การนับความดี ความชั่วตามหลักศาสนาอิสลาม


9,243 ผู้ชม

การเชื่อฟังพระอัลเลาะห์เป็นความดี มีผลเป็นบุญและความสุขติดตัวไปยังภพหน้า ความชั่ว หรือบาป เกิดจากไซตอน หรือซาตานหลอกให้คนออกนอกเส้นทางที่


การนับความดี ความชั่วตามหลักศาสนาอิสลาม

การนับความดี ความชั่วตามหลักศาสนาอิสลาม

  • ความดี การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ผลเป็นบุญเกิดความสุข

  • เป้าหมายทางศาสนาอิสลาม อยู่ในดินแดนพระเจ้า (สวรรค์นิรันดร)

  • ความชั่ว การกระทำที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย ให้ผลเป็นบาป เกิดความทุกข์
  • การเชื่อฟังพระอัลเลาะห์เป็นความดี มีผลเป็นบุญและความสุขติดตัวไปยังภพหน้า ความชั่ว หรือบาป เกิดจากไซตอน หรือซาตานหลอกให้คนออกนอกเส้นทางที่

พระอัลเลาะห์วางไว้ แต่บางทัศนะก็มีความเชื่อว่า แม้แต่ความชั่วก็เป็นสิ่งที่พระอัลเลาะห์สร้ำงขึ้นมา ด้วยเหตุผล ๒ ประการคือ เพื่อลงโทษคนทำชั่วให้หลาบจำ และเพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ศรัทธาต่อพระองค์

  • สรุปความหมายของความดีความชั่วศาสนาอิสลาม การเชื่อฟังพระอัลเลาะห์ การขัดคำสั่งพระอัลเลาะห์

พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสว่า

مَن جَاءَ بِالْحَسَنَةِ فَلَهُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا ۖ وَمَن جَاءَ بِالسَّيِّئَةِ فَلَا يُجْزَىٰ إِلَّا مِثْلَهَا وَهُمْ لَا يُظْلَمُونَ

ความว่า “ผู้ใดมาพร้อมกับ (กระทำ) หนึ่งความดี ผู้นั้นย่อมได้รับสิบความดีที่เหมือนกับหนึ่งความดีนั้น และผู้ใดมาพร้อมกับ (กระทำ) หนึ่งความชั่ว ผู้นั้นย่อมจะไม่ถูกตอบแทนนอกเสียจากที่เหมือนกับหนึ่งความชั่วนั้น” (อัล-อันอาม : 160) 

مَّثَلُ الَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمْوَالَهُمْ فِي سَبِيلِ اللَّـهِ كَمَثَلِ حَبَّةٍ أَنبَتَتْ سَبْعَ سَنَابِلَ فِي كُلِّ سُنبُلَةٍ مِّائَةُ حَبَّةٍ


และพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดำรัสถึงอานิสงค์ของการบริจาคทานว่า “อุปมัยดังเช่นเมล็ดธัญพืช 1 เมล็ดที่งอกออกมาเป็น 7 รวงในแต่ละรวงนั้นมี 100 เมล็ด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 261) 

وَإِن تَكُ حَسَنَةً يُضَاعِفْهَا وَيُؤْتِ مِن لَّدُنْهُ أَجْرًا عَظِيمًا

 “และพระองค์ทรงดำรัสอีกว่า “และหาก (การกระทำนั้น) เป็นหนึ่งความดี พระองค์จะทรงเพิ่มพูนทวีคูณหนึ่งความดีนั้น และจะทรงนำผลบุญอันยิ่งใหญ่จากพระองค์ท่านมาให้” (อัน-นิสาอฺ : 40) 


อัล-กุรอานทั้ง 3 อายะฮฺสอดคล้องกับคำอธิบายที่ปรากฏในอัล-หะดีษ อัล-กุดสียฺ ซึ่งอิบนุอับบาส (ร.ฎ.) เป็นผู้รายงานว่า

فَمَنْ هَمَّ بِحَسَنَةٍ , فَلَمْ يَعْمَلْهَا , كَتَبَهَا اللهُ عَنْدَهُ حَسَنَةً كاملةً وإنْ هَمَّ بِهَا فَعَمِلَهَا
كَتَبَهَا اللهُ عَنْدَهُ عَشْرَحَسَناتٍ إلى سَبْعِمِائَةٍ ضِعْفٍ إلى أَضْعَافٍ كثيرة ....الحديث


ความว่า “ดังนั้นผู้ใดตั้งใจ (ที่จะกระทำ) หนึ่งความดี แล้วผู้นั้นยังมิได้กระทำความดีนั้น พระองค์อัลลอฮฺทรงบันทึกความตั้งใจที่จะกระทำความดีนั้น ณ พระองค์แล้วเป็นหนึ่งความดีที่สมบูรณ์ และหากผู้นั้นตั้งใจกระทำหนึ่งความดี แล้วเขาก็กระทำความดีนั้น พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงบันทึกความดีนั้น ณ ที่พระองค์เป็น 10 ความดีจนถึง 700 เท่าจนทบทวีคูณเป็นอันมาก”

(รายงานโดย อัล-บุคอรียฺ (6491) และมุสลิม (131)

นักวิชาการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การกระทำความดี 1 ความดี ทั้งที่เป็นคำพูดและการกระทำ ทั้งที่ปรากฏและซ่อนเร้น ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) หรือบรรดาสิทธิของปวงบ่าวจะได้รับการเพิ่มพูนทวีคูณเป็น 10 เท่าจนถึง 700 เท่า และมากกว่า 700 เท่าจนสุดคณานับตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) 

ดังนั้นระดับขั้นของอานิสงค์แห่งความดีที่น้อยที่สุดคือ 1 ความดีเป็นสิบความดีที่เหมือนกัน และอาจจะเพิ่มทวีคูณด้วยเหตุปัจจัยที่มาเกื้อหนุน เช่น ระดับของศรัทธาอันแข็งกล้าของผู้กระทำความดี ความมีเจตนาอันบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์ การกระทำนั้นมีลักษณะอันสำคัญ เช่น การบริจาคเพื่อการญิฮาดและสาธารณกุศลตลอดจนเป็นการกระทำในช่วงเวลาที่มีความประเสริฐ เช่น การทำความดีในช่วงของเดือนเราะมะฎอน คืนลัยละตุลก็อดร์ และ 10 วันต้นของเดือนซุลหิจญ์ญะฮฺ เป็นต้น และเป็นการกระทำความดีในสถานที่ที่มีความประเสริฐ เช่น การละหมาดญะมาอะฮฺในมัสญิด การละหมาดในมัสญิดทั้งสามแห่ง เป็นต้น

ส่วนความชั่วนั้น โดยหลักเดิมตามที่อัล-กุรอานและอัล-หะดีษระบุไว้ หากมีการกระทำความชั่วก็จะถูกบันทึกเพียง 1 ความชั่ว โดยไม่มีการทบทวีคูณ ยกเว้นในกรณีที่การกระทำความชั่วนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาของเดือนต้องห้าม (อัล-อัชฮุรฺ อัล-หุรุม) หรือเกิดขึ้นในดินแดนที่มีศักดิ์และสิทธิอย่างนครมักกะฮฺ เป็นต้น  

นักวิชาการระบุว่า  ความดีจะถูกเพิ่มพูนทวีคูณด้วยจำนวน (อะดัด) ส่วนความชั่วนั้นจะถูกเพิ่มทวีคูณด้วยวิธีการ (กัยฟ์) แต่จะไม่ถูกเพิ่มด้วยจำนวนดังที่อัล-กุรอานและอัล-หะดีษบ่งชี้เอาไว้ 
ส่วนในกรณีของบาปเล็กและบาปใหญ่ก็เช่นกัน จะไม่ถูกนับนอกเสียจากเป็นหนึ่งความชั่วเท่านั้น แต่บาปใหญ่รุนแรงและมีผลร้ายหนักกว่าบาปเล็กโดยพิจารณาถึงวิธีการ (กัยฟ์) มิได้พิจารณาที่จำนวน (อะดัด) เหตุนั้นบาปใหญ่จะถูกลบล้างได้ก็ต่อเมื่อมีการเตาบะฮฺตัว (สำนึกผิด) ตามเงื่อนไขที่ศาสนากำหนดไว้ ส่วนบาปเล็กนั้นการกระทำความดีจะลบล้างบาปเล็กนั้น เพราอัล-กุรอานระบุว่า “แท้จริงบรรดาความดีนั้นจะทำให้บรรดาความชั่ว (ที่เป็นบาปเล็ก) วิปลาสนาการไป” 


วัลลอฮุอะลัม

อัพเดทล่าสุด