นั้น (ผลบุญ) จะเต็มตราชั่ง และการกล่าว “ซุบฮานัลลอฮ์ วัลฮัมดุลิลลาฮ์” นั้น (ผลบุญ) จะเต็มชั้นฟ้าและผืนดิน”
บันทึกโดย อิมามอัตติรมีซีย์
- จามในละหมาด แล้วกล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮ เสียละหมาดไหม?
- การขอดุอาอฺหลังละหมาด 5 เวลา (ขอพร)
- ทำไมมุสลิมต้องรำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในทุกเวลา
- ความประเสริฐของละหมาดดุฮา
- ทุกการกระทำ เราต้องขอบคุณอัลลอฮ์ทุกครั้ง
- าช้าในการละหมาด มีผลเสียอย่างไร?
จากหนังสือ : เพียงไม่กี่นาทีกับความดีเท่าภูเขา
อ.ญะม้าล ไกรชิต