สามีทำกับข้าวแทนภรรยา มีความผิดหรือไม่?


3,093 ผู้ชม

สามีทำกับข้าวแทนภรรยา ภรรยามีความผิดหรือไม่คะ?


สามีทำกับข้าวแทนภรรยา ภรรยามีความผิดหรือไม่คะ?

ตอบโดย: อ.มุรีด ทิมะเสน

จริงอยู่ การทำกับข้าว หรือปรุงอาหารจะต้องเป็นหน้าที่ของภรรยา ทว่าสามีสามารถช่วยเป็นลูกมือทำอาหารร่วมกับภรรยาได้ หรือสามีเป็นผู้ปรุงอาหารเพียงคนเดียวก็ได้เช่นกัน เพราะเรื่องการปรุงอาหารเป็นเรื่องภายในครอบครัวที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมช่วยกันอยู่แล้ว

ซึ่งท่านนบีเองก็ช่วยเหลืองานบ้านเช่นกัน เอาเข้าจริงการที่สามีช่วยเหลืองานบ้านแบ่งเบาภาระของภรรยา ไม่ว่าจะปรุงอาหาร หรือช่วยเหลือด้านอื่น ล้วนถือเป็นแนวทางซึ่งอิสลามส่งเสริมให้กระทำทั้งสิ้น

ดังนั้น ภรรยาจึงไม่มีความผิดแต่อย่างใด อีกทั้งสามียังได้ผลบุญอีกด้วย เพราะเดินตามแนวทางของท่านนบี

ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า

سُئِلْتُ مَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعْمَلُ فِي بَيْتِهِ؟ قَالَتْ: «كَانَ بَشَرًا مِنَ الْبَشَرِ يَفْلِي ثَوْبَهُ، وَيَحْلُبُ شَاتَهُ، وَيَخْدُمُ نَفْسَهُ»

“ฉันถูกถามเกี่ยวกับท่านรสูลุลลอฮฺทำอะไรในบ้านบ้าง? ฉันตอบว่า ท่านรสูลก็เป็นเฉกเช่นปุถุชนสามัญทั่วไปนั่นหละ ท่านซักผ้าเอง, รีดนมแพะเอง และท่านก็บริการให้แก่ตัวท่านเอง (คือไม่มีคนรับใช้ทำแทนให้)” [หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 26194]

ท่านอัสวัดเล่าว่า

سَأَلْتُ عَائِشَةَ مَا كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصْنَعُ فِي بَيْتِهِ؟ قَالَتْ: «كَانَ يَكُونُ فِي مِهْنَةِ أَهْلِهِ - تَعْنِي خِدْمَةَ أَهْلِهِ - فَإِذَا حَضَرَتِ الصَّلاَةُ خَرَجَ إِلَى الصَّلاَةِ»

“ฉันถามท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า ท่านนบีทำอะไรในบ้านของท่านบ้าง? นางตอบว่า ปรากฏว่าท่านนบีนั้นช่วยเหลือ และบริการคนในครอบครัวของท่าน ครั้นเมื่อได้เวลานมาซ ท่านก็จะออกไปนมาซ” [หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 676]

(วัลลอฮุอะอฺลัม)

อัพเดทล่าสุด