รายอฮัจยี วันอีดิ้ลอัฎฮา หรือรายอกุรบาน เป็นวันที่ประชาชาติอิสลามร่วมเฉลิมฉลองพร้อมกันกับวันที่พี่น้องประชาชาติอิสลามทั่วโลกประกอบพิธีฮัจย์...
รายอฮัจยีนับยังไง วันรายอฮัจยี 2563 ตรงกับวันที่เท่าไร?
รายอฮัจยีนับยังไง ถัดจากวันอีดิ้ลฟิตริ ไปอีก 2 เดือน 10 วัน โดยอ้างอิงจากปฏิทินจันทรคติแบบเดิม จะมีงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่อีกครั้ง เรียกว่า “วันอีดิ้ลอัฎฮา” ซึ่งตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮฺ
เป็นเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม โดยในวันดังกล่าวจะตรงกับช่วงเวลา ที่มุสลิมทั่วโลกเดินทางไปทำฮัจญ์ ณ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกกันว่า “วันรายอฮัจยี” “วันอีดใหญ่” หรือ “ฮารีรายอกุรบาน” ทั้งนี้ เนื่องจากสิ่งสำคัญที่มุสลิมต้องทำเนื่องใน วันอีดิ้ลอัฎฮา คือ การเชือดสัตว์เพื่อเป็นพลีทาน หรือทำกุรบาน สำหรับผู้ที่มีกำลังความสามารถ หรือมีทุนทรัพย์มากพอ
วันรายอฮัจยี 2563 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยประมาณ
รายอฮัจยี วันอีดิ้ลอัฎฮา หรือรายอกุรบาน เป็นวันที่ประชาชาติอิสลามร่วมเฉลิมฉลองพร้อมกันกับวันที่พี่น้องประชาชาติอิสลามทั่วโลกประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะห์ ประเทศศาอุดีอาราเบีย
ด้วยการกล่าวตักบีร ละหมาด และกุรบาน(เชือดสัตว์เพื่อนำเนื้อมารับประทานและแบ่งปัน) เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาและความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า(องค์อัลลอฮฺ) และรำลึกถึงประวัติของท่านศาสดาอิบรอฮิมอาลัยฮิสสาลาม และครอบครัวที่เสียสละเพื่อเชิดชูคำสั่งองค์อัลลอฮฺ
แม้ว่าการเสียสละนั้นเป็นเพียงการทดสอบที่มีค่ายิ่งต่อประชาชาติอิสลาม ที่องค์อัลลอฮฺได้ทรงประทานปัจจัยยังชีพและคุณประโยชน์อื่นๆที่ไม่สมารถคำนวณได้ ดังที่พระองค์ได้ประทานไว้ในคำภีร์อัลกุรอาน : ซูเราะห์ อัลบะเกาะเราะห์ อายะฮฺที่ 28
ความว่า : พวกเจ้าจะฝืนคำสั่งอัลลอฮฺได้อย่างไร ในขณะที่พวกเจ้ายังไม่มีชีวิตนั้นพระองค์ได้ทรงให้เจ้ามีชีวิต ต่อมาก็ให้เสียชีวิต ต่อมาก็ให้ฟื้นคืนชีพและไปพบพระองค์ผู้ทรงสร้าง
รายอฮัจยี มีความหมาย ลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ในคุณค่าของมัน ซึ่งได้ฝังลึกอยู่ในจิตสำนึกของมวลมนุษยชนชาวมุสลิมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
เช้าตรู่วันรายอฮัจยี (นับจากวันรายาอีดิ้ลฟิตริ 100 วัน ) เป็นวันประกอบศาสนกิจเช่นเดียวกันกับวันรายาอีดิ้ลฟิตริ ต่างกันที่รายอฮัจยี ไม่มีการจ่ายซากาต แต่จะมีการเชือดกุรบาน ฆ่าสัตวจำพวก อูฐ โค กระบือ แพะ แกะฯ เป็นการแสดงออกถึงการศรัทธาและความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า(องค์อัลลอฮฺ) และรำลึกถึงประวัติของ ท่านศาสดาอิบรอฮิมอาลัยฮิซสามามและครอบครัว
เมื่อเสร็จสิ้นการประกอบศาสนกิจร่วมกัน ก็จะมีพิธีการทำกุรบาน เพื่อนำเนื้อสัตว์ที่เชือดมาเป็นอาหารและแจกจ่าย
“กุรบาน” คือ การเชือดสัตว์ซึ่งได้แก่ แพะ แกะ วัว หรืออูฐ แจกจ่ายแก่ครอบครัว เครือญาติ ผู้ขัดสน หรือสังคม โดยสัตว์ที่นำมาเชือดจะต้องมีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่พิการ หรือมีตำหนิที่น่ารังเกียจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของนบีอิรอฮีม ซึ่งเป็นศาสดาที่สำคัญอีกท่านหนึ่งของศาสนาอิสลาม ผู้ซึ่งเคยถูกพระองค์อัลลอฮฺทดสอบจิตใจ และความศรัทธาของพระองค์โดยการใช้ให้เชือดบุตรชายอันเป็นที่รัก
ประวัติศาสตร์อิสลาม เล่าว่า นบีอิบรอฮีมนั้นอายุมากแล้ว ประกอบกับแต่งงานมาหลายปีแล้วก็ยังไม่มีบุตร ท่านจึงได้วิงวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺให้ประทานบุตรชายที่ดีให้แก่ท่านคนหนึ่ง ต่อมา เมื่อท่านแต่งงานกับนางฮาญัรนางได้คลอดบุตรชายคนหนึ่งตั้งชื่อว่า อิสมาอีล (ซึ่งต่อมาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสดาของศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน)
นบีอิบรอฮีมรัก และเอ็นดูบุตรชายคนนี้ของท่านอย่างหาที่เปรียบมิได้ต่อมาพระองค์อัลลอฮฺก็ได้มีบัญชาใช้ให้นบีอิบรอฮีมเชือดบุตรชายสุดที่รักของท่านเพื่อความพึงพอพระทัยของพระองค์ พระบัญชาดังกล่าวถือเป็นบททดสอบครั้งยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อนบีอิบรอฮีม หลังจากท่านได้ผ่านบททดสอบหนักหนาสาหัสมามากมาย แต่ไม่มีครั้งใดที่ยากยิ่งไปกว่าครั้งนี้
นบีอิบรอฮีมจึงเรียกบุตรชายของพระองค์มาหาและเล่าคำบัญชาใช้ของพระเจ้าให้ฟังอิสมาอีล บุตรชายของท่านตอบว่า “คุณพ่อครับอะไรก็ตามที่พ่อถูกบัญชาให้ทำพ่อจงทำหากเป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺ แล้วพ่อจะเห็นว่าฉันคือผู้อดทน” ได้ยินดังนั้น นบีอิบรอฮีมจึงพาบุตรชายออกเดินทางไกล โดยมีเจตนาแน่วแน่ว่าจะเชือดพลีบุตรชายตามพระบัญชาโดยที่ อิสลาอีลบุตรชายสุดที่รักของท่านก็เห็นด้วย และยินดีที่จะพลีตนเองสนองต่อพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า
ระหว่างทางที่นบีอิบรอฮีมนำบุตรชายเดินทางไปเพื่อเชือดพลีก็มีมารร้ายพยายามยุแหย่ให้ไขว้เขว ไม่ให้ปฏิบัติตามคำบัญชา ท่านจึงใช้ก้อนหินขว้างมัน สักครู่หนึ่งมันก็กลับมายุแหย่รังควานท่านอีก ท่านจึงใช้ก้อนหินขว้างมันอีก มารร้ายจึงได้หลบหนีไป และเหตุการณ์ใช้หินขว้างมารร้ายนี้ก็เป็นที่มาของการขว้างเสาหินในขั้นตอนของการประกอบพิธีฮัจญ์
ปรากฏว่า เมื่อมาถึงสถานที่เชือด หลังจากนบีอิบรอฮีมได้ให้บุตรชายนอนลง และวางคมมีดลงบนคอของลูกน้อยหมายจะเชือด ก็ได้มีบัญชาจากพระองค์อัลลอฮฺว่า พระองค์ได้เห็นเจตนาที่แท้จริงที่นบีอิบรอฮีมต้องการจะเชือดพลีบุตรชายแล้ว ดังนั้น พระองค์จะตอบแทนความดีงามให้ และแท้จริงนี่เป็นเพียงบททดสอบจึงสั่งให้ท่านปล่อยตัวบุตรชายเป็นอิสระทั้งนี้พระองค์ทรงได้ให้ค่าตัวเขาด้วยการเชือดพลีอันยิ่งใหญ่ จากนั้นก็ได้ให้นบีอิบรอฮีมเชือดแกะแทนการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของท่าน
การเชือดสัตว์ หรือทำ “กุรบาน” เพื่อแจกจ่ายเนื่องในวันอีดิ้ลอัฎฮานี้ นอกจากจะเป็นการระลึกถึงการเสียสละ และความศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮฺอย่างล้นพ้นของนบีอิบรอฮีมแล้ว ยังถือเป็นการแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์อัลลอฮฺ และขัดเกลาจิตใจมุสลิมให้รู้จักเสียสละ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อีกด้วย
สัตว์ที่ใช้ทำกุรบ่าน คือ อูฐ วัว ควาย แพะ แกะ กีบัช อูฐ ต้องมีอายุ 5 ปีบริบูรณ์ ใช้ทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน ดังนั้น จึงรวมกันทำ 7 คน/อูฐตัวเดียวก็ได้ หรือจะทำคนเดียวก็ยิ่งดี
วัว ควาย ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทำกุรบ่านได้ 7 ส่วน
แพะ ต้องมีอายุ 2 ปีบริบูรณ์ ทำกุรบ่านได้ 1 ส่วน
แกะและกิบัช ต้องมีอายุ 1 ปีบริบูรณ์ หรือเปลี่ยนฟันแล้ว ทำกุรบ่านได้ 1 ส่วน
สัตว์จะทำกุรบ่าน ต้องอ้วนสมบูรณ์ปราศจากสิ่งตำหนิหรือโรค ควรมีลักษณะสวยงามสง่า
สัตว์ที่ห้ามทำกุรบ่านไม่ได้ ได้แก่ สัตว์ที่เป็นโรค หรือพิการหรือไม่สมประกอบ เช่น ตาบอด หูแหว่ง เขาหัก ไม่มีฟัน แคระแก่น มีท้อง
เนื้อสัตว์ที่ทำกุรบ่านนั้น ให้แจกจ่ายแก่คนยากจนและเพื่อนบ้าน ควรเก็บไว้กินเองเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนี่คือภาพรวมของภารกิจหรือวิถีมุสลิมภาคใต้กับเดือนซุลหิญญะฮฺ(เดือนแห่งการทำฮัจญ์)
พิธีการทางศาสนาที่สำคัญเนื่องในวันอีดทั้ง 2 วัน คือ การละหมาดวันอีด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ไม่บังคับ หมายถึงถ้าปฏิบัติก็จะได้รับผลบุญ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มีความผิดบาป เป็นการละหมาดในช่วงเช้าของวันอีด เพื่อขอพรให้พระองค์อัลลอฮฺประทานความจำเริญแก่ชีวิต พร้อมทั้งขออภัยโทษในความผิดบาปต่างๆ นานาด้วย ทั้งนี้ มุสลิมส่วนใหญ่มักจะนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเองเพื่อเฉลิมฉลองวันอีดร่วมกับครอบครัว และญาติพี่น้อง รวมทั้งเพื่อขอขมาลาโทษซึ่งกันและกัน และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือที่สะอาดสวยงาม
“วันอีด” จึงถือเป็นวันรวมญาติครั้งยิ่งใหญ่ของพี่น้องมุสลิม โดยหลังจากละหมาดอีดในช่วงเช้าแล้ว จะมีการเลี้ยงอาหารเพื่อสังสรรค์กันในครอบครัว หรือเลี้ยงอาหารแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งมอบของขวัญ ของกำนัลแก่กันด้วย ทั้งในรูปของขนม สิ่งของต่างๆ และเงิน เช่นเดียวกับอั่งเปาของชาวจีน นอกจากนี้ ก็ยังนิยมเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือไปเยี่ยมญาติตามต่างจังหวัด เพื่อแสดงความรักความห่วงใยที่มีต่อกัน และกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น