ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์


9,307 ผู้ชม

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ หลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์อย่างเป็นทางการ เจ้าหน้าที่จึงนำผ้าคลุมกะบะห์ลง ให้เป็นไปตามปกติ


ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำฮัจญ์ คือ การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะห์ ตามวันเวลา และสถานที่ต่างๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ

ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่ซาอุดีอาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือ การตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินฮะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของฮัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินฮะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในเดือนซุลฮิจญะหฺ (เริ่มต้นจากวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10) ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 9 (วันแรม 9 ค่ำเดือน10)

แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป

ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ  ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงคือ วันใหญ่ 

นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม

การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ

จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ หลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์อย่างเป็นทางการ เจ้าหน้าที่จึงนำผ้าคลุมกะบะห์ลง ให้เป็นไปตามปกติ

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ประมวลภาพ ทำความสะอาดกะบะห์ ภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลฮัจย์

ขอขอบคุณภาพจาก: Makkawi News and Business

อัพเดทล่าสุด