พาเด็กเล็กไปมัสญิดได้ไหม?
มาฟังคำตอบจาก ชัยคฺ อัลบานียฺ กัน
ผู้ถาม: โอ้...ชัยคฺของเรา บางทีมีเด็กเล็ก ที่ยังไม่ถึงวัยที่สามารถแยกแยะได้(ยังไม่พ้น อะกิล บะลิฆ) ขอตามมาที่มัสยิดเพื่อละหมาด อะไรคือหุก่มของเรื่องนี้? พ่อจะสามารถอนุญาตให้เขาไป ทั้งๆที่เขายังไม่ถึงวัยที่จะแยกแยะอะไรได้หรือไม่? แล้วอนุญาตให้ละหมาดที่มัสญิดกับพ่อได้หรือไม่?
ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ ตอบว่า: ฉันคิดว่า คุณควรถามว่า มันเป็นที่อนุญาตแก่พ่อ ที่จะพาเขาไป โดยที่ลูกไม่ได้ขอ
ผู้ถาม: ไม่ ในทัศนะของผม เขาพาลูกไปไม่ได้ ถ้าลูกยังอายุไม่ถึง 7 ขวบ...
ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ: ฉันคิดว่าคุณบอกว่า: มันเป็นที่อนุญาตหรือไม่ที่พ่อจะพาลูกไปยังมัสญิด โดยลูกไม่ได้ร้องขอที่จะไป แล้วคุณคิดยังไง มันเป็นที่อนุญาตหรือไม่?
ผู้ถาม: ไปละหมาด หรือไปมัสญิดเฉยๆ?
ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ: เลือกเอาที่คุณชอบ
ผู้ถาม: ถ้าเพื่อไปละหมาด...(เริ่มพูดตะกุกตะกัก)...อื่นๆ...
ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ: พาเขาไปมัสญิดเพื่อละหมาดมันไม่ดีกว่าสิ่งอื่นหรอกหรือ?
ผู้ถาม: แต่เขาอายุน้อยกว่า 7 ขวบ...
ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ: นี่คือสิ่งที่เราจะมาเสวนากัน
ผู้ถาม: ครับๆ
ชัยคฺ อัล-อัลบานียฺ: คุณรู้ไหม โอ้...อุษตาซ ว่าสะลัฟในยุคแรก หัวหน้าของพวกเขาคือนบีของเรา ﷺ เคยอนุญาตให้พวกเขาพาเด็กๆเข้ามัสญิดของท่าน ﷺ
และคุณจำได้ไหม เรื่องราวของศอหาบะฮฺท่านหนึ่งที่รายงานว่า วันหนึ่งเขาได้ละหมาดอัสรฺ ตามหลังท่านนบี ﷺ และท่านรอซูลุลลอฮฺ ﷺ ได้สุญูดนานมากในบางร็อกอะฮฺ และมันไม่ใช่ละหมาดสุหนัต ดังนั้น ศอหาบะฮฺของท่านจึงเงยหน้าขึ้นมาดูว่าท่านนบี ﷺ ยังสบายดี เขากลัวว่าท่านจะเสียชีวิตขณะสุญูด แล้วเขาก็ประหลาดใจที่พบว่า อัล-หะสัน และอัล-หุซัยนฺ ... แล้วศอหาบะฮฺก็รู้สึกสบายใจ และลงไปสุญูดต่อ
หลังจากที่ท่านนบี ﷺ ให้สลามจบการละหมาด พวกเขาถามท่านว่า "โอ้...รอซูลุลลอฮฺ! ท่านสุญูดในละหมาดนานมาก..." แล้วท่านนบี ﷺ ก็ตอบว่า: "ลูกๆของฉันขี่หลังฉันอยู่ และฉันไม่อยากจะรบกวนพวกเขา..." เด็กเหล่านี้เคยไปที่มัสญิดเพื่อละหมาด อย่างที่คุณบอก มันไม่ใช่วัยที่จะแยกแยะอะไร
จงจำไว้ว่า บรรดาผู้ที่ละหมาด ไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิง ที่ไม่พาลูกๆของเขามาที่มัสญิด มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากทางนำของท่านนบี ﷺ
ในความเป็นจริง มีคนเคยใช้พวกเขาให้ทำแบบนี้ โดยอาศัยหะดีษที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่สายรายงานของมัน ไม่ศอฮีหฺ "จงเก็บทารกของท่าน คนบ้าของท่าน คนชั่วของท่าน และการซื้อขายของท่าน ให้ห่างไกลจากมัสญิดของท่าน..." แม้ว่า ส่วนท้ายของหะดีษจะศอฮีหฺ โดยการพิสูจน์ของนักหะดีษท่านอื่นๆ มันจะไม่ถูกซ่อนจากท่าน อินชาอัลลอฮฺ
ประเด็นเริ่มต้นขึ้น ท่านนบี ﷺ ไม่เคยห้ามพาเด็กๆไปมัสญิด แท้จริง ท่านเคยอนุญาต แท้จริง ท่านมีหุก่มพิเศษในเรื่องนี้ เมื่อท่านรับรู้ถึงความรู้สึกของมารดา ที่ละหมาดตามหลังท่าน และบรรดาเด็กๆก็เริ่มร้อง ท่านนบี ﷺ ในขณะที่ท่านกำลังเรียกร้องไปสู่พระเจ้าของท่าน คุณควรจดข้อเท็จจริงที่ว่า มันมีผู้หญิงละหมาดตามหลังท่าน ในขณะที่ลูกๆของนางอยู่กับนาง แล้ว "ฉัน(ท่านนบี ﷺ)ยืนละหมาด จากนั้น ฉันได้ยินเสียงเด็กร้อง ดังนั้น ฉันจึงทำให้การละหมาดของฉันสั้นลง เพราะว่าฉันไม่ต้องการที่จะให้เกิดความลำบากแก่แม่ของพวกเขา"
ฉะนั้น ท่านเคยอ่านกุรอ่านสั้นๆ นี่คือพฤติกรรมของท่านนบี ﷺ เพื่อที่จะปล่อยให้มารดาไปดูแลลูกๆของนาง ท่าน ﷺ ไม่เคยทำดั่งที่มีอิม่ามโง่ๆหลายคนทำ และกล่าวว่า: "ทำไมเจ้าเอาลูกของเจ้ามาในมัสญิด มันรบกวนเรา" และอื่นๆ ท่านนบี ﷺ ไม่เคยทำอะไรแบบนี้
จากตรงนี้ มันเหมาะสมที่เด็กๆ จะโตมาในบรรยากาศของอิสลาม และไปที่มัสญิด แม้ว่าจะเพียงแค่ไปเล่นสนุก แม้ว่าจะเพียงแค่เล่นสนุก ถ้าเขาขอจะไปกับพ่อของเขาที่มัสญิด ก็ให้พ่อของเขาตอบรับคำขอ มันเป็นสถานที่ที่ดีกว่าที่อื่นๆ ดั่งที่ท่านนบี ﷺ เคยถูกถามว่า: "สถานที่ไหนดีที่สุดและสถานที่ไหนเลวที่สุด?" และท่าน ﷺ ตอบว่า: "สถานที่ที่ดีที่สุดคือมัสญิด และสถานที่ที่เลวที่สุดคือตลาด"
ดังนั้น ถ้าเด็กได้เติบโตมาเช่นนี้ และจากนั้นเขามีความต้องการที่จะไปมัสญิด มากกว่าเดินตามท้องถนนหรือหุบเขา นี่คือบะรอกะฮฺและข่าวดีที่ดีเลิศ
ดังนั้น พ่อ รวมถึงแม่ ควรจะเล่งเห็นประโยชน์จากสถานการณ์นี้ และช่วยให้เขาได้ไปมัสญิดอย่างสะดวก ดังนั้นถ้าเด็กๆ และไม่เป็นที่ต้องสงสัยว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น เช่น ทำบางอย่างในขณะละหมาด หรือเล่นกันในขณะละหมาด และสิ่งที่เกิดกับหัวหน้าของมนุษยชาติ ﷺ ประสบเช่นบางครั้งปีนขึ้นไปขี่หลัง(อย่างท่านหะสัน-หุซัยนฺทำ) และท่าน ﷺ ก็ไม่เคยดุด่าว่าพวกเขา แต่แท้จริง ท่านได้นำพาหุก่มพิเศษมา(การสุญูดนาน) เช่นเดียวกับที่ฉันได้บอกไป ท่าน ﷺ ละหมาดสั้นๆ เมื่อตอนที่ได้ยินเสียงเด็กร้อง
ถ้าเป็นทุกวันนี้ คงมีการกระโกนด่ามาจากทุกมุมของมัสญิด "ท่านทำให้การละหมาดของเรายาวนานเกินไป โอ้...ชัยคฺ...เด็ก ทำไมท่านพาเด็กเข้ามาในมัสญิด?"
พวกเขาไม่รู้จักทางนำของรอซูลุลลอฮฺ ﷺ พวกเขาไม่รู้ถึงความเมตตาและความโอบอ้อมที่มีต่ออุมมะฮฺของท่าน และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ตรัสจริง เมื่อพระองค์ได้ตรัสว่า
بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَّحِيمٌ
"...เป็นผุ้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา" (อัต-เตาบะฮฺ: 128)
สรุปจากเทปเสียง ซิลซิละตุล-ฮุดา วัน-นูรฺ 668Cr.Müstafa Süleymani
ที่มา: ข่าวสารมุสลิม
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์