สระเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสี่องค์ประกอบที่จำเป็นในวิชาตัจวีด ภาษาอาหรับมีสระต่างๆอยู่ 11 ตัว
สระภาษาอาหรับ หัดการออกเสียงสระในอัลกุรอาน11ตัว
สระเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสี่องค์ประกอบที่จำเป็นในวิชาตัจวีด ภาษาอาหรับมีสระต่างๆอยู่ 11 ตัว
สระ 11 ตัวถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สระตายตัวเป็นสระแทนเสียงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงมี 3 ตัว คือ
2. สระไม่ตายตัวเป็นสระแทนเสียงผสมเปลี่ยนแปลงตางสภาวะของมันมี 8 ตัว คือ
การออกเสียงสระต่างๆ
คำว่า ฟัตฮะห์ หมายถึง เปิด หมายความว่า เมื่อสระนี้ปรากฏบนอักษรตัวใดเวลาออกเสียงต้องเปิดปากและไม่อนุญาตให้หู่ปาก เช่น أَ อ่านว่า อา َب อ่านว่า บา تَ อ่านว่า ตา ในการออกเสียงตัวอักษรต่างๆ ที่มีสระฟัตฮะห์ เหล่านี้ต้องเปิดปาก ไม่อนุญาตให้หู่ปาก
2. สระฎอมมะห์
คำว่า ฎอมมะห์ หมายถึงรวม หมายความว่า การออกเสียงสระนี้ต้องรวมและหู่ริมฝีปากทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วเป่าเสียงออกมา เช่น أُ อ่านว่า อู بُ อ่านว่า บู تُ อ่านว่า ตู
3. สระกัสเราะห์
คำว่า กัสเราะห์ หมายถึง แบะหรือแตก หมายความว่า การออกเสียงนี้ต้องแบะหรือแตกริมฝีปากให้แยกออกจากกัน โดยแบะริมฝีปากล่างออกพร้อมหย่อนปลายลิ้นลงมาสู่โคนฟันล่าง เช่น أِ อ่านว่า อี ب ِ อ่านว่า บี تِ อ่านว่า ตี
หมายเหตุ
1. การอ่านสระแท้สามตัวข้างต้นถ้าไม่มีตัวสระกดให้อ่านสั้นเพียง 1 หะรอกะฮ์ (เคลื่อนไหวนิ้ว 1 ครั้ง )
2. ต้องอ่านออกเสียงให้ตรง กรณีมีตัวสะกด เพราะเป็นเสียงแท้มิใช่แผลง เช่น
نعمة อ่านว่า นิมะฮ์ มิใช่ เนี๊ยะมะฮ์
نعبد อ่านว่า นะอฺบูดู มิใช่ นุ๊วะบูดู
يدع อ่านว่า ยาดุอู มิใช่ ยาดุ๊วะอู
4. สระฟัตฮาตัยน
แปลว่า เปิดทั้งสอง หมายถึง เปล่งเสียงโดยการเปิดริมฝีปากทั้งสอง หมายถึง เปล่งเสียงโดยการเปิดริมฝีปากทั้งสองแล้วให้เสียงขึ้นทางโพรงจมูก
5. สระฎอมมาตัยนี
แปลว่า หู่ทั้งสอง หมายถึง การออกเสียงด้วยการหู่หรือการรวมริมฝีปากทั้งสองแล้วดันเสียงขึ้นโพรงจมูก เช่น
6. สระกัสรอตัยนี
แปลว่า แบะหรือแยกทั้งสอง หมายถึง การออกเสียงโดยการแบะหรือแยกริมฝีปากทั้งสองออกจากกันแล้วดันเสียงออกมาทางโพรงปาก เช่น
7. สระมัดฟัตฮะห์
แปลว่า เปิดยาวหมายถึง เปล่งเสียงด้วยการเปิดริมฝีปากทั้งสองแล้วดันเสียงออกทางโพรงปากให้มีเสียงยาว เช่น
8. สระมัดฎอมมะห์
แปลว่า รวมยาว หมายถึง การออกเสียงโดยการรวมริมฝีปากทั้งสองแล้วดันให้เสียงขึ้นโพรงจมูก เช่น لَه‘ ﺇنه
9. สระมัดกัสเราะห์
แปลว่า แยกยาว หมายถึง การออกเสียงโดยการแยกริมฝีปากทั้งสอง แล้วเปล่งเสียงให้ยาวออกมา เช่น
10. สระซูกุน
แปลว่า หยุดนิ่งหรือตาย หมายความว่า เมื่อสระซูกุนนี้ปรากฎบนอักษรใดก็ตามจะไม่มีเสียงของอักษรนั้นออกมา ยกเว้น อักษรเสียงก้อง ( قلقلة ) และอักษรที่มีเสียงพ่นลม เช่น ص س ش เป็นต้น
11. สระชัดดะห
แปลว่า เครื่องหมายที่แสดงถึงการซ้ำอักษร หมายถึง สระที่เน้นเสียงของตัวอักษรที่มันกำกับอยู่จนกระทั่งการเปล่งเสียงดังขึ้นมา สะท้อนขึ้นมาทั้งสะท้อนหนักมาก เช่น
لضالون = ل من ربكم = ر หรือสะท้อนแบบช้าๆ เช่น ن ﺇ ن = ن عم ثم = ﻡ
ที่มา: www.cis.psu.ac.th