การรับประทานอาหารมื้อเย็น แบบฉบับท่านนบี


19,682 ผู้ชม

ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีแนวทางการรับประทานอาหารเย็นแบบไหน ไปดูกัน


ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีแนวทางการรับประทานอาหารเย็นแบบไหน ไปดูกัน...

1. ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  สั่งให้เรารับประทานอาหารค่ำแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ดังมีหะดีษกล่าวว่า :

“การละทิ้งอาหารมื้อค่ำนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม”  (รายงานโดยติรมีซี ในหนังสืออัลญามิอฺ)

2. ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ไม่ให้นอนทันทีหลังรับประทานอาหาร โดยบอกว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น  (รายงานโดยอิบนุมาญะฮฺ ในหนังสือสุนัน)

3. แพทย์มุสลิมจะแนะนำว่า “ให้ละหมาดหลังจากทานอาหารค่ำแล้ว  เพื่อให้อาหารได้เข้าไปในส่วนลึกสุดของกระเพาะ และย่อยได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ”

4. ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ดื่มน้ำขณะรับประทานอาหาร เพราะสิ่งนั้นจะทำให้อาหารเสียหายไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำที่ร้อนหรือเย็นเกินไป

มารยาทในการรับประทานอาหาร

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์ แปลโดย : ณัจญวา บุญมาเลิศ

มวลการสรรเสริญ เป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุขความจำเริญ และความสันติ จงประสบแด่ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วาน และมิตรสหายของท่าน โดยทั่วกัน ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่า มูฮำหมัดเป็นบ่าวของพระองค์อัลลอฮฺ และเป็นศาสนทูตของพระองค์
 
สิ่งหนึ่งที่เป็นความลับ แห่งความยิ่งใหญ่ ของศาสนาอิสลาม คือ การที่ศาสนาอิสลาม ได้กล่าวถึง และอธิบายแนวทางการดำเนินชีวิต ในแง่มุมต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน และส่วนหนึ่งจากแง่มุมต่างๆ ของการดำเนินชีวิต ที่ศาสนาได้กล่าวถึงก็คือ มารยาทในการรับประทานอาหาร ซึ่งมีดังต่อไปนี้

หนึ่ง การกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนรับประทานอาหาร และการดื่ม 

มีรายงานจากอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษของ อัมร์ บิน สะละมะฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ได้กล่าวกับอัมร์ว่า:

«يَا غُلامُ ، سَمِّ اللهَ وَكُلْ بِيَمِيْنِكَ ، وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»

โอ้เด็กน้อยเอ๋ย จงกล่าวนามของอัลลอฮฺ และจงรับประทาน ด้วยมือขวา และรับประทานอาหาร ที่อยู่ถัดจากท่าน (อัล-บุคอรีย์: 5376 และมุสลิม: 2022)

หากว่าลืมกล่าว “บิสมิลลาฮฺ” ก่อนเริ่มรับประทานอาหาร ก็ให้กล่าวเมื่อนึกขึ้นได้ มีรายงานจากอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษของท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَذْكُرِ اسْمَ اللهِ تَعَالى ، فَإِنْ نَسِيَ أَنْ يَذْكُرَ اسْمَ اللهِ تَعالى فِي أَوَّلِهِ ،   فَلْيَقُلْ : بِاسْمِ اللهِ أَوَّلُهُ وَآخِرُهُ»

“เมื่อคนใดคนหนึ่ง ในหมู่พวกท่าน ได้รับประทานอาหาร ก็จงกล่าวนามของอัลลอฮเถิด ถ้าหากว่า เขาลืมกล่าวก่อนทาน หากเขานึกขึ้นได้ ก็จงกล่าวว่า “บิสมิลลาฮิ เอาวะลุฮู วะอาคิรุฮู” (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ทั้งในตอนเริ่ม และตอนสุดท้าย-ผู้แปล)” (อัต-ติรมิซีย์: 3767)

สอง รับประทานและดื่ม ด้วยมือขวา

ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้มุสลิมรับประทาน หรือดื่ม ด้วยมือซ้าย มีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษของสะละมะฮฺ บิน อัลอักวะอฺ ว่า:

أنَّ رَجُلا أَكَلَ عِنْدَ النَّبيَّ صَلى اللهُ عَليهِ وَسلم بِشِمَالِهِ ، فَقَال النبيُ صَلى اللهُ عليه وسلَمَ  «كُلْ بِيَمِيْنِكَ» ، فقال : لا أَسْتَطِيْعُ ، قال : «لا اسْتَطَعْتَ»، مَا مَنَعَهُ إلا الكِبْرُ ، قال: فَمَا رَفَعَهَا إلى فِيْه.

ชายคนหนึ่ง ได้รับประทานอาหาร ด้วยมือซ้าย ต่อหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านนบีได้กล่าว แก่ชายคนนั้นว่า จงทานด้วยมือขวาของท่าน” ชายคนนั้นได้ตอบว่า “ฉันทำไม่ได้” ท่านนบีจึงได้กล่าวว่า แล้วท่านจะทำไม่ได้อีกต่อไป!” ที่ทำไม่ได้นั้น ก็เพราะความยะโสโอหัง ต่างหาก ท่านสะละมะฮฺกล่าวว่า: แล้วชายคนนั้น ก็ไม่สามารถทานด้วยมือซ้ายอีก (มุสลิม: 2021)

 และมีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษของอิบนุ อุมัร ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إذَا أَكَلَ أَحَدُكُم فَلْيَأْكُلْ بِيَمِيْنِهِ ، وَإذَا شَرِبَ فَلْيَشْرَبْ بَيَمِيْنِهِ ، فَإِنَّ الشَيْطانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ، وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ»

“เมื่อคนหนึ่งจากพวกท่าน จะรับประทาน จงรับประทานด้วยมือขวา ของเขาเถิด และเมื่อเขาจะดื่ม ก็จงดื่มด้วยมือขวา ของเขาเถิด แท้จริงเหล่ามารร้าย (ชัยฏอน) นั้น จะกินด้วยมือซ้าย และดื่มด้วยมือซ้าย” (มุสลิม: 2020)

สาม รับประทานโดยใช้เพียงสามนิ้ว

มีรายงานจากมุสลิม จากหะดีษ กะอับ บินมาลิก กล่าวว่า

أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلى الله عليه وَسلَم كَانَ يَأْكُلُ بِثَلاثِ أَصَابِع ، فَإذَا فَرغَ لَعقَها

ท่านเราะสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รับประทานอาหาร โดยใช้เพียงสามนิ้ว เมื่อท่านทานเสร็จ ท่านก็จะเลียนิ้วของท่าน”  (มุสลิม: 2032)

สี่ เลียนิ้วและจานอาหาร

เมื่อเราทานอาหารเสร็จ และมีร่องรอยอาหาร หลงเหลืออยู่ และสามารถทานได้ โดยไม่เป็นอันตราย หรือเหลือเศษอาหารติดที่จาน มีซุนนะฮฺให้เลีย (ทาน) สิ่งที่ติดอยู่ที่จานให้หมด เหตุผลก็เพราะว่า มนุษย์นั้นไม่สามารถรู้ได้ว่า อาหารส่วนไหน มีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) และเช่นกัน มีซุนนะฮฺให้เลียอาหาร ที่ติดที่นิ้วด้วย มีรายงานจากมุสลิม จากหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษกะอับ บิน มาลิก กล่าวว่า:

كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلى اللهُ عَليهِ وَسلَم يَأْكُلُ بِثَلاثِ أَصَابِع ، فَإذَا فَرغَ لَعقَها

ท่านเราะสูลุลลอฮฺนั้น ท่านทานอาหารโดยใช้สามนิ้ว และเมื่อท่านอิ่ม ท่านก็จะเลียนิ้วของท่าน” (มุสลิม: 2032)

และ รายงานจากมุสลิม จากหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษญาบิร ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้เลียนิ้ว และจาน ท่านกล่าวว่า:

«إِنَّكُمْ لا تَدْرُونَ فِي أَيِّهِ البَرَكَةُ»

“แท้จริงพวกท่าน ไม่รู้หรอกว่า อาหารส่วนไหน มีความจำเริญ” (มุสลิม: 2032)

ห้า ให้ทานอาหารที่หล่นออกนอกจาน

มีรายงานจากมุสลิม ในหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษญาบิร บิน อับดุลลอฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إِذَا وَقَعَتْ لُقْمَةُ أَحَدِكُمْ فَلْيَأْخُذْهَا ، فَلْيُمط ما كانَ بِها مِنْ أَذى ، وَلْيَأْكُلْها ، وَلا يَدَعها للشيطانِ ، وَلا يَمْسَح يَدَهُ بِالمنْدِيل حَتَّى يَلْعقَ أصابِعَهُ ، فَإنه لا يدري في أَيِّ طَعامهِ البركة»

เมื่ออาหารคำหนึ่งของพวกท่าน ได้ตกลง จงหยิบมันขึ้นมา และจงขจัดส่วนที่เปื้อนสกปรกออก และจงกินอาหารนั้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้ชัยฏอนมารร้าย และอย่าเช็ดมือด้วยผ้า จนกว่าเขาจะได้เลียนิ้ว เสียก่อน เพราะแท้จริงเขาไม่รู้ได้ว่า อาหารส่วนไหนมีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ)” (มุสลิม: 2032)

หก ร่วมวงทานอาหารกับภรรยา หรือ ลูกๆ หรือ บุคคลอื่น

รายงานจากอบูดาวูด ในหนังสือ สุนันอะบีดาวูด จากหะดีษ วะฮฺชี บิน หัรบ์ จากพ่อของเขา จากปู่ของเขา  เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า

أَنَّ أَصْحَابَ النبيُ صلى الله عليه وسلَمَ قَالوا : يارَسُولَ اللهِ إِنَّا نَأْكُلُ وَلا نَشْبَعُ ، قال: «فَلَعَلَّكُمْ تَفْتَرِقُونَ؟ » قَالوا : نَعَم . قال : «فَاجْتَمِعُوا عَلى طَعَامِكُم ، وَاذْكرُوُا اسمَ اللهِ عَليهِ يُبَارِكْ لَكُم فِيهِ»

บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า  โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ แท้จริงเราได้ทานอาหาร แต่เราไม่รู้สึกอิ่ม” ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า พวกท่านได้แยกกันทาน ต่างคนต่างทาน กระนั้นหรือ?” บรรดาเศาะหาบะฮฺตอบว่า ใช่ครับ” ท่านเราะสูลได้กล่าวว่า จงร่วมวงกันทานอาหารเถิด และจงกล่าวนามของอัลลอฮ และพระองค์จะประทานความจำเริญ แก่พวกท่าน จากอาหารนั้น” (อบูดาวูด: 3764)

เจ็ด ห้ามพ่นลมหายใจลงในภาชนะอาหาร

รายงานจากอัล-บุคอรีย์ ในหนังสือเศาะฮีหฺอัล-บุคอรีย์ จากหะดีษ อบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบีได้กล่าวว่า:

«إِذَا شَرِبَ أَحَدُكُمْ فَلا يَتَنَفَّس فِي الإِناءِ »

เมื่อคนใดคนหนึ่ง จากพวกเจ้า ได้ดื่ม จงอย่าพ่นลมหายใจ ลงในภาชนะนั้น” (อัล-บุคอรีย์: 153)

เช่นเดียวกัน การเป่าอาหาร หรือเครื่องดื่ม ก็ถูกห้าม รายงานจากอบูดาวูด ในหนังสือ สุนัน อบีดาวูด จากหะดีษ อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า

نَهَى النَبِيُّ صَلى اللهُ عليهِ وَسَلَم أَنْ يُتَنَفَّسَ فِي  الإناءِ أَوْ يُنْفَخَ فِيهِ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการหายใจ ลงในภาชนะอาหาร หรือเป่าอาหาร” (อบูดาวูด: 3728)

แปด  ห้ามทานอาหาร จากส่วนบน ของจานอาหาร หรือตรงกลางจาน

ดังกล่าวนี้ แบ่งออกเป็นสองประเภท

ประเภทที่หนึ่ง

อาหารประเภทเดียว หมายความว่า อาหารในจานนั้น เป็นอาหารชนิดเดียว มีประเภทเดียว มีซุนนะฮฺให้ทาน ส่วนที่อยู่ใกล้กับเราก่อน ดังหะดีษที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่า:

«وَكُلْ مِمَّا يَلِيْكَ»

และจงทานอาหาร ส่วนที่อยู่ถัดจากท่าน” (อัล-บุคอรีย์: 5376 และมุสลิม: 2022)

และอีกหะดีษหนึ่ง ที่รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์ ในหนังสือ สุนันอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษของอิบนุอับบาส กล่าวว่า:

«البَرَكَةُ تنزلُ في وَسَطِ الطَعَامِ ، فَكُلُوا مِنْ حَافَتَيْهِ ، وَلا تَأكُلُوا مِنْ وَسَطِهِ»

ความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) จะถูกประทานลงมา ที่อาหารส่วนที่อยู่ตรงกลาง ดังนั้น จงเริ่มทาน จากส่วนขอบก่อน อย่าเริ่มทาน จากตรงกลางของอาหาร” (อัต-ติรมิซีย์: 1805)

ประเภทที่สอง

อาหารมีหลากหลายประเภท ดังนั้น ถือว่าไม่เป็นไร ถ้าจะเริ่มทาน จากส่วนบนของอาหาร หรือส่วนขอบของอาหารก่อน หลักฐานที่มายืนยัน ในเรื่องดังกล่าว ก็คือ หะดีษที่รายงาน จากอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม จากหะดีษของอะนัสบินมาลิก กล่าวว่า:

رَأَيْتُ النَبِيَّ صَلى اللهُ عليهِ وسلَمَ يَتَتَبَّعُ الدباءَ مِن حَوَالي الصَحْفَةِ

ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เลือกหามะระในจานอาหาร” (อัล-บุคอรีย์: 2092 และมุสลิม: 2041)

เก้า ห้ามดื่มน้ำในขณะที่ยืนอยู่

         จากคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษที่รายงานโดยมุสลิม ในหนังสือเศาะฮีหฺมุสลิม จากหะดีษอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ได้กล่าวว่า

«لا يَشْرَبَنَّ أَحَدٌ مِنْكُمْ قَائِماً ، فَمَنْ نَسِيَ فَلْيَسْتَقِئْ »

คนหนึ่งในพวกท่าน จงอย่าดื่มน้ำ ในขณะที่ยืนอยู่ หากใครลืม ก็จงบ้วนออกมา” (มุสลิม: 2026)

สิบ มีความพอดีในการรับประทานอาหาร

รายงานจากอัต-ติรมิซีย์ จากหะดีษ อัล-มิกดาม บิน มะอฺดี กัรบฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

«مَا مَلأَ آدَمِيُ وِعاءً شَراً مِنْ بَطْنٍ ، بَحسْبِ ابْنِ آدمَ أَكلاتٌ يُقِمْنَ صلْبَهُ، فَإِنْ كانَ لا محالةَ، فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ ، وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ ، وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ»

ไม่มีภาชนะใด ที่เมื่อลูกหลานอาดัม บรรจุจนเต็มแล้ว จะแย่ยิ่งไปกว่าท้อง การที่เขาทานแต่น้อย แค่พอให้ร่างกาย มีชีวิตอยู่ได้ ก็เป็นการเพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ทาน เพียงหนึ่งส่วนสามของท้อง ดื่มน้ำอีกหนึ่งส่วนสาม และอีกหนึ่งส่วนสาม เผื่อไว้ให้ได้หายใจ” (อัต-ติรมิซีย์: 2380)


والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين

 

ที่มา: Shuhada ชูฮาดาอฺ สุขภาพดีตามสูตรนบี,Islam House.com
https://islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด