ทำไมอิสลามจึงห้ามมีการกินดอกเบี้ย?


11,718 ผู้ชม

อิสลาม ได้เรียกร้องมวลมนุษย์ไว้อย่างชัดเจนในเรื่องดอกเบี้ยซึ่งมัน คือ ภัยคุกคามอันเลวร้ายต่อสังคมมนุษย์ และนำมวลมนุษย์ไปสู่ความทุกข์ทรมานสร้างความเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกดขี่ ข่มเหง ขูดรีด ฉ้อโกง ขาดการไว้วางใจซึ่งกันและกัน


ทำไมอิสลามจึงห้ามมีการกินดอกเบี้ย?

เหตุผลที่อิสลามห้ามเรื่องดอกเบี้ยก็เพราะว่ามันเป็นอันตรายต่อผู้คน   และสังคมส่วนร่วม   อีกทั้งยังเป็นการเอาเปรียบคนในสังคมอีกด้วยทั้ง  2  ที่อิสลามเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  สาเหตุอีกอันหนึ่งที่อิสลามห้ามการกินดอกเบี้ยคือ ดอกเบี้ยเป็นเหตุให้เกิดความมั่งคั่งตกอยู่ในกำมือของคนกลุ่มน้อยนั้นคือ กลุ่มนายทุนเงินกู้และพ่อค้าผูกขาด

 
อิสลาม ได้เรียกร้องมวลมนุษย์ไว้อย่างชัดเจนในเรื่องดอกเบี้ยซึ่งมัน คือ ภัยคุกคามอันเลวร้ายต่อสังคมมนุษย์ และนำมวลมนุษย์ไปสู่ความทุกข์ทรมานสร้างความเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกดขี่ ข่มเหง  ขูดรีด ฉ้อโกง ขาดการไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกิดการแบ่งชนชั้นในหมู่มนุษย์ ระหว่างผู้ที่ร่ำรวยและยากจนและก่อให้เกิดการแตกแยกในสังคม
ดอกเบี้ย เป็นต้นเหตุให้ทรัพย์สิน หรือสินค้านั้น มีราคาอันไม่เป็นราคาจริง แต่เป็นราคาที่ขึ้นลงไปตามอำนาจของดอกเบี้ย ทำให้ผู้ประกอบการค้าขายต้องเพิ่มราคาสินค้าขึ้นให้คุ้มกับดอกเบี้ยเพราะ เงินทุนที่นำมาค้าขายนั้นหากฝากเอาไว้ในธนาคารก็จะมีดอกเบี้ยงอกงามเป็นราย ปี ด้วยเหตุนี้ราคาทรัพย์จึ่งต้องขึ้นราคาทุกปีเท่ากับอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะทำ ให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน คนรวยก็จะรวยยิ่งขึ้น เพราะเหตุเงินทุนที่สะสมไว้ก็จะเพิ่มเป็นทวีคูณยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจาก การหาผลประโยชนจากดอกเบี้ยส่วนคนที่ยากไร้ที่สะสมเงินออมไว้ ก็ไร้ความหมาย เพราะวิ่งตามไม่ทันการลดค่าเงิน ผู้ที่ด้อยโอกาส และลงโทษผู้ที่อ่อนล้า ทำให้ผู้ที่มีฐานะน้อย หมดกำลังใจ และสิ้นหวัง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องกู้หนี้สินจากนายทุนหน้าเลือดธนาคาร สหกรณ์ ต้องแบ่งผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับของตนไปชดใช้ดอกเบี้ยเงินกู้ ทั้งทางตรงคือ ชำระหนี้เงินและทางอ้อมคือ ต้องซื้อสินค้าที่แพงขึ้น นี่แหละคือผลกระทบ ผลร้าย มหัตภัยต่อมวลมนุษย์และสังคมปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ ดร.อะหมัด ชะละบี ให้ความเห็นว่า การกินดอกเบี้ยเป็นบาปอันมหันต์

จากโองการอัลกุรอาน อัลฮะดีษ และคำอรรถาธิบายของอัลรอซี เราอาจสรุปได้ว่า การกินดอกเบี้ยเป็นอันตรายอย่างมหันต์ต่อมนุษยชาติ อิมามอัลรอซี ได้ชี้แจงถึงสาเหตุถึงสาเหตุที่ดอกเบี้ยเป็นอันตรายต่อสังคมมนุษย์ไว้ 4 ประการด้วยกันคือ
ประการแรก เป็นการสร้างภาพการขูดรีด กดขี่และความเป็นศัตรูในหมู่มนุษย์
ประการที่สอง เป็นการสร้างชนกลุ่มหนึ่งที่ร่ำรวยแต่เกียจคร้าน ไม่ใช่กำลังกายและสมองไปในทางสร้างสรรค์แต่มีชีวิตอยู่ด้วยการสูบเลือด ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจน
ประการที่สาม เป็นการทำลายศีลธรรมและศักดิ์ศรีขอ'มนุษย์ด้วยกัน
ประการสุดท้าย เป็นการสร้างกลุ่มนายทุนเงินกู้เพียงหยิบมือเดียวที่ร่ำรวยและมีอำนาจโดยการ ยึดทรัพย์สินของคนจนซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ และด้วยอำนาจของเงินตรา และทำลายความสงบสุขของมนุษย์
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้ นอิสลามก็ยังให้ทางออกแก่คนมุสลิมทางด้านอื่นๆ อีก เช่น การหาผลกำไรจากการค้า การทำธุรกิจ การทำการเกษตร การร่วมลงทุนโดยให้นายทุนมาลงทุน แล้วนำผลกำไรมาแบ่งกัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่อิสลามอนุมัติ(ฮะลาล) ตามที่บทบัญญัติของอิสลามได้กำหนดไว้


ทำไมอิสลามจึงห้ามมีการกินดอกเบี้ย?

จะเห็นได้ว่า ในอัลกรุอานการห้ามดอกเบี้ยนี้จะหมายรวมกับรูปแบบของการเพิ่มขึ้นหรือส่วน เกินในการแลกเปลี่ยนที่มีผลตอบแทนไม่เท่าเทียมกัน เช่น  ในการแลกเปลี่ยนเงินไม่ว่าจะเป็นการขายหรือซื้อเงิน 5 ริงกิต ด้วยการจ่าย 6 ริงกิต ส่วนที่เพิ่ม 1 ริงกิตนั้นไม่เป็นผลตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นดอกเบี้ย


ในด้านซารีอะฮฺนั้น ดอกเบี้ยจะแบ่งออกเป็นสองประเภท ดังนี้
1. ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม (ริบา อัล ดุยูน)
2. ดอกเบี้ยจากการซื้อขาย (ริบา อัลบูยูฮฺ)
1.1 ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม (ริบา อัล ดุยูน) คือเป็นเงินส่วนเพิ่มจากเงินที่ให้กู้ไป (เงินต้น) ซึ่งผู้กู้ยืมต้องจ่ายแก่ผู้ให้กู้ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขในการกู้ยืมหรือ เนื่องจากการยืดระยะเวลาจ่ายคืน
จากการนิยามข้างต้นจะปรากฏหลักเกณฑ์สำคัญสามลักษณะด้วยกันคือ
1. ส่วนเพิ่มจากเงินที่กู้ยืม
2. จำนวนที่เพิ่มนั้นจะกำหนดไว้ก่อนแล้ว
3. การกำเนิดส่วนเกินนั้นจะมรเวลาเข้ามาเกี่ยวของด้วย
ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมที่สังคมอาหรับปฏิบัติกันในช่วงที่มีคำสั่งห้ามริบานั้น แบ่งได้เป็นสองลักษณะ
1. ริบา อัล นาสิอะฮฺ ซึ่งมาจากคำว่า นาสะอะฮฺ หมายถึง ยับยั้งหรือยืดเวลา   ริบา อัล นาสิอะฮฺ เกิดมาจากการซื้อขายหนี้ ในสังคมญาฮีลียะฮฺ เมื่อคนๆหนึ่งซื้อของบางอย่างด้วยการติดหนี้และไม่สามารถจ่ายตามเวลาที่ได้ ตกลงกันไว้เจ้าหนี้ยอมยืดเวลาการจ่ายหนี้พร้อมกับกำหนดเงื่อนไขให้จ่ายเพิ่ม ในช่วงเวลาที่ยืดไว้นั้น เนื่องจากริบาชนิดนี้มีการปฏิบัติกันอย่างกว่างขว้างในสมัยญาฮีลียะฮฺ ด้วย  ส่วนฮุก่มข้อตัดสินเกี่ยวกับริบา อัล นาสิอะฮฺ นั้น บรรดานักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่าริบา อัล นาสิอะฮฺนี้เป็นสิ่งที่ต้องห้าม และเป็นโทษมหันต์ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
﴿وَأَحَلَّ اللّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَن جَاءهُ مَوْعِظَةٌ مِّن رَّبِّهِ فَانتَهَىَ فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُوْلَـئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ :275﴾ ﴿يَمْحَقُ اللّهُ الْرِّبَا وَيُرْبِي الصَّدَقَاتِ وَاللّهُ لاَ يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيم ٍ:276  ﴾﴿إِن الذِينَ ءاَامَنُوْا وَعِملواالصلحت وَأَقَاموا الصلوة وءاتواالزكوة لهم أحر هم عندربهم ولاخوف عليهم ولا هم يحزنون  277﴾ ﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَذَرُواْ مَا بَقِيَ مِنَ الرِّبَا إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ :278﴾ ﴿ فَإِن لمَ تَفْعَلُواْ فَأذَنُواْ بِحَرْبٍ مِنَ اللهِ وَرَسُولِهِ وَإِن تُبْتُمْ فَلَكُمْ رُءُوسَ أموا لكم لاتَظْلَمُونَ ولاتُظْلَمُونَ  279﴾
ความว่า : และอัลลอฮฺนั้นทรงอนุมัติการค้าขายแต่ทรงห้ามดอกเบี้ย ดั้งนั้นถ้าหากใครก็ตามที่ละเว้นจากการเอาดอกเบี้ยหลังจากที่ได้รับคำเตือน นี้จากพระผู้อภิบาลของเขาแล้ว เขาก็จะไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เขาได้กินไปก่อนหน้า นี้ และกรณีของเขาจะไปถึงอัลลอฮฺในที่สุด แต่ถ้าหากเขายังทำผิดอย่างเดียวกันนี้อีก เขาเหล่านี้คือสหายของไฟนรกและพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้น (275) อัลลอฮฺจะทรงบั่นทอนความจำเริญออกจากดอกเบี้ยและทรงเพิ่มพูนกูศนทาน และอัลลอฮฺไม่ทรงรักคนบาปหนาที่เนรคุณทุกคน (276) สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดี และดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขาที่พระผู้อภิบาลของพวกเขา และพวกเขาจะไม่มีสิ่งอื่นใด ที่จะต้องกลัวและระทม (277) บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเกรงกลัวอัลลฮฺและจงละทิ้งดอกเบี้ยในส่วนที่สู่เจ้ายังอาจจะได้รับถ้าหาก สูเจ้าเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง (278) แต่ถ้าสูเจ้าไม่ทำเช่นนั้น สูเจ้าก็จงระวังการประกาศสงครามต่อสูเจ้าจากอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ อย่างไรก็ตามถ้าสูเจ้าสำนึกผิดและละทิ้งดอกเบี้ย สูเจ้าก็มีสิทธิที่จะได้เงินต้น สูเจ้าจงอย่าอธรรมและสูเจ้าจะไม่ถูกอธรรม (279)
2. ริบา อัลกอรฏ์ ซึ่งมาจากคำที่แปลว่า การกู้ยืม ริบาชนิดนี้หมายถึงการจ่ายเพิ่มจากการกู้ยืมเงิน ริบาชนิดนี้ต้องจ่ายในช่วงต้นของการทำสัญญากู้ยืม
2. หุกุมข้อชี้ขาดเกี่ยวกับดอกเบี้ย
หลักฐานในการห้ามริบาจากการกู้ยืมนั้น จะมีข้อสังเกตสำคัญๆ สองประการ ประการแรก คือ บทบัญญัติส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับริบาจากการกู้ยืมนั้น จะปรากฏในอัลกรุอานเมื่อเทียบกับการห้ามริบาจากการซื้อขายซึ่งจะพบในอัลซุน นะฮฺ ประการที่สอง การห้ามริบาจากการกู้ยืมนั้นจะถูกประทานแบบค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาหรับญาฮีลียะฮฺสู่ยุคอิสลาม ในช่วงเวลานี้มักจะเกี่ยวข้องกับการปลูกฝังหลักยึดมั่นให้แก่สังคมอาหรับใน มักกะฮฺ ซึ่งจากหลักยึดมั่นที่มันคงนี้เองที่ทำให้พวกเขาสามารถละทิ้งกิจกรรมที่ฝัง รากลึกมาอย่างยาวนานได้อย่างง่ายดาย
ในอัลกรุอานอัลลอฮได้บัญญัติห้ามเรื่องดอกเบี้ยไว้มากมาย เหมือนกับการบัญญัติห้ามดื่มเหล้าและได้กล่าวเตือนให้ระวังและออกห่างจาก เรื่องดอกเบี้ย รวมทั้งมีอัลฮาดีษมากมายได้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย  การห้ามริบาจากการกู้ยืมนั้นจะถูกประทานแบบค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาหรับญาฮีลียะฮฺสู่ยุคอิสลาม และ สามารถแบ่งออกเป็น  4  ขั้นตอน ขั้นตอนแรกนั้นได้บัญญัติลงมาที่เมืองมักกะฮฺและขั้นตอนหลังจากนั้นได้ บัญญัติลงมาที่เมืองมาดีนะฮฺ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้  

 
1. อัลลอฮ(ซุบฮานะฮูวะตะอาลา) ได้ประทานอัลกรุอานที่เมืองมักกะฮฺ ในขั้นตอนนี้สังคมได้รับการสนับสนุนให้ละทิ้งริบาและให้ความสำคัญกับการเศาะ ดะเกาะฮฺ
ทรงตรัสไว้ในอัลกรุอานว่า
﴿ وَمَا آتَيْتُم مِّن رِّباً لِّيَرْبُوَ فِي أَمْوَالِ النَّاسِ فَلَا يَرْبُو عِندَ اللَّهِ وَمَا آتَيْتُم مِّن زَكَاةٍ تُرِيدُونَ وَجْهَ اللَّهِ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الْمُضْعِفُونَ ﴾ )الروم : (39
ความว่า :และสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน(ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมนุษย์ มันจะไม่เพิ่มพูน ณ ที่อัลลอฮฺและสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายไปจากซากาต โดยพวกเจ้าปรารถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละ พวกเขาคือ ผู้ได้รับการตอบแทนอย่างทวีคูณ
2. อัลลอฮซุบฮานะฮุวะตะอาลาได้ประทานอัลกรุอานที่เมืองมาดีนะฮฺ  ซึ่งขั้นตอนในอายัตนี้ได้มีการตักเตือนต่างๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับริบา ให้แก่คนที่รับรีบา   ทรงตรัสใจความอัลกรุอานว่า
﴿ وَأَخْذِهِمُ الرِّبَا وَقَدْ نُهُواْ عَنْهُ وَأَكْلِهِمْ أَمْوَالَ النَّاسِ بِالْبَاطِلِ وَأَعْتَدْنَا لِلْكَافِرِينَ مِنْهُمْ عَذَاباً أَلِيماً ﴾ (سورة النساء :161 )  
ความว่า: และเพราะการที่พวกเขากินดอกเบี้ยซึ่งได้ถูกห้ามแล้ว และเพราะการที่พวกเขากินทรัพย์สินของผู้อื่น โดยไม่ถูกต้อง และเราได้เตรียมการลงโทษอันเจ็บปวดไว้แล้วสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธ
จากอายัตนี้ที่ว่า ﴿ وَأَخْذِهِمُ الرِّبَا وَقَدْ نُهُواْ عَنْهُ﴾  : และเพราะการที่พวกเขากินดอกเบี้ยซึ่งได้ถูกห้ามแล้ว  จะเห็นได้ว่าในอายัตนี้ได้มีการตักเตือนต่างๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับริบา ให้แก่คนที่รับรีบา และอัลลอฮฺก็ได้เตรียมการลงโทษอันเจ็บปวดไว้แล้วสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธเหล่า นั้น.
3. หลังจากนั้นอัลลอฮซุบฮานะฮุวะตะอาลาได้ประทานอัลกรุอานที่เมืองมาดีนะฮฺ ซึ่งในอายัตนี้ได้ห้ามที่ทบเท่าทวีคูณ และให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺซุบฮานะฮุวะตะอาลาอยู่เสมอ
ทรงตรัสใจความอัลกรุอานว่า...
﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تَأْكُلُواْ الرِّبَا أَضْعَافاً مُّضَاعَفَةً وَاتَّقُواْ اللّهَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ﴾ซูเราะฮฺ)  (อัน- อิมร็อน อายัตที่130
ความว่า: บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่ากินดอกเบี้ยทบแล้วทบเล่าเป็นทวีคูณ และจงสำรวมตนต่ออัลลฮฺ เพื่อที่สูเจ้าจะได้รับผลสำเร็จ

จากอายัตนี้ข้างต้นนี้ได้ห้ามที่ทบเท่าทวีคูณ และให้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺซุบฮานะฮุวะตะอาลาอยู่เสมอ

4. หลังจากนั้นทรงได้ห้ามริบาอย่างกระจ่าง อัลลอฮซุบฮานะฮุวะตะอาลาได้ประทานอัลกรุอานที่เมืองมาดีนะฮฺ ซึ่งอายัตนี้ได้มีการตักเตือนต่างๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับริบาให้แก่คนที่ รับริบาและได้ห้ามอย่างชัดเจนแก่บรรดาผู้ศรัทธาให้ละทิ้งดอกเบี้ยหากสูเจ้า เป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง
ความว่า: บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเกรงกลัวอัลลอฮฺและจงละทิ้งดอกเบี้ยในส่วนที่สู่เจ้ายังอาจจะได้รับถ้าหาก สูเจ้าเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง

จากท่านญาบิร อิบนิ อับดิลแลฮฺ แท้จริงท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว่า อัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งผู้ที่กินดอกเบี้ย ผู้ที่ให้ดอกเบี้ย ผู้ที่เป็นพยานรู้เห็น ผู้บันทึกดอกเบี้ย (รายงานโดย อัลบุคอรี มุสลิม อะห์หมัด อบูดาวูด และอัตตริมีซีย์)
(عن عبد الله بن حنظله أن النبي صلي الله عليه وسلم قال : لدرهم ربا أشد عندالله تعالي من ست وثلاتين زنية في الخطيئة)

จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ ฮุนเฏาะละฮฺ แท้จริงท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าว่า หนึ่งดิรฮัมที่เป็นดอกเบี้ยรุนแรงยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ โทษหนักยิ่งกว่าการทำซินาสามสิบหกครั้งเสียอีก (บันทึกโดย อัดดาร็อกฏอนีย์)

จะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺซุบฮานะฮุวะตะอาลา ทรงห้ามริบาในทุกรูปแบบคำตรัสของอัลลอฮฺ(ศุบห์)ในสามลักษณะคือ  "อัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามริบาและส่ำหรับเจ้าต้นทรัพย์ ของเจ้า ทั้งหมดนั้น แสดงให้เห็นว่า ริบาจากการกู้ยืมจะถูกห้ามในทุกรูปแบบไม่ว่าจะมากหรือน้อย ผู้ให้กู้มีสิทธิ์รับคืนเฉพาะจำนวนเงินที่ให้กู้เท่านั้น (เงินต้น) โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขต้องเพิ่มเวลาจ่ายคืน
1 ความหมายของดอกเบี้ย
ในภาษาอาหรับ คำว่า ดอกเบี้ย หมายถึง เพิ่ม สูงขึ้นหรือขยาย อย่างไรก็ตามความหมายในเชิงอักษรศาสตร์นี้ไม่ได้กำหนดไว้อย่างแน่ชัดเกี่ยว กับรูปแบบการเพิ่มขึ้นที่อิสลามห้าม เพราะอิสลามไม่ได้ห้ามทุกอย่างที่เพิ่มขึ้นทางการเงิน เช่นกำไรจากการประกอบธุรกิจการค้าขายก็เป็นรูปแบบการเพิ่มทางการเงินที่ไม่ ได้ห้าม แต่ตรงกันข้าม อิสลามกลับสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกรุอาน
﴿ الَّذِينَ يَأْكُلُونَ الرِّبَا لاَ يَقُومُونَ إِلاَّ كَمَا يَقُومُ الَّذِي يَتَخَبَّطُهُ الشَّيْطَانُ مِنَ الْمَسِّ ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ قَالُواْ إِنَّمَا الْبَيْعُ مِثْلُ الرِّبَا وَأَحَلَّ اللّهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا فَمَن جَاءهُ مَوْعِظَةٌ مِّن رَّبِّهِ فَانتَهَىَ فَلَهُ مَا سَلَفَ وَأَمْرُهُ إِلَى اللّهِ وَمَنْ عَادَ فَأُوْلَـئِكَ أَصْحَابُ النَّارِ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ ﴾[1]บากอเราะห์ 275 
ความว่า : "ส่วนบรรดาผู้ที่กินดอกเบี้ย จะเป็นเหมือนกับผู้ที่มารร้ายทำให้พวกเขางมงายและเป็นบ้า โดยการสัมผัสของมัน พวกเขาถูกสาปแช่งถึงขั้นนี้เพราะพวกเขากล่าวว่า "การค้านั้นก็เหมือนกับดอกเบี้ย" ในขณะที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติการค้าขาย แต่ทรงห้ามดอกเบี้ย ดั้งนั้นถ้าหากใครก็ตามที่ละเว้นจากการเอาดอกเบี้ยหลังจากที่ได้รับคำเตือน นี้จากพระผู้อภิบาลของเขาแล้ว เขาก็จะไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เขาได้กินไปก่อนหน้า นี้ และกรณีของเขาจะไปถึงอัลลอฮฺในที่สุด แต่ถ้าหากเขายังทำผิดอย่างเดียวกันนี้อีก เขาเหล่านี้คือสหายของไฟนรกและพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้น"
ดอกเบี้ยในอิสลาม 
และ สิ่งที่พวกเจ้าจ่ายออกไปจากทรัพย์สิน (ดอกเบี้ย) เพื่อให้มันเพิ่มพูน ณ ที่อัลลอฮฺและสิ่งที่พวกเจ้าจ่ายไปจากซะกาต โดยพวกเจ้าปราถนาพระพักตร์ของอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นแหละพวกเขาคือ ผู้ได้รับการตอบแทนอย่างทวีคูณ
เป็นที่ทราบกันดีว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นพิษ ร้ายของสังคมทำอันตรายต่อผู้คน ต่อสังคมส่วนรวม ต่อประเทศชาติ และเป็นภัยคุกคามต่อชาวโลกซึ่งเป็นภัยที่เรามองไม่เห็น บางที่จิตใจของคนเราคิดว่าดี แต่ผลที่คิดว่าดีตอนนี้กลับมาทำร้ายเรา และเราคงจะลืมไปแล้วว่าเศรษฐกิจของชาวโลกในหลายๆประเทศที่พังทลายหายไปภายใน พริบตาเดียว ถ้าเราคิดทบทวนให้ดีๆเราก็จะพบสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจพังทลายอัน เกิดมาจากระบบดอกเบี้ยของนายทุน การขูดรีดสังคมมนุษย์ชาติ โดยอาศัยระบบดอกเบี้ยธนาคารยิวคือ ต้นคิดต้นแบบ ของระบบดอกเบี้ยที่หารับประทานบนหลังมนุษย์ ทำไมอิสลามจึงห้ามเรื่องดอกเบี้ย?ต้องมีฮิกมะฮฺอย่างแน่นอน ผู้เขียนจะนำเสนอในบางส่วนของฮิกมะฮฺในการห้ามดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
1. ดังที่กล่าวมาแล้ว ดอกเบี้ยเป็นภัยคุกคามต่อชาวโลกและเป็นภัยมหันต์ต่อมวลมนุษย์และมีอันตรายอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าที่เราจะคาดคิด
2. เป็นสาเหตุก่อให้เกิดการเป็นศรัตรูซึ่งกันและกันและค้านกับคำสอนของอิสลามที่ใช้ ให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคมดังพระดำรัสของพระองค์ที่ตรัส ว่า....พวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในเรื่องการทำความดีและการยำเกรงและอย่าได้ ช่วยเหลือกันในเรื่องการก่อให้เกิดโทษและการเป็นศรัตรู อัลลอฮฺทรงใช้เราช่วยเหลือในเรื่องการทำความดีการช่วยเหลือพี่น้องที่ตก ทุกข์ได้ยาก ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีความสามารถที่จะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่ กัน
3. อิสลามได้เรียกร้องให้ออกห่างจากระบบดอกเบี้ย แต่เมื่อตกอยู่ในสภาวะความจำเป็นต้องใช้เงินหรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินอิส ลามให้เขาเข้าไปขอความช่วยเหลือ หยิบยืมจากพี่น้องที่อยู่รอบด้านเขา และผู้ที่มีความสามารถจะให้ความช่วยเหลือได้


บทความจาก : www.scienceclarified.com ,www.islamiccoop.net
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด