มุสลิมกับการบริจาคเลือด


31,349 ผู้ชม

การบริจาคเลือดนั้นอนุญาตให้กระทำได้หรือไม่ มีคนเเย้งว่า เลือดเราอาจจะเข้าไปอยู่ในคนชั่ว ทำให้เราบาปด้วย เเละยังอ้างว่าอวัยวะของเราจะไปให้คนอื่นไม่ได้


1. การบริจาคเลือดนั้นอนุญาตให้กระทำได้หรือไม่ มีคนเเย้งว่า เลือดเราอาจจะเข้าไปอยู่ในคนชั่ว ทำให้เราบาปด้วย เเละยังอ้างว่าอวัยวะของเราจะไปให้คนอื่นไม่ได้ 

2. รับการให้เลือดนั้นอนุญาตให้รับได้หรือไม่ มีคนบอกว่าเขาเกิดอุบัติเหตุเสียเลือด หมอจะทำการให้เลือดเเต่เขาปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า อาจเป็นเลือดของกาฟิร ซึ่งสกปรกเพราะกาเฟรกินของสกปรก 


มุสลิมกับการบริจาคเลือด

อิสลาม เป็นศาสนาที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเอื้อเฟื้อแบบทางตรงกับมุสลิมและแบบทางอ้อมกับกาเฟร(คนที่ไม่ใช่มุสลิม)  ดังนั้น การบริจาคเลือดนั้นอนุญาตให้กระทำได้  แต่ไม่อนุญาตให้ขาย  คำว่า  เลือดนั้น  เป็นส่วนอภัยวะของร่างกายที่ไม่คงที่คือจะมีปริมาณที่เพิ่มและลดและร่างกายจะผลิตขึ้นมาทุกวัน  ซึ่งไม่เหมือนกับส่วนอวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  เช่น  สองมือหรือสองเท้า  เป็นต้น  ดังนั้น  เราจะบอกว่าเอาอวัยวะที่เป็นเลือดไปให้คนอื่นโดยเปรียบเทียบกับอวัยวะแขนหรือขานั้นไม่ได้
การที่มุสลิมคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุเสียเลือดมาก  แล้วปฏิเสธการบริจาคเลือดจากกาเฟรโดยเชื่อว่า เลือดกาเฟรสกปรกเพราะกินของสกปรกนั้น  ถือเป็นความเข้าใจที่ผิดต่อเจตนารมณ์ของอิสลาม  เพราะหากเราเชื่อว่าเขาเป็นมนุษย์  แน่นอนว่าอัลเลาะฮ์ทรงให้เกียรติมนุษย์ 
พระทรงตรัสความว่า
وَلَقَدْ كَرَّمْنَا بَنِي آدَمَ 
"แท้จริง เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานอาดัม" อัลอิสรออฺ : 70
แต่ถ้าหากตามทัศนะนิกายของชีอะฮ์อิมาม 12 นั้น  พวกเขาเชื่อว่ากาเฟรเป็นนะยิสสกปรกครับ  
ส่วนกรณีการบริจาคเลือดให้แก่คนกาเฟรนั้น  เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้และได้ผลบุญด้วย  แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ใช่กาเฟรที่เป็นคู่สงครามหรือทำการต่อต้านเรา  
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า
لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ
"อัลลอฮ์มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม" อัลมุมตะฮินะฮ์ : 8
ดังนั้น  การบริจาคเลือด  หากเป็นการช่วยชีวิตมนุษย์คนหนึ่งให้รอดพ้นจากความตายหรือการเจ็บป่วย  และบรรดาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้การรับรองว่า  การบริจาคเลือดนั้นไม่เป็นโทษแก่ผู้บริจาค  ไม่มีผลกระทบต่อชีวิต  สุขภาพของร่างกาย  และต่อการทำงาน  ก็ถือว่าไม่มีข้อห้ามใด ๆ ที่จะผ่อนปรนให้ทำการบริจาค  เพราะสิ่งดังกล่าวนั้นถือเป็นสิ่งที่อนุญาตตามหลักของศาสนาเนื่องจากเป็นการเสียสละช่วยชีวติผู้อื่น  ดังที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ความว่า
 وَيُؤْثِرُونَ عَلَى أَنفُسِهِمْ وَلَوْ كَانَ بِهِمْ خَصَاصَةٌ وَمَن يُوقَ شُحَّ نَفْسِهِ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
"และพวกเขาได้ให้ความสำคัญ(เสียสละให้)แก่พวกเขา  เหนือกว่าตัวของพวกเขาเองและมาตร์แม้นว่าพวกเขาจะประสบความขัดสนสักปานใดก็ตาม  และผู้ใดที่ระงับความละโมบของตัวเองให้ได้ (ทั้งที่เขามีความต้องการสิ่งนั้น) แน่นอนพวกเขาย่อมเป็นผู้สมหวังโดยแท้จริง" อัลอัซรุ : 19
ท่านชัยค์ ด๊อกเตอร์ อะลี ญุมอะฮ์  มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ ได้วางเงื่อนไขการบริจาคเลือดไว้  ดังต่อไปนี้
1. ต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดขณะที่ทำการบริจาค  เช่น  มีบุคคลบางส่วนมีความต้องการปริมาณของเลือดอย่างยิ่งยวดเพื่อกอบกู้ชีวิตของพวกเขาจากความเสียหายและความตาย  เช่น  เกิดจากอุบัติเหตุหรือเพื่อการผ่าตัด  เป็นต้น
2. การบริจาคเลือดต้องมีผลประโยชน์ที่แน่ชัดตามทัศนะของแพทย์และต้องไม่เกิดโทษแก่ผู้ที่บริจาค
3. การบริจาคเลือดต้องไม่ทำให้เกิดโทษต่อผู้บริจาค  ไม่ว่าจะเกิดโทษต่อร่างกายโดยรวมหรือว่าบางส่วนก็ตาม  หรือต้องไม่ทำให้ลดหย่อนสมถภาพในการดำเนินชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจ  หรือต้องไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อผู้บริจาคทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วยการยืนยันที่แน่นอนทางการแพทย์
4. ต้องแน่ชัดว่าจากการตรวจสอบทางการแพทย์ว่า  เลือดต้องไม่ติดโรคหรือทำให้เกิดโทษต่อมนุษย์คนอื่น  
5. ผู้บริจาคเลือดต้องมีคุณสมบัติพร้อม  คือ  ต้องบรรลุศาสนภาวะ  มีสติปัญญาสมบูรณ์  

www.sunnahstudent.com