การวุกุฟ คือการพักสงบที่ทุ่งอารอฟะฮ์ โดยเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์คล้อยของวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกดิน เป็นรุกุ่นฮัจญ์ที่ต้องทำ วูกุฟ คือ...
การวุกูฟที่อะรอฟะห์ 12 ดุอาอฺ วุกูฟ ณ ทุ่งอะรอฟะห์
การวุกุฟ คือการพักสงบที่ทุ่งอารอฟะฮ์ โดยเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์คล้อยของวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกดิน เป็นรุกุ่นฮัจญ์ที่ต้องทำ วูกุฟ คือ หัวใจของฮัจญ์
เมื่อละหมาดซุบฮิเสร็จแล้ว รอจนตะวันกว่าดวงอาทิตย์ของวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮฺขึ้น จึงเริ่มเดินทางออกจากมีนามุ่งสู่อะรอฟะฮฺ ระหว่าง ทางให้กล่าวคำ ตัลบียะฮุ ให้มาก กำหนดการวุกูฟที่อะรอฟะฮฺเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์คล้อย เมื่อเดินทางไปถึงอะรอฟะฮฺมีซุนนะฮฺให้ไปมัสญิดนะมีเราะฮฺ หากไม่สามารถไปได้ให้เข้าไปยังทุ่งอะรอฟะฮฺ
สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติในวันอะรอฟะฮฺวันอีด วันตัชรีก รวมทั้งกำชับให้ยึดมั่นในหลักคำสอนของอิสลามเมื่อคุฏบะฮฺเสร็จแล้ว ให้ละหมาดดุรี่และอัศรี่ โดยเป็นละหมาดรวมก่อนและย่อ (ญัมอฺตักดีม) เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาด ให้ผินหน้าไปทางกิบละฮฺแล้วกล่าวอิสติฆฟาร (ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ) กล่าวซิกรุ้ลลอฮฺ อ่านอัลกุรอานหรืออ่านดุอาอฺตามที่ต้องการ
ท่านร่อซูล กล่าวว่า
“ดุอาอฺที่ดีที่สุดคือ ดุอาอฺในวันอะรอฟะฮฺ และสิ่งที่ดีที่สุด คือ สิ่งที่ฉันและบรรดานบีก่อนหน้าฉัน ดุอาอฺ คือ”
“ลาอิลาหะอิลลัลลอฮุ วะฮฺดะฮู ลาชะรีก้าละฮู ละฮุลมุลกุ วะละฮุลฮำดุ ยูฮฺยี ว่ายุมีตุ วะฮุ ว่าอะลากุลลี่ชัยอินก่อดีร”
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว ไม่มีผู้ใดเป็นภาคีกับพระองค์ อำนาจและการสรรเสริญเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงให้ชีวิตและทรงให้สิ้นชีวิตและพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง”
“อารอฟาต” คือนามของสถานที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมักกะห์ ห่างจากมัสยิดอัลฮะรอม 17 กม. โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 17.95 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเมืองฎออิฟ และนครมักกะฮ์
บรรดาผู้ไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์เมื่อถึงวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ก็จะรวมตัวกันอยู่ในทุ่งอารอฟะฮ์ตั้งแต่ตอนบ่ายจนตะวันตกดิน บางรายงานได้มีบันทึกว่า ท่านศาสดาอาดัม (อ) และท่านหญิงฮาวา (อ) ก็ได้พบกันเป็นครั้งแรกบนพื้นพิภพนี้ก็พบกันในสถานที่แห่งนี้ ด้วยเหตุนี้เอง สถานทีแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “อาราฟาต” และวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮ์ถูกเรียกว่า “วันอารอฟะฮ์”
วันอารอฟะฮ์ คือวันอีดที่ยิ่งใหญ่วันหนึ่งสำหรับมุสลิม ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกขนามนามว่าเป็นวันอีดก็ตาม เนื่องจากว่าในวันอารอฟะฮ์เป็นวันซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงเชิญชวนปวงบ่าวของพระองค์ให้เข้าสู่การเคารพภักดีพระองค์ พระองค์ได้ทรงเปิดประตูแห่งการปฏิบัติคุณงามความดีให้กับปวงบ่าวของพระองค์ในวันดังกล่าว และเป็นวันซึ่งบรรดาชัยฏอนมารร้ายต่างกรีดร้องด้วยความโหยหวล เนื่องจากความโกรธ และความต่ำต้อยที่พวกมันได้รับในวันนี้
มีรายงานหนึ่งบันทึกว่า ในวันอารอฟะฮ์ครั้งหนึ่ง ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน ได้ยินเสียงผู้ยากไร้คนหนึ่งขอความช่วยเหลือจากคนอื่นอยู่ ท่านอิมาม ได้กล่าวแก่ผู้ยากไร้คนนั้นทันทีว่า “เจ้าไม่ละอายเลยหรือ? ที่ในวันนี้ (วันอารอฟะฮ์) เจ้ายังแบมือเพื่อวิงวอนขอสิ่งต้องการของตนเองจากเพื่อนมนุษย์อยู่อีก ในขณะที่ในวันนี้นั้นแม้กระทั่งเด็กทารกทั้งหลายที่อยู่ในครรภ์ของมารดาก็ยังได้รับความโปรดปรานจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทั้งสิ้น”
ในอีกรายงานหนึ่งท่านอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก ได้กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามที่เขายังไม่ได้รับการอภัยโทษในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ ก็จะไม่ได้รับการอภัยโทษอีกแล้วจนกระทั่งเดือนรอมฎอนปีหน้ามาเยือน นอกเสียจากว่าเขาจะได้พบกับวันอารอฟะฮ์เท่านั้น”
จากวจนะข้างต้นของอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก ทำให้เราเข้าใจได้ทันทีว่า ความหวังสุดท้ายของหลายๆ คนที่เขายังไม่ได้รับการอภัยโทษในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียรติ คือวันอารอฟะฮ์นั่นเอง
การอามั้ล (การปฏิบัติภารกิจเพื่อพระองค์อัลลอฮ์) ที่ประเสริฐที่สุดในวันอารอฟะฮ์ คือการดุอาอ์ วิวอน ขอลุแก่โทษ และแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ซึ่งเป็นการดุอาอ์ เป็นการวิงวอน ขออภัยโทษในความผิด ที่อยู่ในช่วงเวลาพิเศษ เป็นโอกาสพิเศษ และสำหรับบางคนก็ได้ปรากฏกายในสถานที่พิเศษอีกด้วย นั่นคือการได้อยู่ดุอาอ์ วิงวอน ต่อพระองค์อัลลอฮ์ในทุ่งอารอฟาตนั่นเอง
ในวันอารอฟะฮ์ มีบทดุอาอ์มากมายที่สมควรอ่าน เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) เฉกเช่นเดียวกันวันสำคัญอื่นๆ ที่เป็นเวลาพิเศษ วันพิเศษในการดุอาอ์ต่อพระองค์ อาธิเช่น วันต่างๆ ในเดือนรอมฎอนอันทรงเกียนติ บางวันในเดือนรอญับ และเดือนชะอ์บาน หรือในค่ำคืนต่างๆ อาธิเช่น ค่ำคืนศุกร์ ค่ำคืนแห่งกัดร์ ซึ่งเป็นวันเวลาที่พิเศษในการดุอาอ์วิงวอนต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทั้งสิ้น
การวิงวอนขอสิ่งประสงค์ต่างๆ ของมนุษย์ที่มียังพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ พระผู้ทรงประทานให้แก่บ่าวผู้ต่ำต้อย คือ รากฐานแห่งการเชื่อมโยงมนุษย์กับพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน พระผู้ซึ่งการดำรงอยู่ของพระองค์เป็นสิ่งนิรันดร
ดังนั้นตามหลักความเป็นจริงข้างต้น เราจึงไม่สามารถที่จะกล่าวว่า การอิบาดัต การดุอาอ์ การวิงวอนต่อพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกรนั้น ถูกจำกัด และถูกเฉพาะอยู่ในวันใดวันหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเท่านั้น เนื่อจากว่าพระผู้เป็นเจ้าที่เราเคารพภักดี และพระผู้เป็นเจ้าที่เราดุอาอ์ และวิงวอนนั้น ไม่มีสถานที่ และเวลาสำหรับพระองค์ พระองค์คือเจ้าของแห่งกาลเวลา และสถานที่ทั้งมวล เมื่อพระองค์ไม่ถูกเฉพาะสำหรับสถานที่และเวลาสำหรับพระองค์ การอิบาดัตต่อพระองค์ ก็จะต้องไม่ถูกเฉพาะสถานที่และเวลาเช่นเดียวกัน
12 ดุอาอฺ วุกูฟ ณ ทุ่งอะรอฟะห์