วิธีการอาบนํ้าญานาบะฮฺ ธีการอาบนํ้ายกฮาดัษใหญ่ เหมือนท่านนบีมูฮัมหมัด ซล.
วิธีอาบนํ้าญานาบะฮฺเหมือนท่านนบี
การอาบน้ำญะนาบะฮฺ
อิสลามให้มีบัญญัติให้มีการอาบน้ำเพื่อชำระฮะดัสใหญ่ อันได้แก่ การมีญะนาบะฮฺ การมีประจำเดือน หลังคลอดบุตรหลังมีเพสสัมพันธ์ หลังมีอสุจิเคลื่อน หลังการคลอดบุตร และเกี่ยวกับจะปฎิบัติศาสนกิจบางอย่าง เช่น อาบน้ำวันศุกร์ และก่อนจะครองเอี๊ยะรอมในพิธีฮัจญ์เป็นต้น
ขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มด้วยการกล่าวบิสมิ้ลลาฮฺ
2. ล้างมือทั้งสองข้างพร้อมกัน
3. ล้างทวารทั้งสองให้สะอาดด้วยมือซ้าย
4. เริ่มทำการอาบน้ำละหมาด
5. ล้างมือทั้งสองข้าง 3 ครั้ง
6. เอามือขวาวักน้ำใส่ปากครั้งหนึ่งเหลือไว้เล็กน้อยสูดเข้าจมูก ส่วนที่อยู่ในปากให้กลั้วปากและคอ บ้วนทิ้ง ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง
7. ล้างใบหน้าให้ทั่ว 3 ครั้ง
8. ล้างแขนขวาจรดข้อศอก 3 ครั้ง
9. ล้างแขนซ้ายจรดข้อศอก 3 ครั้ง
10. เอามือทั้งสองจุ่มน้ำเช็ดศีรษะ 1 ครั้ง
11. เอาน้ำราดศีรษะ และขยี้ผมให้เปียกชุ่ม ให้ทั่วถึงหนังศีรษะ
12. เอาน้ำรดศีรษะ 3 ครั้ง
13. เอาน้ำรดร่างกายด้านขวา พร้อมใช้มือถามผิวหนังเพื่อขจัดถูสิ่งสกปรกต่าง ๆ
14. เอาน้ำรดร่างกายด้านซ้าย พร้อมใช้มือถามผิวหนังเพื่อขจัดถูสิ่งสกปรกต่าง ๆ
15. ล้างเท้าขวา 3 ครั้ง
16. ล้างเท้าซ้าย 3 ครั้ง
หลังจากอาบน้ำยกฮะดัสแล้วก็สามารถละหมาดได้ ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำละหมาดอีก
"ท่านร่อซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มิได้อาบน้ำละหมาดอีกครั้งหลังจากอาบน้ำยกฮะดัสแล้ว"
บันทึกโดยนักบันทึกฮะดีษทั้งห้า (อัตติรฺซีย์ ,อันนะซาอีย์,อิบนุมาญะฮฺ อบูดาวูด, อะหมัด)
เพิ่มเติม มุสลิมะฮฺที่เกล้าหมวยผมไว้ ไม่จำเป็นต้องคลายผมก็ได้ค่ะ
**การอาบน้ำญะนาบะฮฺ จากหนังสือ วิธีละหมาดตามบัญญัติอิสลาม ของ อัล-อิศลาหฺสมาคมบางกอกน้อย หน้า93-94
การอาบน้ำญะนาบะฮ์ ( อัลฆุสลู่ ) คือ การอาบน้ำเพื่อชำระฮะดัษใหญ่อันเกิดจากการมีอสุจิเคลื่อนออกมาทั้งเพศหญิงและชาย ไม่ว่าจะด้วยกรณีหรือสาเหตุใดก็ตาม เช่น การฝัน,การร่วมเพศ,การสำเร็จความใคร่ ฯลฯ
ฮู่กุมการอาบน้ำญะนาบะฮ์
การอาบน้ำญะนาบะฮ์ (ยกฮะดัษ) เป็นวาญิบ (กรณีจำเป็น) อัลลอฮ์ทรงมีพระดำรัสว่า
وَإِنْ كُنْتُمْ جُنُبًا فَاطَّهَّرُوا
ความหมาย “ และหากพวกเจ้าเป็นผู้มีญะนาบะฮ์ ( ฮะดัษ ) พวกเจ้าจงชำระ ( อาบน้ำ ) ทำความสะอาดเถิด ” จากบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 6
และอัลลอฮ์ทรงมีพระดำรัสอีกตอนหนึ่งว่า
وَلاَ جُنُبًا إِلاَّ عَابِرِيْ سَبِيْلٍ حَتَّى تَغْتَسِلُوْا
ความหมาย “ และขณะที่พวกเจ้ามีญะนาบะฮ์ ( ญู่นุบ ) ยกเว้นกรณีของผู้สัญจรผ่านไปเท่านั้น ทั้งนี้จนกว่าพวกเจ้าจะอาบน้ำ ( ชำระร่างกายให้สะอาด) เสียก่อน ” จากบทอันนิซาอ์ โองการที่ 43
ข้อห้ามสำหรับผู้มีญะณาบะฮ์
ศาสนาอิสลามมีบัญญัติห้ามมิให้ผู้มีญะนาบะฮ์ปฎิบัติประการต่อไปนี้
1.ห้ามทำละหมาดทุกประเภท สุหนัตและฟัรฎู ( รวมทั้งละหมาดญะนาซะฮ์ด้วย )
إِنَّ اللهَ تَعَالَى لاَ يَقْبَلُ صَلاَةَ أَحَدِكُمْ إِذَا أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ
ความหมาย “ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงตอบรับการละหมาดของคนใดในหมู่พวกท่านเมื่อเขามีฮะดัษ จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน”
เมื่อการมีฮะดัษเล็กเป็นอุปสรรคและข้อห้ามสำหรับการละหมาด การมีฮะดัษใหญ่ย่อมต้องถือเป็นกรณีสำคัญและจำเป็นมากกว่าสำหรับการห้ามละหมาด
وَلاَ يَقْبَلُ اللهُ تَعَالَى صَلاَةً بِغَيْرِ طُهُوْرٍ
ความหมาย “ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงตอบรับการละหมาดที่ปราศจากความสะอาด ” จากบันทึกของมุสลิมและอัดติรมิซีย์
ความสะอาดในฮะดิษหมายถึงความสะอาดตามศาสนบัญญัติ ผู้ละหมาดจะต้องเป็นผู้สะอาดปราศจากฮะดัษเล็กและใหญ่ ( ดูหลักฐานจากบทอันนิซาอ์ โองการที่ 43 ที่ผ่านมาประกอบด้วย )
2.ห้ามทำพิธีฏอว้าฟทั้งฟัรฎูและสุหนัต ( คือ การเดินเวียนรอบอาคารบัยตุลลอฮ์ )
اَلطَّوَافُ بِالْبَيْتِ صَلاَة ٌ إِلاَّ أَنَّ اللهَ قَدْ أَبَاحَ فِيْهِ الْكَلاَمَ
ความหมาย : ” การฏอว้าฟ ( เดินเวียนรอบ ) อาคารบัยตุลลอฮ์นั้น ถือเป็นการละหมาดหากแต่อัลลอฮ์ทรงอนุญาตให้พูดจา ในขณะฏอว้าฟได้ “ จากบันทึกของอัดติรมิซีย์
และอาคารบัยตุลลอฮ์นั้นอยู่ในมัสยิดอัลหะรอม ผู้มีญะนาบะฮ์จึงไม่สามารถเข้าไปในมัสยิดได้
3.ห้ามเข้าไปหยุดพักในมัสยิด ( โดยปราศจากความจำเป็น )
وَلاَ أُحِلُّ الْمَسْجِدَ لِحَائِضٍ وَ لاَ جُنُبٍ
ความหมาย : ” ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้สตรีมีเฮด ( รอบเดือน ) และผู้มีญะนาบะฮ์เข้ามัสยิดโดยเด็ดขาด “ จากบันทึกของอาบูดาวู๊ด( โปรดดูหลักฐานจากบทอันนิซาอ์ โองการที่ 43 ที่ผ่านมาประกอบด้วย )
4.ห้ามจับและสัมผัสอัลกุรอาน ( โดยปราศจากความจำเป็น )
لاَ يَمَسُّ الْقُرْآنَ إِلاَّ طَاهِرٌ
ความหมาย : “ เฉพาะผู้ที่สะอาด ( สะอาดปราศจากฮะดัษเล็กและใหญ่ ) เท่านั้นที่จะสัมผัสอัลกุรอานได้ “ จากบันทึกของอัดฏ็อบรอนีย์,อัดดารุกุฏนีย์และอัลฮาเก็ม ท่านคอลีฟะฮ์อาลีกล่าวว่า “ และไม่เคยมีกรณ๊ใดที่จะยับยั้งท่านรอซูลไม่ให้อ่านอัลกุรอานได้ นอกจากกรณีที่ท่านมีญะนาบะฮ์เท่านั้น “ และสาวกของรอซูลบางท่านเล่าว่า “ ท่านรอซูลจะสอน อัลกุรอานพวกเราเสมอ ตลอดเวลาที่ท่านไม่มีญะนาบะฮ์ “ จากบันทึกของอัดติรมิซีย์
อนึ่ง อนุญาตให้ผู้มีญะนาบะฮ์จับหรือสัมผัสอัลกุรอานได้เมื่อมีเหตุผลความจำเป็น พบกุรอานตกหล่นอยู่ในที่สกปรกหรือเกรงว่าจะถูกทำลายหรือเผาใหม้ และอนุญาตอ่านกุรอานได้เฉพาะโองการที่เป็นบทรำลึกหรือดุอาอ์ และเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อการสอบ
วิธีการอาบน้ำญะนาบะฮ์ ( ตามศาสนบัญญัติ )
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ภรรยาของท่านรอซูล ได้รายงานลักษณะวิธีการอาบน้ำญะนาบะฮ์ของท่านรอซูลอย่างคร่าวๆ ไว้ว่า
“ แท้จริงเมื่อท่านรอซูลอาบน้ำญะนาบะฮ์ ท่านจะเริ่มด้วยการล้างมือทั้งสองข้างก่อน จากนั้นท่านจะใช้มือขวาวักน้ำใส่มือซ้ายเพื่อใช้ชำระล้างทวารหน้า ( อวัยวะเพศ ) จากนั้นท่านจึงอาบน้ำละหมาดเช่นเดียวกับที่ท่านอาบไปละหมาด เสร็จแล้วนำน้ำมาราดลงบนเส้นผม ( ศรีษะ ) และใช้มือเสยสอดและขยี้โคนผมให้เปียกน้ำทั่ว จนกระทั่งมั่นใจว่าน้ำเปียกทั่วหนังศรีษะหมดแล้ว ท่านวักน้ำมาราดลงบนศรีษะอีก 3 ครั้ง จากนั้นราดน้ำจนทั่วร่างกาย เสร็จแล้วจึงล้างเท้าทั้งสองข้างของท่าน ) จากบันทึกของอัลบุคอรีย์และมุสลิม
วิธีการอาบน้ำญะนาบะฮ์อย่างละเอียดต่อไปนี้ ได้คัดลอกและรวบรวมจากบรรดารายงานที่สาวกของรอซูลถ่ายทอดไว้ สรุปได้โดยสังเขปดังนี้
1.ล้างมือทั้งสองข้าง 3 ครั้ง พร้อมกล่าวบิสมิลลาฮ์
2.ใช้มือซ้ายชำระล้างอวัยวะเพศให้เกลี้ยง
3.บ้วนปากและถูฟันให้สะอาด
4.อาบน้ำละหมาดเหมือนปกติ ( ทำตามขั้นตอนการอาบน้ำละหมาดทุกประการยกเว้นล้างเท้า )
5.เมื่อเช็ดศรีษะเรียบร้อยแล้ว ให้นำน้ำมาราดศรีษะให้ทั่ว พร้อมใช้นิ้วมือขยี้เส้นผม,โคนผมให้น้ำเปียกทั่วหนังศรีษะ จำนวน 3 ครั้ง
6.เสร็จแล้วให้นำน้ำมาราดรดร่างกายด้านขวา พร้อมใช้มือขัดถูตามผิวหนัง,ซอกพับต่างๆ ซอกนิ้วมือและนิ้วเท้า จำนวน 3 ครั้ง จากนั้นให้ปฏิบัติด้านซ้ายเช่นเดียวกัน จำนวน 3 ครั้ง
7.เมื่อเสร็จแล้วให้ย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่เล็กน้อย แล้วจึงล้างเท้าขวา 3 ครั้ง จากนั้นล้างเท้าซ้ายอีก 3 ครั้ง
ข้อควรระวังในการอาบน้ำญะนาบะฮ์
เมื่อผู้มีฮะดัษต้องการอาบน้ำ ให้คำนึงถึงประการต่อไปนี้
1.เมื่อแน่ใจว่าเกิดฮะดัษหรือมีญะนาบะฮ์ขึ้นแล้วให้รีบอาบน้ำชำระร่างกาย ( อัล-ฆุสลฺ )เพื่อยกฮะดัษโดยเร่งด่วน หากไม่สะดวกก็เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน
2.ต้องให้น้ำเปียกทั่วร่างกาย ตรวจสอบตามรอยพับต่างๆ เช่น รักแร้,ขาพับ,ซอกขาและใต้คาง มือลูบให้ทั่ว เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำเปียกทั่วถึงร่างกายทั้งหมดแล้ว
3.ต้องให้น้ำเปียกทั่วทุกขุมขน ด้วยการราดน้ำลงบนเส้นผมแล้วจึงขยี้ตามโคนผม เพื่อให้น้ำได้เปียกทั่วทั้งเส้นผมและหนังศรีษะ ตลอดจนขนตามบริเวณหรือส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ขนรักแร้,ขนหน้าอกและขนใต้ร่มผ้า
4.ต้องใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด ท่านรอซูลทรงใช้น้ำเพื่อการอาบน้ำละหมาดเพียง 1 มุด และทรงใช้น้ำในการอาบน้ำญะนาบะฮ์เพียง 1 ซอฮ์เท่านั้น
5.เมื่อต้องการล้างเท้าเสร็จพิธีอาบน้ำให้เลื่อนที่เจากบริเวณเดิมเล็กน้อย
6.ต้องปกปิดเอาเราะฮ์ อวัยวะพึงสงวนขณะอาบน้ำญะนาบะฮ์
ที่มา: muslimchiangmai.net
คลิป: Islam Majestic