เมื่อนั่งตะชะฮฺฮุด สายตาคุณมองอะไร ? มีซุนนะฮฺให้มองไปยังนิ้วชี้ขณะที่ชี้นิ้วในตะชะฮฺฮุด (อีกหนึ่งซุนนะฮฺง่ายที่เราควรรนรงค์ให้ปฏิบัติกัน)
เมื่อนั่งตะชะฮฺฮุด สายตาคุณมองอะไร ?
มีซุนนะฮฺให้มองไปยังนิ้วชี้ขณะที่ชี้นิ้วในตะชะฮฺฮุด
(อีกหนึ่งซุนนะฮฺง่ายที่เราควรรนรงค์ให้ปฏิบัติกัน)
ปรากฎว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฮู้อะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อท่านนั่งตะชะฮุด ท่านได้วางมือข้างซ้ายบนต้นขาซ้าย (และมือขวาบนต้นขาขวา)พร้อมทั้งท่านได้ชื้นิ้วชี้(ที่มือขวา) และท่าน (ได้มอง)ไปยังนิ้วชี้โดยสายตาของท่านจะไม่มองเกินไปกว่านิ้วชี้ของท่าน (เศาะฮีหฺ อันนาสาอีย์ ของชัยคฺ อัลบานีย์)
่
เพิ่มเติม:
ท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของอุมัรฺเล่าว่า : เมื่อท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่งตะชะฮฺฮุด : ปรากฏว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม วางมือขวาบนขาอ่อนข้างขวา และชี้นิ้วซึ่งอยู่ทัดจากนิ้วโป้ง (นิ้วชี้) ชี้ไปทางกิบละฮฺ ซึ่งสายตาของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะมองไปยังนิ้ว (นิ้วชี้)
وبوب النسائي في كتاب السنن، باب 39: ( موضع البصر عند الإشارة وتحريك السبابة) وساق تحته الحديث الآتي :عن عامر بن عبد الله بن الزبير عن أبيه: «أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا قَعَدَ فِي التَّشَهُّدِ وَضَعَ كَفَّهُ الْيُسْرَى عَلَى فَخِذِهِ الْيُسْرَى، وَأَشَارَ بِالسَّبَّابَةِ لَا يُجَاوِزُ بَصَرُهُ إِشَارَتَهُ» [10].
เครดิต: อาจารย์มูซาคาน ปาทาน