มีหรือไม่? หลักฐานการทำบุญคนตาย 7 วันหรือ 40 วัน


82,196 ผู้ชม

แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกฟิตนะห์ในกโบร์ของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว


มีหรือไม่? หลักฐานการทำบุญคนตาย 7 วันหรือ 40 วัน

หลักฐานการทำบุญคนตาย 7 วันหรือ 40 วัน และการเฝ้ากุโบร์

ท่านอัล-หาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้ทำการรายงาน จากท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ท่านอิมามอะหฺมัด ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัซซุอฮ์ดฺ ว่า

سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعموا عنهم تلك الأيام

" ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกฟิตนะห์ในกโบร์ของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ท่าน ชัยค์ อัลอะซ่อมีย์กล่าวว่า สายรายงานหะดิษนี้ قوى (มีน้ำหนัก) ดู หนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิ ซฺะวาอิด อัลษะมานียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 199

ท่านอิมามอัสศะยูฏีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวรายงานเช่นกันว่า

ذكر الرواية المسندة عن طاوس : قال الإمام أحمد بن حنبل رضى الله عنه فى كتاب الزهد له : حدثنا هاشم بن القاسم قال : حدثنا الأشجعى عن سفيان قال ، قال طاووس : إن الموتى يفتنون فى قبورهم سبعاَ وكانوا يستحبون أن يطعم عنهم تلك الأيام

"กล่าวสายรายงานถึงท่าน ฏอวูส ซึ่งท่านอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัซซุฮฺดิ ของท่านว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย ฮาชิม บิน อัลกาซิม เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย ท่านอัลอัชญะอีย์ จากท่านซุฟยาน เขากล่าวว่า ท่านฏอวูส กล่าวว่า "ท่านซุฟยานกล่าวว่า ท่านฏอวูสกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายนั้น พวกเขากำลังถูกสอบถามในกุบูรของพวกเขา ถึง 7 วัน และบรรดาซอฮาบะฮ์มีความชอบที่จะทำการเลี้ยง(ให้)อาหารแทนจากพวกเขา ในเจ็ดวันดังกล่าว" ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 216 ดารุลฟิกร์ ตีพิมพ์ 2004 - 1424 ฮ.ศ

หลักฐานการทำบุญ 40 วัน ท่าน อีหม่าม อัศศายูตีย์ ได้อ้างอิง ฮาดิษว่า คนมุอมิน จะโดนฟิตนะห์ในกุโบร์ 7 วัน ส่วนคนมุนาฟิก นั้น 40 วันในช่วงตอนเช้า

مسألة : فتنة الموتى في قبورهم سبعة أيام ، أوردها غير واحد من الأئمة في كتبهم ، فأخرجها الإمام أحمد بن حنبل في " كتاب الزهد " ، والحافظ أبو الأصبهاني في كتاب " الحلية " بالإسناد إلى طاوس أحد أئمة التابعين ، وأخرجها ابن جريج في مصنفه بالإسناد إلى عبيد بن عمير ، وهو أكبر من طاوس في التابعين ، بل قيل : إنه صحابي ، وعزاها الحافظ زين الدين بن رجب في كتاب " أهوال القبور " إلى مجاهد وعبيد بن عمير ، فحكم هذه الروايات الثلاث حكم المراسيل المرفوعة على ما يأتي تقريره ، وفي رواية عبيد بن عمير زيادة أن المنافق يفتن أربعين صباحا . وهذه الرواية بهذه الزيادة أوردها الحافظ أبو عمر بن عبد البر في " التمهيد " ، والإمام أبو علي الحسين بن رشيق المالكي في " شرح الموطأ " ، وحكاه الإمام أبو زيد عبد الرحمن الجزولي من المالكية في " الشرح الكبير " على رسالة الإمام أبي محمد بن أبي زيد ، والإمام أبو القاسم بن عيسى بن ناجي من المالكية [ ص: 216 ] في " شرح الرسالة " أيضا وأورد الرواية الأولى ، والشيخ كمال الدين الدميري من الشافعية في " حياة الحيوان " ، وحافظ العصر أبو الفضل بن حجر في المطالب العالية

เเละท่านยังกล่าวเพิ่มเติมว่า:

إن سنة الإطعام سبعة أيام بلغني أنها مستمرة إلى الآن بمكة والمدينة فالظاهر أنها لم تترك من عهد الصحابة إلى الآن وإنهم أخذوها خلفا عن سلف إلى الصدر الأول. في التواريخ كثيرا في تراجم الأئمة يقولون وأقام الناس على قبره سبعة أيام يقرؤون القرآن.


ความว่า "เเท้จริงเเล้ว มีรายงานมาถึงฉัน ว่า มีซุนนะห์ ในการเลี้ยงอาหารภายในเวลา 7 วัน เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่มักกะห์ เเละมาดีนะห์ สิ่งที่ชัดเจน คือ ไม่มีการละทิ้งการกระทำจากสมัยศอฮาบะห์ จนถึงทุกวันนี้ เเละผู้คนยุคหลังได้ปฏิบัติตามคนยุคก่อน ในตำราประวัติศาสตร์ต่างๆ เขาทั้งหลายได้กล่าวว่า มีผู้คนอ่านอัลกุรอ่านบนกุโบร์ภายใน 7 วัน" 

ส่วนคนที่ไม่ทำ ยึดคำพูดของอุลามะเเละฮาดิษ โดยที่ขาดการวิเคราะห์ เเละเเยกสารออกมา วินิจฉัย ตีความไม่ละเอียด เเละเป็นอ้างอิงเพื่อโจมตีทัศนะที่ว่า ทำได้ โดยที่ขาดความเคารพ เเละคิดว่า คนสมัยก่อนไร้ความรู้

เหตุผลที่ห้ามจัดทำ: 

1. การร้องไห้ฟูมฟาย โอดครวน เสียงดัง

 2. การทำให้ญาติ ผู้ตาย ต้องเลี้ยงอาหาร สร้างความลำบาก

3. การทำบนพื้นฐานตามวัฒนธรรมเเละประเพณี

4. ญาติผู้ตายเลี้ยงอาหารทำบุญ โดยเอาเงินจากลูกกำพร้า เเละขาดการเห็นด้วยในหมู่ญาติๆ ที่มีสิทธิในมรดกของผู้ตาย

ในบริบทที่ญาติผู้ตายทำกัน คือ ญาติผู้ตายไม่ลำบากอะไร เเละไม่การรวมตัวไว้อาลัย เพื่อร้องให้ฟูมฟาย การรวมตัว คือ การที่จะเอาความบารอกัตจากคนดีๆ มาดุอาให้ญาติที่ได้เสียชีวิต เเละหลังจากอ่านอัลกุรอ่าน หรือ ดุอา ก็มีการเลี้ยงข้าวให้กิน เพื่อทำบุญ ดังนั้น การฮุกุ่มคนอื่นที่มาทำบุญ อ่านกุลฮู ที่บ้านญาตของผู้ตาย ไม่เข้าในบริบทการห้ามดังกล่าว การฮุกุ่มจะออกมาเพี้ยน หากไม่มีความรู้ด้าน ตรรกวิทยา การอนุมานเหตุผลจากกว้างไปเเคบ สามารถอนุมานได้ดังนี้

1. การรวมตัว : ทำได้

2 การรวมตัวกันเพื่อทานอาหาร: ทำได้

3. การรวมตัวกันอ่านกุลฮู เเละมีการเลียงอาหารเพื่อทำบุญ: ทำได้

4. การรวมตัวกันทำอาหาร กินกัน เเล้ว ร้องไห้ ฟูมฟาย โอดครวญ เสียงดัง : ไม่สามารถทำได้

5. การรวมตัวกันของญาติผู้ตาย เพื่อเลี้ยงอาหารคนอื่นโดยยึดตามประเภณี : ไม่สามารถทำได้


ดังนั้น คนที่ไม่อยากทำบุญคนตาย 7 วัน หรือ 40 วัน เเละไม่อยากเฝ้ากุโบร์ ควรปิดปาก เพราะมี รายงานฮาดิษว่า คนมุมิน เเละมุนาฟิก จะถูกฟิตนะห์ในกุโบร์ ภายใน 7 วัน เเละ 40 วัน ดังนั้น ญาติผู้ตายสามารถทำอัรวะห์ (อุทิศผลบุญให้ผู้ตายด้วยการซิกิร ดุอา เเละอ่านอัลกุรอ่าน) เพื่ออุทิศผลบุญให้มัยยิต โดยมีความหวังในการลดฟิตนะห์ในกุโบร์ ตามคำกล่าวของท่าน อีหม่าม อัศซายูตีย์ ในตำรา อัลฮาวีย์ และท่านได้อ้างอิงหลักฐานฮาดิษมากมาย การทะเลาะกัน เกิดจากนักวิชาการพวกหนึ่งที่ไปต่อต้าน หรือ ปฏิเสธในเรื่องทีคีลาฟ เเล้วโจมตีคนอื่นว่า ทำโดยไร้หลักฐาน เเละพยายามรวบรวมทัศนะ


ที่มา: Matty Ibnufatim Hamadi

การทำบุญเจ็ดวัน40วัน คือะไร  ทำเพื่ออะไรครับ มีในหลักการของศาสนาหรือไม่ครับ บางทีผมก็สับสนอาจารย์ช่วยให้ผมหายค่องใจหน่อยนะครับ

ตอบโดย: อ. อาลี เสือสมิง

การทำบุญ  3  วัน  7  วัน  40  วัน  และ  100  วัน  นับจากการเสียชีวิตของผู้ตายที่ญาติของผู้เสียชีวิตกระทำให้นั้น  ต้องแยกประเด็นเป็น  2  ประเด็น  กล่าวคือ
1. การทำบุญด้วยการเลี้ยงอาหาร  (إطْعَامُ الطَّعَام)  หรือการบริจาคทาน  (الصَّدَقَاتُ)  นั้นเป็นสิ่งที่นักวิชาการส่วนใหญ่  (ญุมฮู๊ร)  ของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ  วัลญะมาอะฮฺระบุว่าสามารถกระทำได้และผลบุญนั้นถึงผู้ตาย  ข้อนี้ประเด็นหนึ่ง
2. การกำหนดวันเวลาเป็นการเฉพาะในการทำบุญเลี้ยงอาหารหรือการร่วมชุมนุมของผู้คนเมื่อครบรอบวันนับจากการเสียชีวิตของผู้ตาย  ซึ่งเรียกว่า  (اَلْمَأْتَمُ)  หรือ  (اَلذِّكْرٰى)  เช่น  3  วัน  7  วัน  40  วัน  เป็นต้น  ประเด็นนี้มีความเห็นของนักวิชาการแตกต่างกัน  ฝ่ายหนึ่งถือว่ากระทำได้  อีกฝ่ายหนึ่งถือว่าเป็นอุตริกรรม  (بِدْعَةٌ)  ไม่อนุญาตให้กระทำ  โดยเฉพาะการทำบุญครบรอบ  40  วันนั้นนักวิชาการหลายท่านซึ่งเป็นบุคคลร่วมสมัยได้ระบุว่าเป็นอุตริกรรมที่เลวถูกตำหนิตามหลักการของศาสนา
إِنَّ إِقَامَةَ مَأْتَمِ لَيْلَةِ الأَرْبَعِيْنَ بِدْعَةٌ ﺳﻴﺌﺔ مَذْمُوْمَةٌ شَرْعًا
ไม่มีหลักฐานอ้างอิงในหลักนิติศาสตร์อิสลามและไม่ปรากฏว่าเป็นส่วนหนึ่งจากทางนำของท่านนบีและการปฏิบัติของชนรุ่นซอฮาบะฮฺและไม่มีร่องรอยการปฏิบัติจากผู้คนรุ่นถัดมา  (ตาบิอีน)  -ดูรายละเอียดคำฟัตวาของชัยค์ฮะซะนัยฺน์  มุฮำหมัด  มัคลู๊ฟ  อดีตมุฟตีย์ของอิยิปต์ในหนังสือฟะตะวา  ชัรอียะฮฺ  ว่า  บุฮุซ  อิสลามี่ยะฮฺ  เล่มที่  2  หน้า  262-263)  และการกระทำเช่นนี้  (ทำบุญในวันพฤหัสและครบรอบ  40  วัน)  ไม่เคยเป็นที่รู้จักกันในศาสนาอิสลาม  -ดูอัลฟะตาวา  ของอิหม่ามอักบัร  มะฮฺหมูด  ชัลตู๊ต  หน้า  217)  
และการที่ครอบครัวของผู้ตายรวมผู้คนมาทานอาหารเนื่องในวาระครบรอบ  40  วันเป็นต้นถือเป็นอุตริกรรม  (บิดอะฮฺ)  และถ้าหากค่าใช้จ่ายในการทำอาหารนี้มาจากทรัพย์มรดกและปรากฏว่าในหมู่ทายาท  ผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะด้วยแล้วถือว่าการกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามอย่างรุนแรง  (أَشَدَّالْمُحَرَّمَاتِ)  เพราะเป็นการกินทรัพย์ของเด็กกำพร้าและเป็นการทำให้สูญเสียทรัพย์ไปในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์  ผู้เชิญและผู้กินย่อมมีส่วนร่วมในการกระทำสิ่งต้องห้ามนี้  (อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญีย์  เล่มที่  1  หน้า  263)  
ดังนั้นหากทายาทของผู้ตายมีความประสงค์จะทำทานให้แก่ผู้ตายด้วยการเลี้ยงอาหาร  (ทำบุญ)  เนื่องจากมีผลบุญถึงผู้ตายตามประเด็นที่  1  ก็ให้ทายาทของผู้ตายหลีกเลี่ยงการกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเสีย  ทั้งนี้เพื่อหลีกห่างจากการกระทำที่เข้าข่ายอุตริกรรมทางศาสนาโดยให้กระทำตามความเหมาะสมและความสะดวกที่จะทำ  มิใช่ไปกำหนดวันครบรอบดังกล่าว  และต้องคำนึงถึงทรัพย์ที่นำมาใช้จ่ายนั้นด้วยว่าจะต้องไม่มีทรัพย์อันเป็นสิทธิของเด็กกำพร้าหรือลูก ๆ ของผู้ตายที่ยังไม่บรรลุนิติศาสนภาวะ  หากปฏิบัติได้อย่างนี้ก็จะไม่มีปัญหาตามมา

ที่มา: alisuasaming.org


อัพเดทล่าสุด