ลายนิ้วมือกับการสร้างเสริมอีมาน


2,889 ผู้ชม

ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดหรือว่า เราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ ? แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์...


ลายนิ้วมือกับการสร้างเสริมอีมาน

ลายนิ้วมือ เป็นลักษณะทางกายชนิดหนึ่งที่ใช้ระบุเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากลายนิ้วมือจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ ในขณะที่ฐานข้อมูลทางทันตกรรมมีโอกาสเปลี่ยนได้ ลายนิ้วมือคนเรามีทั้งส่วนที่เป็นร่องและสันหรือส่วนนูน (ridge)  ส่วนนูนมีรู (pore) ที่ต่อกับต่อมเหงื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีรอยนิ้วมือ และที่สำคัญคือ ในขณะที่แฝดเหมือนอาจจะมีพันธุกรรม (DNA) ตรงกัน ทว่าอย่างไรก็ตาม ลายนิ้วมือจะไม่เหมือนกัน


อัลลอฮฺได้ตรัสในซูเราะฮฺ อัล-กิยามะฮฺอายะห์ที่ 1-4 ว่า :

لا أُقْسِمُ بِيَوْمِ الْقِيَامَةِ * وَلا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ * أَيَحْسَبُ الإِنسَانُ أَلَّنْ نَجْمَعَ عِظَامَهُ * بَلَى قَادِرِينَ عَلَى أَنْ نُسَوِّيَ بَنَانَهُ

“ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดหรือว่า เราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ ? แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์”

อิบนุ มันซูร ได้กล่าวในหนังสือ ลิซานุลอะหรับ (لسان االعرب)  ว่า :

البَنَان  (อัลบะนาน) หมายถึง ส่วนปลายของมือและขาทั้งสองข้าง  البنانة  (อัลบะนานะฮฺ) คือ นิ้วมือทั้งหมด บางคนว่าเป็นข้อต่อของนิ้ว

อัลกุรอฏุบีได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานของท่าน ว่า :

 البَنَان  (อัลบะนาน) ในความหมายของคนอาหรับคือบรรดานิ้ว และนิ้วมือ(หรือนิ้วเท้า)นิ้วเดียว เรียกกว่า بنانة (บะนานะฮฺ)

อัลกุรฏุบีและอัซซุญาจ ได้กล่าวว่า :

"พวกเขา (กุฟฟารฺมุชริกีน) กล่าวกันว่า อัลลอฮฺไม่สามารถบังเกิดชีวิตขึ้นมาใหม่และไม่สามารถรวบรมกระดูก(เพื่อให้เป็นรูปร่างขึ้นมาอีก) อัลลอฮฺจึงได้ตรัสแก่พวกเขาว่า พระองค์สามารถที่จะนำกลับสู่สภาพที่ปกติเหมือนเดิม ตั้งแต่หน่วยเล็กๆจนสมบูรณ์ และความสามารถนี้พระองค์ก็ทรงสามารถที่จะรวบรวมสิ่งที่ใหญ่ๆได้เช่นกัน"

ความรู้ในลักษณะนี้ถูกบันทึกเมื่อครั้งแรกเริ่มของศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ความจริงสู่มวลมนุษย์ เป็นเวลานานพันกว่าปีมาแล้ว ก่อนที่วิทยาการสมัยใหม่ ทั้งชีววิทยา สรีระวิทยาและวงการแพทย์ยังไม่ได้จดบันทึกสิ่งใดเลย

ขอขอบคุณจาก:   อิบรอเฮม มุสตอฟา หะยีสาอิ

อัพเดทล่าสุด