รู้หรือไม่ ทำไมท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) มีภรรยาถึง 12
เหตุผลที่ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) มีภรรยา 12
เป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) เป็นบุรุษต้นแบบที่ดีที่สุดของมุสลิมทั้งโลก ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านได้ปฏิบัติย่อมมี ฮิกมะฮฺ ที่ดีแทรกอยู่เสมอ แม้การมีภรรยามากกว่า 4 คนก็ตาม ทั้งที่อิสลามอนุญาตกับชายมุสลิมมีภรรยาได้ไม่เกิน 4 คน แน่นอนต้องมีเหตุและผลเสมอ เป็นเพราะอะไรท่านจึงมีภรรยาได้ถึง 12 คน (บางทัศนะก็ว่า 13คน )
แบ่งช่วงอายุของท่านในการแต่งงานก่อน ช่วงแรกขณะอายุ 0-24 ปี ท่านโสด ช่วงที่สอง คือ อายุ 25- 55 (บางประวัติศาสตร์บอกว่า 25-50 ปี, 25-53 ปี) ช่วงสุดท้ายของชีวิต คือ อายุ ห้าสิบกว่าปีจนถึง 63 ปี
ท่านนบีเริ่มแต่งงานครั้งแรก คือ ช่วงที่สองของอายุคือ 25 ปี แต่งงานกับ ท่านหญิงคอดีญะห์ ซึ่งนางอายุ 40 ปี และเป็นหญิงคนแรกที่เข้ารับอิสลาม แม้นางเคยผ่านการแต่งงานมาแล้วก็ตาม แต่ด้วยเหตุที่ท่านแต่งงานกับนาง เพราะนางเป็นผู้หญิงที่ เก่ง ฉลาด นิสัยดี สวย และรวยอีกต่างหาก เรียกได้ว่า ครบเซ็ตทีเดียว แม้นางจะมีอายุมากกว่าท่านนบีก็ตาม ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ท่านนบีใช้ชีวิตคู่กับพระนางคอดีญะห์เพียงคนเดียวจนกระทั้งนางเสียชีวิต นางมีลูกกับท่านนะบี เป็นผู้หญิง 4 คน ผู้ชาย 2 คน
เนื่องด้วย ในสมัยนั้นพระนางหญิงคอดีญะห์ ได้ทำการค้าขาย และนางได้ว่าจ้างผู้ชายทำการค้าให้กับนางตามตลาดต่างๆของคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็จะมีท่านนบี ด้วยความที่ท่านนบีมีความซื่อสัตย์ในการค้าขายแถมได้กำไรเป็นที่พึ่งพอใจนาง นางจึงมีความต้องการให้ชีวิตคู่ของนางมีความสุขและได้ดีในวันข้างหน้า นางจึงขอให้ท่านนบีแต่งงานกับนางเพื่อเคียงข้างกัน
แม้ก่อนหน้านี้ จะมีชายมาสู่ขอนางแต่นางก็ปฏิเสธ และท่านนบีก็ได้ตอบตกลง แต่มิใช่เพราะว่าต้องการทรัพย์สิน แต่ท่านพึงพอใจในมารยาทอันดีงามของนาง และเป็นภรรยาคนเดียวที่ใช้ชีวิตอยู่กับท่านจนกระทั่งนางเสียชีวิต ทั้งนี้ถือว่าเป็นการเลือกสรรจากอัลลอฮฮฺ (ซ.บ) เพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระในการเผยแพร่ศาสนาของท่านนะบีต่อไป ขณะที่พระนางคอดีญะห์เสียชีวิตท่านนบีอายุประมาณห้าสิบกว่าปี
ช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ท่านนบีแต่งงานก็คือ อายุห้าสิบกว่าปีจนถึงอายุหกสิบสามปี
ภรรยาคนที่ 2 หลังจากพระนางคอดีญะห์เสียชีวิต คือ พระนางเซาดะห์ บินตี ซัมอะห์ (Saudah binti Zam'ah)
นางเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้แต่งงานกับท่านนบีหลังจากภรรยาของท่านนบีเสียชีวิต ตอนนั้นนางมีอายุประมาณ 65 นางเคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว และนางไม่ได้เป็นคนสวย ร่ำรวย และไม่ได้มาจากตระกูลที่สูงส่ง ท่านได้แต่งกับนางเพื่อช่วยเหลือและให้การเลี้ยงดูครอบครัวให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
ภรรยาคนที่ 3 คือ พระนางอาอีซะห์ บินตี (อาบูบักร์ อัศศิกดิ๊ก คือ หนึ่งในศอฮาบะฮฺของท่านนบีที่สนิทที่สุด)
นางคนเดียวในบรรดาภรรยาของท่านนบีที่เป็นสาวโสด ตอนนั้นนางอายุ 6 ขวบ แต่จะอยู่ด้วยกันแบบสามีภรรยาได้หลังจากนางมีประจำเดือน นั่นคือตอนอายุประมาณ 9 ขวบ และนางเป็นผู้หญิงที่มีความรู้ศาสนาที่ดีเยี่ยมที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้การแต่งงานก็เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับอาบูบักร์ ยิ่งขึ้น เนื่องด้วย ท่านอาบูบักร์ อัศศิกดิ๊ก เป็นผู้มีมีอิทธิพลทางการเมืองและสังคมในสมัยนั้น และสุดท้าย ท่านอาบูบักร์ อัศศิกดิ๊ก ก็ได้ปกครองเมืองและเป็นคนที่ช่วยเหลือศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากท่านนบีเสียชีวิต
ภรรยาคนที่ 4 ฮัฟเซาะห์ บินตี อูมัร (Hafsah binti Umar)
ขณะที่แต่งงานกับท่านนบีนั้นนางอายุประมาณ 21 ปี เหตุผลที่ท่านนบีแต่งงาน เพราะสงสารนางและเพื่อช่วยเหลือนาง เนื่องด้วยสามีนางได้เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ (เพื่อปกป้องศาสนา) นอกจากนี้เพื่อเป็นการกระชับมิตรที่ดีกับ ท่านอูมัร อีกเช่นกัน
ภรรยาคนที่ 5 ไซนับ บินตี คูไซมะห์ (Zainab binti Khuzaimah)
ท่านนบีแต่งงานกับนางเพื่อเป็นเกียติให้นางเนื่องด้วยสามีนางได้เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ ซึ่งขณะนั้นนางอายุประมาณ 29 ปี และนางยังได้ฉายาอีกว่าเป็น ummu al-Masakin “มารดาแห่งผู้ยากจน” เนื่องด้วยนางมีความรัก ความเอ็นดูและนุ่มนวลต่อคนยากไร้ ซึ่งแบบอย่างที่ดีมากๆ
ภรรยาคนที่ 6 อุมมูซาลามะห์ ฮินดุป บินตี อาบู อูมัยยะห์ (Ummu Salamah Hindun binti Abu Umayyah)
ท่านนบีแต่งงานกับนางขณะนั้นนางอายุประมาณ 34 และนางเคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว ซึ่งนางคือผู้หญิงคนแรกที่อพยพ (Hijrah) ไปประเทศเอธิโอเปีย ท่านนบีแต่งงานกับนางทั้งนี้เพื่อพังกำแพงของความเป็นปรปักษ์ของชาว Bani Makhzun เพื่อลบความเกลียดชังที่มีต่อศาสนาอิสลาม ให้ประชาชนชาว Bani Makhzun เปิดใจให้กับอิสลาม
ภรรยาคนที่ 7 ซัยนับ บุตรี ญะห์ชิน (Zainab binti Jahsy)
ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) แต่งงานกับนางเพราะจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา โดยก่อนหน้านี้นางได้แต่งงานกับ เซต บิน ซาบิต ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) แต่การแต่งงานครั้งนั้นไม่ได้ยั่งยืนและมีการหย่าร้างในเวลาต่อมา ซึ่งประเพณีของอาหรับในสมัยนั้นห้ามให้ผู้ชายแต่งงานกับหญิงที่ได้หย่าร้างกับบุตรบุญธรรมของตนเอง แต่ทั้งนี้ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ได้รับวะฮีจาก อัลลอฮฺ เพื่อยกเลิกข้อกล่าวหาดังกล่าว จึงให้ ท่านนมูฮำหมัด (ซ.ล) แต่งงานกับ พระนางซัยนับ และทั้งเพื่อเป็นแบบอย่างว่าสามารถแต่งงานได้ เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเลือดเนื้อเดียวกันและเป็นการช่วยเหลือให้ผู้หญิงที่หย่าร้างจากการสมรสได้มีวิธีชีวิตที่ดีขึ้น
ภรรยาคนที่ 8 ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) แต่งงานกับ พระนางญุวัยรียะฮ์ บินตี อัลหาริษ (Juwairiyah binti Al-Harith) ที่เคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว และนางเป็นหนึ่งในเชลยศึกที่ถูกจับใน สมรภูมิอัลมุสตะลัก เนื่องจากบิดาของนางเป็นหัวหน้าเผ่า ท่านจึงให้เกียตริและปกป้องนางจากการตกเป็นเฉลยศึกด้วยการขอนางแต่งงาน แต่ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ก็ให้นางเลือกว่าจะแต่งงานหรือปฏิเสธก็ได้ แต่นางก็ยินยอมด้วยความเต็มใจที่จะแต่งงานกับ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) และท่านได้ทรงเรียกร้องให้ชาวมุสลิมปลดปล่อยผู้เป็นเชลยและก็ได้รับการตอบสนอง
นอกจากนี้ การแต่งงานครั้งนี้ย่อมมี ฮิกมะฮฺมากกว่านั้น คือ จากที่ชนเผ่าที่มารุกเร้าแผ่นดินอิสลามมีความเกิดความเกรงใจ เนื่องด้วยลูกของหัวหน้าเผ่าได้แต่งงานกับศัตรู หลังจากนางเข้ารับอิสลามทำให้ชนเผ่านั้นเข้ารับอิสลามตามๆกันในที่สุด
ภรรยาคนที่ 9 คือ พระนางซอฟียะห์ บินตี ฮูยัย (Safiyyah binti Huyai)
ท่านนบีได้แต่งงานกับนาง ซึ่งเป็นบุตรีของหัวหน้าเผ่ายิวแห่ง บะนีกุร๊อยเซาะฮ์ และเป็นศัตรูกับ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ที่มารบกวนอิสลามในทางตอนเหนือของมาดีนะฮฺในสมัยนั้น และสามีของนางก็ได้เสียชีวิตในสงครามครั้งนั้นด้วย ซึ่ง ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) เปิดโอกาสให้นางเลือกที่จะแต่งงานหรือกลับไปยังพวกของตน ซึ่งนางตัดสินใจที่จะแต่งงานกับท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) เพราะนางเป็นยิวซึ่งส่วนตัวนางมีความเชื่อว่า นบีมูฮำหมัดคือศาสทูตของอัลลอฮฺ เพราะนางเคยได้ยินชาวยิวพูดว่า “ชายคนนี้เป็นคนที่คัมภีร์ของมูซาบันทึกไว้”
ด้วยเหตุการณ์การแต่งงานครั้งนี้สามารถลดความตึงเครียดระหว่างชาวอาหรับกับชาวยิวในสมัยนั้นได้ หากเรามองว่าเป็นฮิกมะฮฺ (สิ่งที่ดี) ก็ยังสามารถสะท้อนให้เห็นว่า อิสลามไม่ได้ต่อต้านยิวเสมอไป เรายังมีช่องว่างที่สามารถอยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจ โดยมีตัวอย่างว่านบีเคยมีภรรยาเป็นชาวยิวคนหนึ่งนะ
ภรรยาคนที่ 10 อุมมูฮาบีบะห์ รอมละห์ บินตี อาบู ซูฟียาน (Ummu Habibah Ramlah binti Abu Sufiyan)
พระนางเป็นลูกของ อาบู ซูฟียาน ที่เป็นศัตรูที่จะฆ่าท่านนบีให้ได้ (จะทำลายอิสลาม) ซึ่งสามีของนางก็ได้เสียชีวิตลงขณะอพยพไปยังประเทศเอธิโอเปีย เป็นเมืองที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่งนางเป็นผู้หญิงที่ศรัทธาต่ออิสลามคนหนึ่ง ทั้งนี้ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) แต่งงานกับนางเพราะสงสารนางที่ต้องอยู่ต่างเมืองตัวคนเดียว (หากเป็นเช่นนั้นผู้เป็นพ่อที่ต่อต้านอิสลามก็ต้องพานางกลับไปและแน่นอนต้องบังคับนางให้ออกจากศาสนาอิสลาม) ด้วยเหตุนี้ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) หวังว่าการแต่งงานกับนาง จะทำให้พ่อของนางซึ่งมีอิทธิพลในนครเมกกะ(มักกะฮฺ)เข้ารับอิสลาม เมื่อคนมีอิทธิพลรับอิสลามประชาชนทั่วไปย่อมจะทำตามผู้นำที่นับถือเป็นเรื่องง่าย (การรับอิสลามที่ดีต้องได้รับมาจากใจที่จริงใจ ไม่ใช่ถูกบังคับแต่อย่างใด) และในที่สุดเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ พ่อของนางก็ได้เข้ารับอิสลามและนำพาประชาชนในนครเมกกะเข้าสู่ศาสนาอิสลาม
ภรรยาคนที่ 11 มัยมูนะห์ บินตี อัลฮาริส (Maimunah binti Al-Harith)
ช่วงเวลานั้นจะมีผู้หญิงมากมายไปขอให้ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) แต่งงานด้วย แต่ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) เลือกแต่งกับพระนางมัยมูนะห์ (เคยผ่านการแต่งงานมาแล้ว) เพราะว่ากลยุทธ์ทางการเมืองและเพื่อประโยชน์ของศาสนา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการปกป้องนางและให้การดูแลนางอีกด้วย และนางก็เป็นภรรยาคนสุดท้ายของ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ก่อนที่ท่านจะถูกห้ามไม่ให้เพิ่มภรรยาอีก
ภรรยาคนที่ 12 พระนางมารียะฮ์ อัลกิบฏียะฮ์ (Mariyah Al-Qibtiyah)
พระนางมารียะฮ์ เป็นแม่ของอิบรอฮีมบุตรท่านนบี (ซ.ล) นางเป็นทาสที่กษัตยริมุเกากิส ซึ่งช่วงนั้น ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ได้ส่งจดหมายไปให้กษัตริย์อียิปต์เข้ารับอิสลาม แต่ถูกปฏิเสธ แต่ทางการกษัตยริมุเกากิสได้มอบพระนางมารียะฮ์ ผู้เป็นทาส ให้เป็นของกำนัลหรือของขวัญให้แด่ท่านนบี (ซ.ล) นางเศร้าโศกเสียใจที่ต้องจากบ้านเกิดไปเสียแบบนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลอบนางและปกป้องนาง ท่านนบีจึงแต่งงานกับนางและนางได้เข้ารับอิสลามในที่สุด ก่อนหน้านี้นางเป็นคริสต์ดังนั้นท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ได้อยู่ร่วมกับนางและได้สืบสกุลเพิ่มอีกหนึ่งคนนั่นก็คือ อิบรอฮีม บิน มูฮำหมัด (ซ.ล)
ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ได้แต่งงานกับภรรยาของท่าน ก็เพื่อหนทางของศาสนา และในสิ่งที่ท่านตัดสินใจนั้นย่อมมีฮิกมะฮฺ (สิ่งที่ดี) แทรกมากมาย เช่น
1.ภรรยาของท่านนบีเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้หญิงทั้งโลก “มารดาแห่งผู้ศรัทธา” (ibu sekalian orang beriman)
2.ภรรยาของท่านนบีสามารถบอกต่อให้อุมมะฮฺนบีทราบถึงการกระทำของท่านนบีที่ลึกซึ้ง ที่ศอฮาบะฮฺไม่รู้ บางเรื่องรู้ได้เพียงแค่ฉันสามีภรรยาเท่านั้น เช่น ความรัก ความอบอุ่นของท่านนบีกับภรรยาท่าน หรือการทำดีกับครอบครัว ทั้งนี้บ่งบอกถึง ให้อุมมะฮฺควรให้ความสำคัญกับครอบเพื่อทำตามซุนนะฮฺนบีที่ดี
3.การเสียสละเพื่อหนทางของอัลลอฮฺย่อมเป็นที่หนึ่งเสมอ แล้วอัลลอฮฺย่อมตอบแทนในสิ่งที่ดียิ่งกว่านั้น
4.ชายและหญิงไม่จำกัดอายุช่วงแต่งงาน ชายที่อายุเยอะกว่าผู้หญิงสามารถแต่งงานกับหญิงอายุมากกว่าได้เช่นกัน
เรียบเรียงโดย Fateemoh , Berita muslim