เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ต้องทำอย่างไร? ความสำคัญของฮัจย์ มีดังนี้...
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ต้องทำอย่างไร? ความสำคัญของฮัจย์
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ การเตรียมตัวไปประกอบพิธีฮัจย์ มีดังนี้
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ข้อที่1 สํารวจตนเอง เมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะต้องทําการเตาบะห์สํานึกตัวและกลับตัวกลับใจจากการทําความผิดนั้นด้วย เงื่อนไขต่อไปนี้
1.1 ถอนตัวออกจากความผิดที่ทําอยู่
1.2 ต้องเสียใจที่ทําความผิด ถึงขั้นร้องไห้ยิ่งเป็นการดี
1.3 ตัดสินใจเด็ดขาดว่าไม่กลับไปสู่ความผิดนั้นอีกต่อไป
หากความผิดที่ทําเป็นการละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลจะต้องส่งคืนสิทธิ์นั้นให้แก่ผู้เป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ข้อที่2 แสวงหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ด้วยปัจจัยที่บริสุทธิ์ (ฮะลาล)
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ข้อที่3 ตั้งเจตนาให้บริสุทธิ์ว่า เป็นการประกอบพิธีฮัจย์เพื่ออัลลอฮ์ ตาอาลา ไม่ใช่เพื่อชื่อเสียงหรือเพื่อรับคําชมเชย
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ข้อที่4 เลือกเพื่อนร่วมเดินทางที่ดี
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ด้านสัมภาระติดตัว
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อนำไปใช้จ่ายระหว่างอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท เพราะค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร เป็นต้น ได้ชำระกับผู้ประกอบการแล้ว การแลกเป็นเงินสกุลตอลลาร์สหรัฐฯโดยแลกเป็นเงินสดหรือเช็คเดินทาง สำหรับบัตรเครดิตทุกประเภทที่ทั่วโลกรับรองย่อมนำไปใช้ได้เช่นกัน
การนำเงินสกุลริยาลของซาอุดีอาระเบียติดตัวไปเป็นจำนวนมากอาจจะไม่สะดวก ด้วยเหตุว่าทางการซาอุดีอาระเบียเกรงว่าจะนำเงินปลอมเข้าประเทศ ส่วนเงินบาทไทยก็สามารถนำไปแลกในประเทศซาอุดีอาระเบียได้
2. อาหาร นำไปเฉพาะในจำเป็น ควรเป็นอาหารแห้ง และจัดใส่ภาชนะที่ตรวจสอบได้ง่าย ไม่ควรนำอาหารประเภทหมักดอง เช่น น้ำปลาหรือน้ำบูดู เพราะมีจำหน่ายในประเทศซาอุดีอาระเบียอยู่แล้ว
3. ยารักษาโรค ผู้ที่มีโรคประจำตัว จำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ ควรนำยาพร้อมใบรับรองการนำยาไปด้วย เพราะยาที่จะนำเข้าประเทศซาอุดีอาระเบียได้ จะต้องเป็นยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น (แบบใบรับรองการนำยา ขอได้จากผู้ประกอบการหรือแซะห์ที่สังกัด)
4. เครื่องแต่งกาย ผู้หญิงควรมีชุดแต่งกายมุสลิมะห์ (ปกปิดร่างกาย เว้นแต่ใบหน้าและฝ่ามือ) ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายของซาอุดีอาระเบีย ส่วนผู้ชายต้องมีชุดเอียะห์รอม (ได้แก่ ผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืน ห่ม 1 ผืน รองเท้าแตะ ย่าม และเข็มขัด ปีใดเทศกาลฮัจย์อยู่ในช่องฤดูหนาวก็ให้นำชุดกันหนาวไปด้วย
5. หนังสือคู่มือการประกอบพิธีฮัจย์ ควรนำติดตัวไปด้วย เพื่อช่วยทบทวนความจำในเรื่องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดปัญหาหลงลืม สับสน หรือเกิดความไม่แน่ใจในการประกอบศาสนกิจ และควรจะมีเพื่อนร่วมเดินทางที่สนิทเพื่อคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การประกอบพิธีฮัจย์เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนปรารถนา ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติศาสานากิจสมบูรณ์ก่อนเดินทางจะต้องเตาบัตร (ขอลุแก่โทษ) ในการกระทำผิดทุกชนิดต่ออัลเลาะห์ ไม่กู้หนี้ยืมสิน หากมีหนี้สินก็ต้องชำระให้เรียบร้อย พร้อมทั้งจัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่ครอบครัวอย่างพอเพียง ตลอดระยะเวลาที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และเพื่อให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยมีหลักประกันในการเดินทาง จะต้องเดินทางไปกับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการเท่านั้น
6. ประการสำคัญที่สุดที่รัฐบาลห่วงใยต่อผู้แสวงบุญ ทุกคนในการจัดกระเป๋าและสัมภาระต้องจัดกระเป๋าและสัมภาระด้วยตนเอง น้ำหนักสัมภาระไม่เกิน 30 กิโลกรัม หรือตามที่สายการบินกำหนด หากเกินผู้แสวงบุญต้องชำระเงินค่าน้ำหนักส่วนเกินประมาณกิโลกรัมละ 500 บาท และไม่ควรรับฝากของจากผู้อื่น หากตรวจพบสิ่งผิดกฎหมายอยู่ในสัมภาระของผู้ใด ตามกฎหมายผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อสิ่งของนั้น ๆ และหากมีความจำเป็นควรตรวจสอบสิ่งของเหล่านั้นให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้แสวงบุญเอง และพึงระลึกเสมอว่า ความผิดตามกฎหมายของประเทศซาอุดีอาระเบียในกรณีผู้นำยาเสพติดเข้าประเทศซาอุดีอาระเบียมีโทษประหารชีวิต
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ด้านสุขภาพ
1.ให้ทำความเข้าใจด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ตลอดจนความเป็นอยู่ การอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มาก การทำกิจวัตรประจำวันในขณะที่อยู่ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
2.เตรียมใจในเรื่องการที่จากบ้านและการจากครอบครัว
3.เตรียมความพร้อมให้แก่ครอบครัวเพื่อลดความวิตกกังวล
4.ศึกษาประสบการณ์จากผู้ที่เคยไปประกอบพิธีฮัจย์
5.กรณีเคยมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนไป
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ ด้านสุขภาพกาย
หลักปฏิบัติอย่างหนึ่งของศาสนาอิสลาม คือ การประกอบศาสานากิจหรือทำพิธีฮัจย์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮของทุก ๆ ปี จะมีมุสลิมทั่วโลกเดินทางพักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นเพื่อประกอบศาสนกิจ
ข้อมูลข่าวสารที่สื่อมวลชนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น ปัญหาการตาย การเจ็บป่วย บางคนอาการโรคประจำตัวกำเริบในขณะทำพิธีฯ บางคนก็ต้องนอนเจ็บป่วยอยู่ในที่พักอาศัย เนื่องจากอยู่ไกลจากหน่วยพยาบาล
ปัญหาดังกล่าวประเทศซาอุดีอาระเบียและหลาย ๆ ประเทศที่มีชาวมุสลิมเดินทางไปทำพิธีฮัจย์ ได้ร่วมมือช่วยเหลือกันป้องกัน แก้ไข ดูแล รักษาพยาบาล แต่ปัญหาการตายและการเจ็บป่วยยังคงมีอยู่ทุก ๆ ปี เนื่องจากไม่สามารถให้การดูแลได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงควรมีความตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
ประการที่ 1 การป้องกันการเกิดโรคหรือโรคประจำตัวกำเริบขณะประกอบพิธี
ก่อนอื่นท่านถามตัวเองก่อนว่า ท่านมีโรคประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคหอบหืด
- โรคปอดหรือหลอดลมอุดกั้น
- โรคไส้เลื่อน
- โรคไขมันในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
ถ้ามีควรปฏิบัติดังนี้
1. ไปพบแพทย์ที่รักษาอยู่ประจำเพื่อตรวจและแจ้งให้ทราบว่า ท่านต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์
2. ขอยาที่ใช้อยู่ประจำติดตัวไปในปริมาณที่เพียงพอจนถึงวันเดินทางกลับ
3. ขอให้แพทย์เขียนชื่อโรคและชื่อยาที่ใช้อยู่ประจำเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเจดดาห์
4. ต้องปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด สำหรับท่านที่ไม่แน่ใจว่าเป็นโรคเหล่านี้ ท่านมีพฤติกรรม หรือมีปัจจัยเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้หรือไม่
4. 1 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
4.2 มีน้ำหนักตัวเกินขนาดหรือเป็นคนอ้วน
4.3 สูบบุหรี่เป็นประจำ
4.4 คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน
4.5 คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
ถ้ามีควรปฏิบัติดังนี้
4.5.1 ไปตรวจเช็คสุขภาพที่โรงพยาบาลใกล้บ้านของท่าน เพื่อตรวจว่าท่านกำลังจะป่วยเป็นโรคที่อาจจะเป็นอันตรายได้
4.5.2 ถ้าหากป่วยควรรักษาตัวก่อนเดินทางและป้องกันอาการกำเริบขณะประกอบพิธี
สำหรับท่านที่ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่กล่าวมา ท่านเองก็มีความจำเป็นในการไปตรวจสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยในขีวิต เพราะในประเทศซาอุดีอาระเบีย อากาศจะแห้งและร้อนจัด มีโรคและเชื้อโรคแพร่กระจายอยู่ทั่วไป คนอาศัยอยู่หนาแน่นเป็นล้านคน บางครั้งอาจเกิดปัญหาโดยไม่คาดคิด
ประการที่ 2 ยาสามัญที่ควรติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน หรือเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย คือ
1.พลาสเตอร์ ยาดม ยาหม่อง ครีมกันแดด
2. ยาลดไข้
3. ยาแก้หวัดหรือแก้แพ้อากาศ
4. ยาแก้ท้องเสียหรือผงน้ำตาลเกลือแร่
5. ยาระบายหรือยาถ่าย
6. ยาแก้เมาเครื่องบินและเมารถ
ประการที่ 3 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นหรือไข้สมองอักเสบ (MENINGOCO CALMENINGITIS) ประเทศซาอุดีอาระเบียบังคับให้ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ทุกคนฉีดวัคซีนป้องกัน ถ้าไม่ฉีดจะถูกจับฉีดทันที และจะถูกกักบริเวณที่สนามบินเมืองเจดดาห์ การติดต่อของโรคนี้จะเข้าสู่ร่างกายระบบทางเดินหายใจ เช่น ปากและจมูก เมื่อได้รับเชื้อ ทำให้มีไข้สูงจัด เกิดอาการซักคอแห้ง หมดสติ แม้รักษาหายแล้วก็ยังมีอาการผิดปกติทางสมอง บางรายอาจซ็อคตาย วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนสามารถขอฉีดวัคซีนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง
ประการที่ 4 ร่างกายต้องแข็งแรงก่อนออกเดินทาง
การประกอบพิธีฮัจย์ในปีหนึ่ง ๆ ใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน ผู้ที่ไปต้องเดินทางด้วยเท้าในระยะไกล ๆ ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงพอจะทำให้เจ็บป่วยได้บ่อย ๆ จึงควรฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรงมีความอดทน
ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ ๆ และใส่เสื้อผ้าที่สะอาดทุกวัน
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฝึกออกกำลังกายด้วยการเดินและวิ่งทุก ๆ วัน
3. รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน
4. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
5. รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
6. ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
7. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส่อยู่เสมอ
ประการที่ 5 การระวังรักษาสุขภาพประจำวันระหว่างพำนักในเมืองมักกะห์หรือมะดีนะห์ ควรปฏิบัติดังนี้
1. ดื่มน้ำมาก ๆ และสม่ำเสมอ
2. ถ้าเสียเหงื่อมากจนร่างกายอ่อนเพลียหรือท้องเสีย ให้รับประทานผงน้ำตาลเกลือแร่ละลายน้ำดื่มให้มาก ๆ
3. เมื่อต้องออกจากบ้านพัก ควรกางร่มหรือใช้ผ้าขนหนูชุปน้ำแล้วคลุมศรีษะ เพื่อความชุ่มชื้นใช้ผ้าปิดปากและปิดจมูก เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าปากและจมูก
4. เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงหน้าหนาวของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งอากาศจะหนาวเย็นและมีลมแรง ควรเตรียมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และครีมทาป้องกันผิวหนังและริมฝีปาก
5. งดสูบบุหรี่ในห้องพักหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
6. ใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
7. เมื่อมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ การปฏิบัติตนตามแนวทางดังกล่าวจนเป็นนิสัยจะมีสุขภาพกายและจิตใจ ตลอดจนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์และมีความสุข
การปฏิบัติตนของผู้แสวงบุญขณะอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ในเทศกาลฮัจย์ผู้แสวงบุญที่ประเทศซาอุดีอาระเบียจะมีจำนวนมาก ผู้แสวงบุญทุกคนต้องระมัดระวังตนเองตลอดเวลา โดยปฏิบัติดังนี้
1. ให้ติดบัตรประจำตัวและสวมใส่เลสข้อมือตลอดเวลา
2. ไม่ควรออกจากห้องพักไปไหนคนเดียว หรือไปกับบุคคลที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
3. อย่าพยายามเข้าไปในที่ที่มีผู้คนอยู่หนาแน่นแออัด
4. ควรใช่ร่มกันแดดเพื่อป้องกันความร้อน และควรสวมเสื้อกันหนาวหรือเสื้อผ้าหนา ๆ เพื่อป้องกันลมหนาวหรืออากาศชื้น รวมทั้งควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
5. ควรใช้ครีมทาผิวและเท้าเพื่อป้องกันผิวแห้งและแตก
6. ต้องล้างภาชนะใส่อาหารให้สะอาด
7. ควรดื่มน้ำและกินผักผลไม้มาก ๆ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งไม่ควรออกกำลังโดยไม่จำเป็น
8. หากมีอาการป่วย ให้ติดต่อผู้นำกลุ่มหรือแซะห์ เพื่อไปพบแพทย์ที่หน่วยพยาบาลไทย
9. ให้ความร่วมมือปฏิบัติงานตามที่ผู้นำกลุ่มและเจ้าหน้าที่หน่วยพยาบาลไทยให้คำแนะนำโดยเคร่งครัด
เตรียมตัวไปทําฮัจย์ สัมภาระเดินทางกลับ
เมื่อถึงกำหนดการเดินทางกลับประเทศไทยผู้แสวงบุญควรปฏิบัติดังนี้
· สิ่งของทุกอย่างต้องบรรจุไว้ในกระเป๋าเดินทาง เนื้อสัตว์ที่มีกลิ่น ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบิน เสื้อผ้าและอาหารที่จะใช้ จะต้องแยกต่างหาก น้ำหนักสัมภาระรวมแล้วไม่เกิน 30 กิโลกรัม
· น้ำหนักสัมภาระที่เกินจะต้องเสียเงินเพิ่มประมาณ 500 บาทต่อกิโลกรัม
· ผู้ที่จะออกจากเมืองมักกะห์ วายิบตอวาฟวิดาอ์ ยกเว้น สุภาพสตรีที่มีเฮด (ประจำเดือน)
· ผู้ที่เดินทางกลับ ไม่ควรหิ้วกระเป๋าถือมากกว่า 1 ใบ สายการบินส่วนใหญ่อนุญาตให้นำน้ำซัมซัมคนละ 1แกลลอน ขนาด 5 ลิตร โดยจะต้องใส่ถุงพลาสติกปิดผนึก และสัมภาระทุกชิ้นจะต้องเขียนชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน
ความสำคัญของฮัจย์
ความสำคัญของฮัจย์ ฮัจย์ คือ รุก่นอิสลามข้อที่ 5 หลักปฎิบัติของอิสลาม
وَلِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا وَمَن كَفَرَ فَإِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ
ความว่า “เป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ที่จะกําหนดให้มนุษย์ไปทําพิธี ฮัจย์เฉพาะผู้ที่มีความสามารถเดินทางไปได้และผู้ใดทรยศ แน่แท้อัลลอฮ์ไม่ต้องพึ่งพาผู้ในในสากลโลก ” (ซูเราะห์ อาลิอิมรอน อายะห์ 97)
ท่านรอซูลุลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า “อิสลามถูกสร้างอยู่บน หลักห้าประการ คือ ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าที่ถูกสักการะโดยเที่ยง แท้เว้นแต่อัลลอฮ์เท่านั้น และแท้จริงมสําหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ดำรงละหมาด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีฮัจย์ และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน” รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติต่อเนื่องกันไประหว่างฮัจย์ และอุมเราะห์ เพราะทั้งสองจะขจัดความยากจนและบาปต่างๆออกไป เหมือนเตาหลอมที่จะขจัดสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในเหล็ก ทองคําและเงินให้ บริสุทธิ์ และฮัจย์มับรูร ไม่มีสิ่งใดตอบแทน นอกจากสวรรค์เท่านั้น” รายงานโดยติรมีซี และกล่าวว่าเป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์
ความประเสริฐของฮัจย์
ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า :
ความว่า “ฮัจย์มับรูร ไม่มีอะไรตอบแทนนอกจากสวรรค์ เท่านั้น” รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม
ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ได้กล่าวว่า ฮัจย์มับรูร คือ ฮัจย์ที่ผู้ประกอบพิธีไม่ได้ทําความผิดใดๆ
ความว่า : “ผู้ใดทําฮัจย์ โดยเขาไม่พูดคําหยาบ และไม่ละเมิด เขาจะหลุดพ้นออกจากบาปของเขา เหมือนวันที่มารดาคลอดเขา ออกมา” รายงานโดยบุคอรี่และมุสลิม
ที่มา: จากหนังสือ ฮัจญ์มับรูร โดย อ.อรุณ บุญชม , กรมการศาสนา