พบในการขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณก็อลอะฮ์ อัร-รอบัต (Qal'a ar-Rabat) หรือป้อมปราการแห่งเมืองอัจลูน (Ajloun) ประเทศจอร์แดน กำหนดอายุสมัยราวคศว.12
ระเบิดมือดินเผา สมัยราชวงศ์อัยยูบียะฮ์ (Ayyubid)
พบในการขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณก็อลอะฮ์ อัร-รอบัต (Qal'a ar-Rabat) หรือป้อมปราการแห่งเมืองอัจลูน (Ajloun) ประเทศจอร์แดน กำหนดอายุสมัยราวคศว.12
ขนาดมันก็กระปุกเล็กๆ กลมๆ กำลังพอดีมือ นี่ก็เป็นหนึ่งในหลักฐานว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ดินปืนเริ่มมีใช้แล้วในภูมิภาคนี้ (แน่นอนว่าดินปืนเป็นสิ่งประดิษฐ์สำคัญของจีน ผ่านอินเดียมาจนถึงตะวันออกกลาง) แต่สันนิษฐานว่านักวิทยาศาสร์มุสลิมเป็นผู้ปรับปรุงสูตรดินปืนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในยุคนั้นอยู่ในช่วงตกผลึกในการคิดค้นศาสตร์ต่างๆมากมายในโลกมุสลิม (ก่อนมองโกลรุกรานในคศว.13)
มีบันทึกแรกๆในประวัติศาสตร์ว่า มีการใช้ปืนใหญ่ (มิดฟะอ์) ในกองทัพของราชวงศ์มัมลู๊กในการสู้กับกองทัพมองโกลที่สมรภูมิอัยน์ ญาลูตในปาเลสไตน์ปีค.ศ.1260 (ชื่อนี้ต้องจารึกไว้ครับ สำคัญมากๆ นักปวศ.หลายคนกล่าวว่าสมรภูมินี้คือจุดไคลแม็กซ์ต่อความอยู่รอดของโลกมุสลิมเลยทีเดียว)
เมื่อเทคโนโลยีนี้ส่งต่อไปยุโรปกลายเป็นการพัฒนาอย่างรวดเร็ว (แต่โลกมุสลิมกลับเคลื่อนตัวได้ช้าสลับหยุดนิ่ง กรุณาเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่น ทั้งปืนคาบชุด ปืนใหญ่ ระเบิด ฯลฯ ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการสงครามขนานใหญ่และเข้าสู่ยุคดินปืนเต็มตัว
ที่มา: โบราณคดีอิสลาม