การอ่านกุรอานและมอบผลบุญให้ผู้ตายนั้น เหมือนจะเป็นอุตริกรรมที่น่าตำหนิเสียเหลือเกิน ทั้งๆที่บรรดาผู้กระทำการอ่านนั้น ต่างก็มีความเข้าใจดีอยู่แล้วเกี่ยวกับหลักฐานที่มา และวิถีของการอ่านที่เป็นที่อนุญาต
เหตุผลของผู้ที่ไม่อ่านอัลกุรอ่านโอนบุญให้คนตาย
ได้เข้าไปอ่านบทความ ผู้รู้ท่านหนึ่ง มีข้อความดังนี้
มัสฮับชาฟีอีย์ กับการอ่านกุรอานให้ผู้ตาย .. !!
ท่านพี่น้องที่รัก ประเด็นปัญหานี้ ดูเหมือนเป็นประเด็นที่น่าจะคลี่คลายลงไปได้แล้ว เพราะมีหลักฐานมากมายที่สามารถยอมรับได้ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่ม ที่ทำเป็นไม่เข้าใจ และพยายามหาหลักฐานมาโต้แย้ง จนทำให้ดูเหมือนว่า การอ่านกุรอานและมอบผลบุญให้ผู้ตายนั้น เหมือนจะเป็นอุตริกรรมที่น่าตำหนิเสียเหลือเกิน ทั้งๆที่บรรดาผู้กระทำการอ่านนั้น ต่างก็มีความเข้าใจดีอยู่แล้วเกี่ยวกับหลักฐานที่มา และวิถีของการอ่านที่เป็นที่อนุญาต
นั่นคือ ต้องมีการตั้งเจตนาในการมอบผลบุญไปยังผู้ล่วงลับ และขอดุอาอ์ให้แก่เขาตามติดไปด้วย อันนี้ คือ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นในมัสฮับชาฟีอีย์ ตามที่ท่านอีหม่ามนะวะวีย์(รฮ.)ได้กล่าวสรุปไว้ ดังที่มีระบุอยู่ในหนังสือ ช่าเราะห์ "มินฮาจญ์" ตามตัวบทที่ว่า :
وفى شرح المنهاج : لا يصل إلى الميت عندنا ثواب القراءة على المشهور، والمختار الوصول إذا سأل اللّه إيصال ثواب قراءته وينبغى الجزم به لأنه دعاء
"ผลบุญของการอ่านนั้น จะไม่ถึงผู้ตาย ณ ที่เรา ตามโกล้ที่มัชโฮร(ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุดในมุมมองท่านอีหม่ามชาฟีอีย์) แต่ที่ถูกเลือกเฟ้นในมัสฮับแล้ว ถือว่า ผลบุญของการอ่านนั้นไปถึงผู้ตาย เมื่อมีการขอพรต่ออัลเลาะห์ให้มอบผลบุญแก่ผู้ตาย และสมควรต่อการยึดมั่นด้วยการดุอาอ์นี้ เพราะ(การที่ผลบุญไปถึง)นั้น เกิดขึ้นจากเรื่องของการดุอาอ์"
ชี้แจง
ความจริง ด้วยความเคารพ ไม่อยากจะนำข้อเขียนของท่านมาวิจารณ์ แต่ข้อความตอนหนึ่ง ที่ท่านกล่าวว่า
"แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่ม ที่ทำเป็นไม่เข้าใจ และพยายามหาหลักฐานมาโต้แย้ง จนทำให้ดูเหมือนว่า การอ่านกุรอานและมอบผลบุญให้ผู้ตายนั้น เหมือนจะเป็นอุตริกรรมที่น่าตำหนิเสียเหลือเกิน ทั้งๆที่บรรดาผู้กระทำการอ่านนั้น ต่างก็มีความเข้าใจดีอยู่แล้วเกี่ยวกับหลักฐานที่มา และวิถีของการอ่านที่เป็นที่อนุญาต "
คำว่า "คนบางกลุ่ม" ก็คือ คนที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการอ่านอัลกุรอ่านอุทิศบุญให้คนตายนั้นเอง
ก่อนอื่น ท่านต้องเข้าใจว่า การอ่านอุทิศบุญให้คนตาย ไม่ได้มีหลักฐานทางศาสนบัญญัติ การอ้างว่า อนุญาตทำได้และผลบุญถึงผู้ตาย มันคือ ความเห็นที่มาจากการวินิจฉัยหรือ อิจญติฮาดของอุลามาอฺ มันคือ คำสอนที่มาจากความเห็น ไม่ใช่วะหยูของอัลลอฮ ที่ผ่านท่านนบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ เมื่อไม่ใช่วะหยู หรือ สิ่งที่ศาสนาบัญญัติไว้ ใครหรือจะรับรองหรือการันตีว่าได้บุญ ในเมื่อผู้ที่เป็นผู้ให้บุญคืออัลลอฮไม่ได้สั่งไว้ และศาสนทูตของเจ้าของบุญ ไม่ได้ทำแบบอย่างไว้
ส่วนวาทกรรมที่มักอ้างว่า "นบีไม่ทำก็ไม่ได้หมายถึงการห้าม" เป็นวาทะกรรมที่มาจากการคิดเห็นตามอารมณ์ เพราะหลักการในเรื่องอิบาดะฮนั้น อิบนุหะญัร ซึ่งเป็นอุลามาอฺในมัซฮับชาฟิอีเองกล่าวถึงหลักการนี้ว่า
اَلْأَصْلَ فِي اَلْعِبَادَةِ اَلتَّوَقُّف
หลักเดิมในเรื่องอิบาดะฮนั้น คือ การหยุดอยู่ที่คำสั่ง -ฟัตหุ้ลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 174
เรื่อง อิบาดะฮในอิสลาม ต้องมีตัวบทที่เป็นคำสั่งจากอักุรอ่านและอัสสุนนะฮ
الأعمال الدينية لا يجوز أن يتخذ شيء منها سببا إلا أن تكون مشروعة فإن العبادات مبناها على التوقيف
บรรดาการงานที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ไม่อนุญาตให้สิ่งใดๆจากมันถูกเอามาเป็น มูลเหตุ(ให้กระทำ)นอกจาก มันเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ เพราะแท้จริงบรรดาอิบาดะฮนั้นรากฐานของมันถูกวางอยู่บนการรอคำสั่ง - อัลอาดาบอัชชัรอียะฮ ของอิบนุมุฟลิห เล่ม 2หน้า 265
เพราะฉะนั้น คนที่ไม่เห็นด้วย เขามีเหตุผลดังนี้
ท่านอิบนุบาซ(ร.ฮ) กล่าวว่า
"
أما قراءة القرآن فقد اختلف العلماء في وصول ثوابها إلى الميت على قولين لأهل العلم ، والأرجح أنها لا تصل لعدم الدليل ؛ لأن الرسول صلى الله عليه وسلم لم يفعلها لأمواته من المسلمين كبناته اللاتي مُتْن في حياته عليه الصلاة والسلام ، ولم يفعلها الصحابة رضي الله عنهم وأرضاهم فيما علمنا ، فالأولى للمؤمن أن يترك ذلك ولا يقرأ للموتى ولا للأحياء ولا يصلي لهم ، وهكذا التطوع بالصوم عنهم ؛ لأن ذلك كله لا دليل عليه ، والأصل في العبادات التوقيف إلا ما ثبت عن الله سبحانه أو عن رسوله صلى الله عليه وسلم شرعيته . أما الصدقة فتنفع الحي والميت بإجماع المسلمين ، وهكذا الدعاء ينفع الحي والميت بإجماع المسلمين
สำหรับการอ่านอัลกุรอ่านนั้น บรรดานักวิชาการเห็นต่างกัน เกี่ยวกับการที่ผลบุญของมันถึงผู้ตาย
บนสองทัศนะ และที่มีน้ำหนักที่สุด แท้จริง มันไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐาน ,เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่กระทำมัน แก่บรรดาผู้ตายของท่าน จากบรรดามุสลิม เช่น บรรดาบุตรสาวของท่าน ที่เสียชีวิต ในขณะที่ท่าน มีชีวิตอยู่ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ)ไม่ได้ทำมัน ตามที่เรารู้มา ดังนั้น ที่ดีที่สุด แก่ผู้ศรัทธา ให้ทิ้งดังกล่าวนั้น และเขาจะไม่อ่านให้แก่ผู้ตาย และไม่อ่านให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่ละหมาด(อุทิศบุญ)ให้แก่พวกเขา และ เช่นเดียวกันนี้ การอาสาถือศีลอดแทนพวกเขา เพราะดังกล่าวนั้น ทั้งหมด ไม่มีหลักฐาน บนมัน และหลักการ/รากฐาน ในเรื่องอิบาดาตนั้น หยุดอยู่ที่คำสั่งใช้ (อัตตเตากีฟ) ยกเว้น สิ่งที่ปรากฏยืนยันจากอัลลอฮ(ซ.บ)หรือ จากรอซูลของพระองค์ ได้บัญญัติมัน สำหรับการทำทาน(เศาะดะเกาะฮ) นั้น คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิม และในทำนองเดียวกันนี้ การดุอา คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิมเช่นกัน..
ดู มัจญมัวะฟะตาวาวะมะกอลาตเช็คบินบาซ เล่ม 4 หน้า 348
อัลหัยษะมีย์ ได้ฟัตวาว่า
الميت لا يقرأ عليه مبني على ما أطلقه المقدمون من أن القراءة لا تصله أي الميت لأن ثوابها للقارء. والثواب المرتب على عمل لا ينقل عن عامل ذلك العمل. قال اللهِ تعالى : وَأَن لّيْسَ لِلإِنسَانِ إِلاّ مَا سَعَى
มัยยิต จะไม่มีการอ่านอัลกุรอ่านให้แก่เขา โดยมันถูกวางรากฐานอยู่บนสิ่งที่บรรดาชนยุคก่อน ได้กล่าวมันเอาไว้อย่างกว้างๆว่า การอ่าน ไม่ถึงผู้ตาย เพราะผลบุญของมัน ได้แก่ผู้อ่าน และ ผลบุญนั้น ถูกวางระเบียบเอาไว้บนการกระทำ และจะโอนจากผู้กระทำการกระทำนั้นไม่ได้ อัลลอฮ ตะอาลาตรัสว่า
" แท้จริงมนุษย์จะไม่ได้รับ นอกจากสิ่งที่เขาขนขวายเท่านั้น " - ฟะตาวาอัลกุบรอ อัลฟิกฮียะฮ ของ อัลหัยษะมีย์ เล่ม 2 หน้า 9
เพราะฉะนั้น คนที่เขาไม่เห็นด้วย เพราะเขาตามสุนนะฮ นบี ศอ็ลฯ คือ หากท่านนบี ศอ็ลฯ ปฏิบัติเขาก็ปฏิบัติ และหากท่านนบี ศอ็ลฯ ไม่ปฏิบัติเขาก็ไม่ปฏิบัติ
อบูอัลมุซฟัรอัสสัมอานีย์กล่าวว่า
إذا ترك النبي صلى الله عليه وسلم شيئا من الأشياء وجب علينا متابعته فيه
เมื่อนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากบรรดาสิ่งต่างๆ ก็จำเป็นแก่เรา จะต้องเจริญรอยตามท่านนบีในสิ่งนั้น – เกาะวาเฏียะอัลอะดิลละฮ เล่ม 1 หน้า 311
สิ่งใดท่านนบีไม่ปฏิบัติ เราก็ไม่ปฏิบัติ แบบนี้เขาเรียกปฏิบัติตามสุนนะฮตัรกียะฮ
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม