อยากทราบว่า เนื้อกุรบานสามารถแจกจ่ายให้แก่คนต่างศาสนิกได้หรือไม่ พร้อมด้วยหลักฐาน...
เนื้อกุรบานให้ต่างศาสนิกได้หรือไม่
อาจารย์ครับ อยากทราบว่า เนื้อกุรบานสามารถแจกจ่ายให้แก่คนต่างศาสนิกได้หรือไม่ พร้อมด้วยหลักฐาน
----------
เนื้อกุรบาน (อุฎหิยะฮฺ) มีความพิเศษที่แตกต่างจากเนื้อของสัตว์ที่ถูกเชือดทั่วๆ ไป เพราะมีบัญญัติทางศาสนาอิสลามเป็นรายละเอียดโดยเฉพาะ ทั้งเรื่องของคุณสมบัติของสัตว์ที่ถูกนำมาเชือดกุรบาน ช่วงเวลาสำหรับการเชือดกุรบาน คุณสมบัติของบุคคลที่จะทานเนื้อกุรบาน และผลบุญที่จะได้รับ เป็นต้น
ความเป็นพิเศษของกุรบานนี้เองทำ ให้นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในกรณีการแจกจ่ายหรือบริโภคเนื้อกุรบาน ของชนต่างศาสนิก สำหรับกรณีของชาวมุสลิมที่ยากจนและขัดสนนั้นมีมติเป็นเอกฉันท์ (อิจญ์มาอฺ) ว่าอนุญาตในการให้เนื้อกุรบานเป็นอาหารแก่พวกเขา เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการทำทาน และสิทธิในการบริโภคเนื้อกุรบาน
ส่วน ชนต่างศาสนิกนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่งอนุโลมให้แจกจ่ายเนื้อกุรบานแก่คนยากจนที่เป็น “อะฮฺลุซซิมมะฮฺ” (เช่น ชาวยิวและชาวคริสต์ในรัฐอิสลาม) ได้ เช่น ท่านอัล-หะสัน อัล-บะเศาะรียฺ , อิมาม อบูหะนีฟะฮฺ และท่านอบู เษาวฺริน ส่วนอิมาม มาลิกนั้น ท่านกล่าวว่า : ผู้ที่เป็นอื่นจากอะฮฺลุซซิมมะฮฺ (คือผู้ที่เป็นมุสลิม) นั้นเป็นที่ชอบยิ่งกว่า และอิมามมาลิกก็ถือว่า มักรูฮฺ ในการมอบหนังของสัตว์ที่ถูกเชือดกุรบานและสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากเนื้อของมันแก่ ชนนัศรอนียฺ (ชาวคริสต์)
- การแบ่งเนื้อกุรบาน แจกเนื้อกุรบาน เนื้อกุรบานให้ใครได้บ้าง
- ทำไมต้องทำกุรบาน กุรบานคืออะไร คุณค่าการทำกุรบาน
- ผู้ที่จะทำกุรบ่าน ห้ามตัดเล็บวันไหน? การเตรียมตัวทำกุรบ่าน
และอิมาม อัล-ลัยษฺ ก็ถือว่ามักรูฮฺเช่นกัน แต่ท่านให้รายละเอียดว่า ถ้าเนื้อกุรบานนั้นถูกปรุงสุกแล้วก็ไม่เป็นอะไรที่ชาวอะฮฺลุซซิมมะฮฺจะร่วม รับประทานเนื้อกุรบานนั้นพร้อมกับชาวมุสลิม
นี่เป็นคำพูดของอิบ นุ อัล-มุนซิรที่ให้รายละเอียดไว้ แต่อิมาม อัน-นะวาวียฺระบุว่า ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นว่าบรรดานักวิชาการในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺของเรามีคำกล่าว อันใดในเรื่องนี้ และตามข้อชี้ขาดของมัซฮับนั้น เป็นที่อนุญาตในการเลี้ยงอาหารพวกเขา (อะฮฺลุซซิมมะฮฺ) จากเนื้อกุรบานที่เป็นสุนนะฮฺ (อุฎหิยะฮฺ อัต-ตะเฏาะวฺวุอฺ) โดยเนื้อกุรบานที่เป็นวาญิบนั้นไม่อนุญาต วัลลอฮุตะอาลาอะอฺลัม (กิตาบ อัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ เล่มที่ 8 หน้า 404)
แต่ ในตำรา หาชิยะฮฺ อัช-ชัยคฺ อิบรอฮีม อัล-บัยญูรียฺ เล่มที่ 2 หน้า 566 ระบุว่า : .......ฉะนั้น ไม่อนุญาตให้มอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากเนื้อกุรบานแก่พวกเขา (คือกลุ่มชนที่มิใช่ชาวมุสลิม) ตามที่ระบุเป็นตัวบทไว้ใน อัล-บุวัยฏียฺ และใน อัล-มัจญ์มูอฺ นั้นปรากฏว่าอนุญาตให้เลี้ยงอาหารคนยากจนของอุฮฺลุซซิมมะฮฺจากเนื้อกุรบาน ที่เป็นสุนนะฮฺ โดยไม่อนุญาตจากเนื้อกุรบานที่เป็นวาญิบ ซึ่ง อัล-อัซเราะอียฺ ประหลาดใจจากคำกล่าวของอัน-นะวาวียฺในตำราอัล-มัจญมูอฺดังกล่าว
ฉะนั้น ที่ถูกต้องคือ ไม่อนุญาตให้เลี้ยงอาหารแก่คนซิมมียฺจากเนื้อกุรบานโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นการทำเศาะดะเกาะฮฺ (ทาน) ไม่ว่าจะเป็นการให้โดยฮะดียะฮฺก็ตาม... ทั้งนี้เพราะเนื้อกุรบานเป็นการเลี้ยงต้อนรับ (ฎิยาฟะฮฺ) แก่บรรดามุสลิมที่พระองค์อัลลอฮฺทรงจัดให้ดังที่ ชัยคฺ อัช-ชุบฺรอมุลฺสียฺกล่าวเอาไว้ อันถือเป็นคำกล่าวที่เป็นหลักสำคัญ (มุอฺตะมัด)”
สรุปก็คือ เรื่องการแจกจ่ายเนื้อกุรบานให้แก่คนต่างศาสนิกนี้ นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน ที่เป็นหลักคำสอน (มุอฺตะมัด) ในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ ถือว่าไม่อนุญาตเพราะเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับชาวมุสลิมที่ยากจนซึ่งมีสิทธิใน การได้รับเนื้อกุรบานนั้นก่อนบุคคลอื่น ส่วนชนต่างศาสนิกนั้นหากพวกเขามีความยากจนก็สามารถมอบเนื้อสัตว์ที่มิใช่กุ รบานเป็นทานให้แก่พวกเขาอยู่แล้ว ส่วนเนื้อกุรบานนั้นเป็นกรณีพิเศษที่สงวนเอาไว้สำหรับชาวมุสลิมที่ยากจนเท่า นั้น
และกรณีที่สงวนเอาไว้นี้ก็ไม่ได้หมายความว่า มุสลิมตระหนี่ถี่เหนียวไม่รู้จักเผื่อแผ่คนอื่นที่ไม่ใช่มุสลิมแต่อย่างใด เพราะสัตว์ที่ชนต่างศาสนิกที่มิใช่ชาวคัมภีร์ (อะฮฺลุลกิตาบ) เชือดนั้นมุสลิมก็ทานไม่ได้เช่นกัน สัตว์ที่ถูกเชือดเซ่นสังเวยตามความเชื่อในศาสนาอื่นนั้นมุสลิมก็ทานไม่ได้ โดยเด็ดขาด แล้วจะกล่าวว่ามุสลิมเห็นแก่ตัวได้อย่างไร
والله أعلم بالصواب
credit: อาลี เสือสมิง