คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)


21,412 ผู้ชม

ปี พ.ศ. 2519 มีคณะราชวงศ์ของประเทซาอุดีอาระเบีย มาเยือนประเทศไทย  ซึ่งในคณะก็มีเจ้าชายอามีร มายิด ซึ่งเป็นผู้ว่าการนครมักกะห์ในขณะนั้นร่วมเดินทางมาด้วย


คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

ประวัติ ความเป็นมา คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ

   ปี พ.ศ. 2519 มีคณะราชวงศ์ของประเทซาอุดีอาระเบีย มาเยือนประเทศไทย  ซึ่งในคณะก็มีเจ้าชายอามีร มายิด ซึ่งเป็นผู้ว่าการนครมักกะห์ในขณะนั้นร่วมเดินทางมาด้วย โดยมีเช็คอับดุลเลาะห์ บินตุรกี เป็นเลขา และในคณะก็ยังมีเช็คอะหมัด อิบรอฮีม บะดุร (ซึ่งเป็นผู้รับผิดขอบการทำประตูกะบะห์) ร่วมเดินทางมาด้วย ซึ่งในขณะนั้นได้มีคุณคฑาวุธ (อับดุลเลาะห์) นาคนาวาเป็นล่ามถ่ายทอดภาษา 

  เช็คอะหมัด เล่าให้ฟังว่า น้องชายของท่านคือ ดร.ฟาอีส อิบรอฮีม บะดุร ซึ่งเป็นผู้ว่าการการท่าเรือยิดดะห์ ได้ติดต่อไม้มะค่าโมง ไปจากประเทศไทยเพื่อทำประตูกะบะห์ แต่ตอนนี้ท่านต้องการช่างไม้และช่างทองเพื่อไปช่วยในงานนี้ ซึ่งท่านได้ให้คุณคฑาวุธเป็นผู้ประสานงานนี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยการหาช่างไม้ได้แก่ คุณอีซา กาสุรงค์ คุณสุไลมาน ซันหวัง คุณฮุเซ็น และอิ่ม ส่วนช่างทองได้แก่คุณอาลี มูลทรัพย์ (เยาะห์กระผม)คุณฮุไซนี อารีพงษ์ และคุณกอเซ็ม ชนะชัย

   ซึ่งทั้งหมดก็ได้เดินทางไปทำงานชิ้นสำคัญนี้ โดยงานชิ้นนี้ได้รับการออกแบบโดยช่างแบบชาวซีเรียชื่อมูนีร ยุนดี ซึ่งมีข้อตกลงกับกระทรวงเอากอฟว่า- ต้องออกแบบโดยใช้ลักษณะตัวอักษรอาหรับแบบคอต ที่จะเขียนอายะห์อัลกุรอาน- ต้องเลือกแบบลายศิลปะที่เป็นแบบอิสลามและเข้ากับความเป็นจริง- การออกแบบของทองคำที่ใช้แกะตัวอักษรต้องมีส่วนของเงินผสมอยู่ด้วย- ต้องให้ศิลปะสอดคล้องกับวิศวะกรรมสมัยใหม่- โครงสร้างต้องแน่นหนาสวยงาม ซึ่งไม่ต้องการให้ซ่อมอยู่บ่อย ๆ

 เมื่อการทำงานเริ่มต้นขึ้นในปี ฮ.ศ 1398 เดือนซุลฮิจยะห์นั้นจะต้องมีการเตรียมงานขั้นต้นก่อนเพื่อให้ประตูเสร็จแล้วจึงไปติดตั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ทีมงานได้ใช้บ้านของท่าน เช็คอะหมัด อิบรอฮีม บะดุร เป็นโรงงานที่เตรียมงาน     ซึ่งในการทำงานนั้นใช้ไม้มะค่าโมงซึ่งมีอายุถึง 200 ปี มีความหนา 3 นิ้ว กว้าง 1.60 เมตร ยาวกว่า 2.00 เมตร จำนวน 8 แผ่น ซึ่งไม้นี้เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้เพียงต้นเดียว แสดงให้เห็นว่าจะต้องเป็นต้นไม้ที่ใหญ่มาก ใช้เวลาเลื่อยและอบที่ประเทศไทยเป็นเวลา 3 เดือน

 เช็คอับดุลวาฮับ อับดุลวะเซียะ ซึ่งเป็น รมต.ฮัจญ์ ในขณะนั้น ก็ได้มาตรวจดูงานอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อทำงานได้ประมาณ 60 % มกุฎราชกุมาร ฟาฮัด (ในขณะนั้น) ก็ทรงเสด็จเยี่ยมชมการทำงานเช่นเดียวกัน การทำประตูกะบะห์นั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนสูงและความชื่นภายในกะบะห์อาจทำให้ไม้นั้นยืดและหดตัวได้ จึงต้องใช้วิธีตัดซอยไม้จากแผ่นใหญ่ออกให้เป็นส่วนที่เล็กลง เพื่อทำการเข้าลิ่ม เหมือนกับบ้านไทยโบราณโดยใช้กาว และตะปูเป็นตัวเชื่อม เพื่อให้รองรับการยืดหดตัวของไม้

  ส่วนในเรื่องของทองนั้นช่างทอง ต้องหลอมและรีดให้เป็นแผ่น ขนาด 1 คูณ 3 เมตร แล้วเขียนแบบตัวคอตแล้วจึงตอกเป็นตัวนูน ซึ่งผู้ที่เขียนภาษาก็คือ เช็คอับดุลรอฮีม อามีน แต่ในขณะนั้นท่านสุขภาพไม่ดี จึงต้องเข้าออกรักษาตัวโรงพยาบาลประจำ  จึงทำให้การเขียนนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่า

 สำหรับขั้นตอนในการติดตั้งนั้น ผู้ที่คอยดูแลในขณะที่ติดตั้งเป็นประจำคือ เช็คตอฮา อัชชัยบี ผู้ถือกุญแจประตูกะบะห์ในขณะนั้น ต้องใช้อุปกรณ์ติดตั้งเช่นนั่งร้าน และภายในกะบะห์ร้อนแต่ไม่สามารถนำพัดลมเข้าไปติดตั้งได้ต้องติดไว้ข้างนอก แล้วเปิดให้ลมเข้าไปเพียงอย่างเดียว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:   อาจารย์เอาลา มูลทรัพย์

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)

คนไทยทำประตูกะอ์บะฮฺ จริงหรือไม่? (มีภาพยืนยัน)


อัพเดทล่าสุด