ซุนนะฮฺที่เป็นที่รู้กันในวันศุกร์คือการละหมาดวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ) แต่มีอีกมากมายที่คนส่วนมากไม่รู้คือ ความประเสริฐและผลบุญของการละหมาดวันศุกร์ มารยาทในการละหมาดและการฟังคุฏบะฮฺ ทั้งๆที่เป็นอิบาดะฮฺที่สำคัญที่สุดในสัปดาห์หนึ่ง...
คนที่ไม่ละหมาดวันศุกร์ นี่คือผลตอบแทนที่ได้รับ
ซุนนะฮฺที่เป็นที่รู้กันในวันศุกร์คือการละหมาดวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ) แต่มีอีกมากมายที่คนส่วนมากไม่รู้คือ ความประเสริฐและผลบุญของการละหมาดวันศุกร์ มารยาทในการละหมาดและการฟังคุฏบะฮฺ ทั้งๆที่เป็นอิบาดะฮฺที่สำคัญที่สุดในสัปดาห์หนึ่ง
หลักฐานจากซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งสำหรับวันศุกร์ท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า:
عن أبي هريرة رضي الله عنه أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: (خير يوم طلعت عليه الشمس يوم الجمعة، فيه خلق آدم، وفيه أدخل الجنة، وفيه أخرج منها، ولا تقوم الساعة إلا في يوم الجمعة). [مسلم854].
ความว่า: วันประเสริฐที่สุดในบรรดาวันต่างๆ ที่มีดวงอาทิตย์ขึ้นคือวันศุกร์ ในวันนั้นอาดัมถูกสร้าง และในวันนั้นท่านได้เข้าสวรรค์ และในวันนั้นท่าน(นบีอาดัม)ถูกสั่งให้ออกจากสวรรค์(เนื่องจากความผิดของท่านที่กินจากต้นไม้ต้องห้าม) และวันกิยามะฮฺจะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่ในวันศุกร์” ซึ่งประการสุดท้ายนี้มีความสำคัญ เพราะวันศุกร์เป็นวันที่มุอฺมินเฝ้าคอยว่าอาจจะเป็นวันกิยามะฮฺ ทำให้มีความตั้งใจในการปฏิบัติอิบาดะฮฺ
หากมุสลิมผู้นั้นมีเงื่อนไขที่จำเป็นต้องละหมาดวันศุกร์ (เป็นอะฮฺลุลญุมอะฮฺ) ครบถ้วนเช่น เป็นชายเสรีชน บรรลุศาสนภาวะและมีสติปัญญาสมบูรณ์ มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่ได้เดินทางและเป็นผู้มีภูมิลำเนาที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้นซึ่งมีการทำละหมาดวันศุกร์ เป็นต้น แล้วบุคคลผู้นั้นก็ละทิ้งการละหมาดวันศุกร์ซึ่งเป็นหน้าที่จำเป็นเหนือบุคคลผู้อื่นโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ที่ผ่อนผันให้ไม่ต้องละหมาดวันศุกร์ บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้ฝ่าฝืน (อาศิน)
คนที่ไม่ละหมาดวันศุกร์ ท่านนบีกล่าวไว้ในหะดีษ บันทึกโดยอิมามอะหมัดและมุสลิม ว่า:
لقد هممت أن آمر بالصلاة فتقام ، ثم أخالف إلى منازل قوم لا يشهدون الصلاة ، فأحرق علي
ความว่า: ฉันได้ตั้งใจที่จะสั่งให้มีอิมามทำหน้าที่แทนฉัน แล้วไปหาบ้านหรือครอบครัวคนที่บิดพลิ้วไม่ละหมาดญุมุอะฮฺเพื่อเผาบ้านเขา? (แต่นบีไม่ได้ทำ แสดงว่าท่านนบีขู่ แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง)
لينتهين أقوام عن ودعهم الجمعات . أو ليختمن الله على قلوبهم
ความว่า: คนที่ชอบทิ้งละหมาดวันศุกร์ จะเลิกพฤติกรรมนี้ หรืออัลลอฮฺจะปิดหัวใจของเขา? คือไม่ได้รับทางนำ(ฮิดายะฮฺ)
ในหะดีษบันทึกโดยอิมามอะหมัด ท่านนบีกล่าวว่า:
من ترك ثلاث جمع تهاونا بها طبع الله على قلبه
ความว่า: ใครที่ตั้งใจทิ้งละหมาดวันศุกร์สามครั้ง ด้วยปล่อยปละละเลย (ไม่ให้ความสำคัญ ไม่เอาใจใส่) อัลลอฮฺจะประทับตรา(ปิด)หัวใจของเขา? (คือไม่ได้รับฮิดายะฮฺ)
เป็นเรื่องที่เราต้องระวัง โดยเฉพาะลูกหลานที่อยู่โรงเรียนที่ไม่ใช่มุสลิม เพราะในมัซหับชาฟิอียฺบอกว่า ละหมาดวันศุกร์ต้องมีมะอฺมูมอย่างน้อยสี่สิบคน นักเรียนที่อยู่ตามสถานศึกษาไม่ต้องละหมาดวันศุกร์เพราะไม่ครบสี่สิบคน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ลูกหลานของเราจึงใช้ชีวิตตั้งแต่บรรลุศาสนภาวะโดยไม่ละหมาดวันศุกร์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นเยาวชนของเราบางคนเดินหน้ามัสยิดโดยไม่เข้าไปละหมาดวันศุกร์ด้วยความเคยชินและไม่เห็นความสำคัญ
ดังนั้นที่ถูกต้อง คือ ต้องละหมาดวันศุกร์ มีแค่สองคนก็ให้คุฏบะฮฺและละหมาด (ทัศนะของอุละมาอฺส่วนมากถือว่าสองคนเป็นญะมาอะฮฺแล้ว) ต้องรณรงค์ให้เยาชนของเรารักษาละหมาดวันศุกร์ สำหรับคนที่ทำงานแล้วหรือมีบริษัทของตนเองก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการละหมาดวันศุกร์ทั้งกับตนเองและคนที่อยู่ในบริษัทด้วย
ที่มา: https://www.sunnahstudent.com
- ซอลาวาตนบี หนึ่งในซุนนะห์วันศุกร์ กล่าวให้มากๆในวันนี้
- ช่วงโควิด-19 ละหมาดวันศุกร์ที่บ้านได้ไหม?
- ความประเสริฐของวันศุกร์ในอิสลาม
- ดุอาอฺมุสตะญาบวันศุกร์
- วันศุกร์ วันที่ดีที่สุดสำหรับมุสลิม
- อาบน้ำวันศุกร์ เหนียตอย่างไร ขอรายละเอียดหน่อย
- ขาดละหมาดเกิน 3 ศุกร์ช่วงโควิด19 ไม่บาป
- ซูเราะห์อัลกะฮฺฟิ รัศมีส่องสว่างในวันศุกร์
- ความประเสริฐของวันศุกร์และการละหมาดยุมอะฮ์