การเจาะจงวันอีดทั้งสองและวันศุกร์ เพื่อเยี่ยมกุโบร์นั้น มีหุกุมว่าอย่างไร? และ การเยี่ยมในมันทั้งสอง(หมายถึงในวันอีดและศุกร์) เพื่อคนเป็นหรือคนตายหรือ?....
เจาะจงเยี่ยมกุโบร์ทุกวันศุกร์ เป็นบิดอะฮ์หรือไม่?
มีผู้ถามกรณี เยี่ยมกุโบร์พ่อแม่ทุกวันศุกร์เป็นบิดอะฮฺไหม?
ขอชี้แจง ด้วยฟัตวาต่อไปนี้
س : ما حكم تخصيص العيدين والجمعة لزيارة المقابر ؟ وهل الزيارة للأحياء أم للأموات فيهما ؟
ถาม : การเจาะจงวันอีดทั้งสองและวันศุกร์ เพื่อเยี่ยมกุโบร์นั้น มีหุกุมว่าอย่างไร? และ การเยี่ยมในมันทั้งสอง(หมายถึงในวันอีดและศุกร์) เพื่อคนเป็นหรือคนตายหรือ?
ج : ليس له أصل، فتخصيص زيارة المقابر في يوم العيد، واعتقاد أن ذلك مشروع يعتبر من البدع لأن ذلك لم يرد عن النبي صلى الله عليه وسلم ولا أعلم أحداً من أهل العلم قال به، أما يوم الجمعة فقد ذكر بعض العلماء أنه ينبغي أن تكون الزيارة في يوم الجمعة ومع ذلك فلم يذكروا في هذا أثراً عن الرسول صلى الله عليه وسلم
ตอบ : มันไม่มีที่มา ดังนั้น การเจาะจงเยี่ยมกุบูรในวันอีด และเชื่อว่า การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติ ก็ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของบิดอะฮ เพราะดังกล่าวนั้น ไม่ปรากฏรายงานจากนบี ศอลฯ และข้าพเจ้า ไม่รู้ว่านักวิชาการคนใด กล่าวด้วยมัน และสำหรับวันศุกร์ นั้น นักวิชาการบางส่วนระบุว่า สมควรจะเยี่ยมในวันศุกร์ ทั้งที่พร้อมกับดังกล่าวนั้น เขาไม่ได้ระบุหะดิษในเรื่องนี้จากท่านรซูล ศอลฯ – อะหกามอัลญะนาอิซ ของเช็ค อุษัยมีน หน้า 43
การเจาะจงเยี่ยมกุโบร์พ่อแม่ในวันศุกร์ ถูกนำมาอ้างด้วยหะดิษเฎาะอีฟ
زيارة القبور يوم الجمعة
การเยี่ยมกุโบร์ในวันศุกร์
س1: فيه حديث عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: من زار قبر والديه أو أحدهما كل جمعة غفر له وكتب بارًّا . أرجو إفادتي هل هناك دعاء خاص يقال عند قبر الوالدين أو أحدهما، وهل الزيارة قبل صلاة الجمعة أو بعدها، أو فيه وقت مفضل في يوم الجمعة؟
ในนั้นมีหะดิษรายงานจากอบูฮุรัยเราะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า รซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า :
" ผู้ใดเยี่ยมกุโบร์พ่อแม่ของเขาหรือคนใดคนหนึ่งจากท่านทั้งสอง ทุกๆวันศุกร์ เขาจะได้รับการอภัยความผิดและ เขาได้ถูกบันทึกให้เป็นผู้ที่ทำความดี) , หวังว่า จะกรุณาให้ความเข้าใจแก่ข้าพเจ้าด้วย ,มีดุอาที่เฉพาะสำหรับกล่าวที่กุโบร์พ่อแม่ หรือคนหนึ่งคนใดจากท่านทั้งสองหรือไม? ,การเยี่ยมกุโบร์ ก่อนละหมาดวันศุกร์หรือหลังจากนั้น ได้หรือไม่ ?และ ในนั้นมีเวลาที่ประเสริฐในวันศุกร์หรือไม่ ?"
ج1: أولاً: الحديث المذكور ضعيف جدًّا، ولا يصلح الاحتجاج به لضعفه، وعدم صحته عن النبي صلى الله عليه وسلم.
ตอบ
1. หะดิษที่ถูกระบุนั้น เฎาะอีฟเป็นอย่างมาก และไม่สมควรจะเอามาเป็นหลักฐาน เพราะมันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ และไม่ได้เป็นรายงานที่เศาะเฮียะจากท่านนบี (ซ.ล.)
ثانيًا: زيارة القبور مشروعة في أي وقت، ولم يرد دليل يخصص يوم الجمعة أو غير يوم الجمعة بزيارتها فيه، وقد روى الإمام مسلم رحمه الله عن سليمان بن بريدة عن أبيه رضي الله
2. การเยี่ยมกุโบร์นั้น ถูกบัญญัติใช้ให้กระทำ ในเวลาใดก็ได้ และไม่มีหลักฐาน มาเจาะจงเฉพาะวันศุกร์ หรืออื่นจากวันศุกร์ ด้วยการเยี่ยมกุโบร์ และแท้จริง ได้มีรายงานโดยอิหม่ามมุสลิม (ร.ฮ) จากท่านสุลัยมาน บิน บุรัยดะฮ จากบิดาของเขาว่า
(الجزء رقم : 9، الصفحة رقم: 113)
عنهما، قال: كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يعلمهم إذا خرجوا إلى المقابر أن يقولوا: السلام على أهل الديار من المؤمنين والمسلمين، وإنا إن شاء الله بكم لاحقون، أسأل الله لنا ولكم العافية
ปรากฏว่ารซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ได้สอนพวกเขา เมื่อออกไปเยี่ยมกุโบร์ว่า ให้พวกเขากล่าวว่า
السَّلامُ عَلَيكم أَهْلَ الدِّيَارِ مِنَ المُؤْمِنِينَ وَالمُسْلِـمِينَ، وَإنَّا إَنْ شَاءَ الله للَاحِقُون، أَسْأَلُ الله لَنَا وَلَكُمُ العَافِيَةَ
ความว่า ขอความสันติจงมีแด่เจ้าของที่พำนักทั้งหลายเหล่านี้ จากหมู่บรรดามุอ์มินีนและมุสลิมีน และพวกเรา อินชาอัลลอฮฺ จะได้ตามพวกท่านไปในภายหลัง ฉันขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงประทานความปลอดภัยแก่พวกเราและแก่พวกท่านทั้งหลาย
وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم
اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء
عضو نائب رئيس اللجنة الرئيس
عبد الله بن قعود عبد الرزاق عفيفي عبد العزيز بن عبد الله بن باز
นี่คือหะดิษเฎาะอีฟอย่างมากที่ถูกนำมาอ้างให้เยี่ยมกุโบร์พ่อแม่ในวันศุกร์
رُوِيَ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ مَنْ زَارَ قَبْرَ أَبَوَيْهِ أَوْ أَحَدِهِمَا فِى كُلِّ جُمْعَةٍ مَرَّةً غَفَرَ اللهُ لَهُ وَكُتِبَ بَرًّا
ได้ถูกรายงาน(แอบอ้าง)จากนบี (ซ.ล.) ว่าท่านได้กล่าวว่า : "ผู้ใดเยี่ยมกุโบร์พ่อแม่ของเขาหรือคนใดคนหนึ่งจากท่านทั้งสอง ทุกๆวันศุกร์ เขาจะได้รับการอภัยความผิดและ เขาได้ถูกบันทึกให้เป็นผู้ที่ทำความดี "
(رواه الطبرانى فى الأوسط رقم 6114 عن أبى هريرة قال الهيثمى (3/60) : فيه عبد الكريم أبو أمية وهو ضعيف والحكيم 1/126 وابن أبى الدنيا فى القبور والبيهقى فى شعب الإيمان عن محمد بن النعمان معضلاً وأخرجه أيضًا الديلمى رقم 5537 والرافعى 1/303)
*** ดังนั้น การเยี่ยมกุโบร์ในวันใหนก็ได้ ไม่ได้แตกต่างกันในความดีงาม ส่วนการอ้างว่า เยี่ยมกุโบร์พ่อแม่ในวันศุกร์นั้น เป็นการอ้างด้วยหะดิษที่เฎาะอีฟเป็นอย่างมาก ในระดับที่เรียกว่าหะดิษปลอมก็ว่าได้ เพราะอิบนุเญาซีบอกว่า สายรายงานเท็จ
ขอขอบคุณข้อมูล: อะสัน หมัดอะดั้ม