มีปัญหาคาใจ รอยสักที่ติดอยู่ที่ร่างกาย อาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำวายิบ ใช่ได้หรือไม่ บางคนว่าใช้ได้ เพราะรอยสักที่ติดอยู่ที่ร่างกายน้ำหมึกของมันซึมเข้าไปเป็นอันเดียวกับเนื้อของรางกายมันไม่ได้เกาะอยู่ที่ผิวหนัง?
มีปัญหาคาใจ รอยสักที่ติดอยู่ที่ร่างกาย อาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำวายิบ ใช่ได้หรือไม่ บางคนว่าใช้ได้ เพราะรอยสักที่ติดอยู่ที่ร่างกายน้ำหมึกของมันซึมเข้าไปเป็นอันเดียวกับเนื้อของรางกายมันไม่ได้เกาะอยู่ที่ผิวหนัง?
ตอบโดย: อ.อาลี เสือสมิง
การสัก (อัล-วัชม์) คือ การสักผิวหนังด้วยเข็มหรือเหล็กแหลมเพื่อให้เลือดออก ต่อมาก็ใส่ครามหรือน้ำยาสักเพื่อให้มีสีฟ้า-น้ำเงิน หรือเขียว หรืออื่นๆ ด้วยเหตุผลของเลือดที่เกิดขึ้นโดยการใช้เข็มสัก การสักเป็นที่ต้องห้ามตามที่มีหะดีษระบุไว้ว่าผู้สักและผู้ขอให้สักถูกสาปแช่งจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) การลบรอยสักจึงเป็นสิ่งจำเป็นตราบใดที่ไม่เกรงจะเกิดอันตรายที่อนุญาตให้ทำตะยำมุม
ดังนั้น หากเกรงว่าจะมีอันตราย การลบรอยสักก็ไม่จำเป็น และไม่มีบาปสำหรับผู้สักภายหลังการเตาบะฮ์ตัว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้นั้นสักด้วยความสมัครใจภายหลังการบรรลุศาสนภาวะแล้ว ส่วนถ้าหากเป็นการสักก่อนการบรรลุศาสนภาวะ ก็ไม่จำเป็นต้องลบรอยสักนั้น
(มุฆนีย์ อัล-มุหตาจญ์ 1/191) และตามมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ถือว่า รอยสักเป็นนะญิสที่ถูกอนุโลมให้ (อัล-มะอ์ฟู อันฮุ) (อัล-ฟิกฮุลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู ; ดร.วะฮ์บะฮ์ อัซ-ซุหัยลีย์ 1/175 เชิงอรรถ)
และนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัล-หะนะฟีย์กล่าวว่า : ตำแหน่งของผิวหนังที่มีการสักจะสะอาดได้ด้วยการล้าง เพราะรอยสักเป็นสิ่งที่ยากในการลบหรือทำให้หมดไป (รอดดุล มุหตาร 1/305)
และกรณีที่ ไม่วาญิบต้องลบรอยสักนั้น การอาบน้ำละหมาดหรือการอาบน้ำวะญิบย่อมใช้ได้ เพราะนักวิชาการระบุว่า การละหมาดของบุคคลดังกล่าวใช้ได้ การเป็นอิมามของบุคคลดังกล่าวใช้ได้ (อัล-อิกนาอ์ ฟิ หัลลิ อัลฟาซ อบีชุญาอ์ ; อัล-เคาะฏีบ อัช-ชิรบีนีย์ 1/333)