ครอบครัวมุสลิมที่ดี หะดีษเกี่ยวกับครอบครัว อัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว


5,267 ผู้ชม

สามีที่ดี จะต้องเป็นผู้มอบความรัก ความห่วงใย ให้เกียรติ และความเสมอภาค ให้แก่ภรรยา โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กรณีที่สามีมีภรรยา มากกว่า หนึ่งคน...


ครอบครัวมุสลิมที่ดี หะดีษเกี่ยวกับครอบครัว อัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว

มอบสิทธิ์แห่งความเสมอภาคและรักนิรันดร์

สามีที่ดี จะต้องเป็นผู้มอบความรัก ความห่วงใย ให้เกียรติ และความเสมอภาค ให้แก่ภรรยา โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กรณีที่สามีมีภรรยา มากกว่า หนึ่งคน

ครอบครัวมุสลิม

ครอบครัวที่ดีจำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความอบอุ่น ความรัก ความเมตตาที่พึงมีต่อกัน มิใช่ว่าการตกลงใจอยู่ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกันนั้น เพื่อสนองความเรียกร้องตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะ อัลกุรอานได้บรรยายถึงลักษณะของครอบครัวตามอุดมการณ์ของอิสลามไว้ในโองการดังต่อไปนี้

อัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว

“และสัญญาณหนึ่งแห่งองค์พระผู้อภิบาลนั้นคือ พระองค์ทรงบังเกิดคู่ครองของพวกเจ้าจากเรือนร่างของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจักได้อยู่ร่วมชีวิตกับนาง และทรงประทานความรัก ความเมตตาขึ้นในหมู่พวกเจ้า” (กุรอาน 30:21)

“พระองค์ทรงบังเกิดพวกเจ้ามาจากชีวิตหนึ่งและทรงบังเกิดจากชีวิตนั้น ซึ่งคู่ครองของเขา เพื่อเขาจักได้อยู่ร่วมชีวิตกับนาง” (กุรอาน 7:189)

ความผูกพันของสามีภรรยานั้น นับว่าสูงส่งและมีค่าควรแก่การรักษายิ่ง เปรียบได้กับความรักความผูกพันของบุคคลหนึ่งที่มีต่อชีวิตของเขาเอง ด้วยเหตุนี้ การกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดการแตกร้าวหรือมีอันต้องหย่าขาดจากกันโดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ชอบธรรมนั้น เป็นสิ่งที่อิสลามได้กล่าวประนามไว้อย่างรุนแรง ในคัมภีร์อัลกุรอานได้แจ้งเตือนบรรดาสามีภรรยาให้มีความตระหนักและระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้หลายโองการ นอกจากนั้น อัลกุรอานยังได้เปรียบเทียบถึงลักษณะความผูกพันดังกล่าวไว้ดังนี้

“พวกนางเป็นอาภรณ์สำหรับพวกเจ้า และพวกเจ้าเป็นอาภรณ์สำหรับพวกนาง” (กุรอาน 2:187)

ครอบครัวมุสลิมที่ดี หะดีษเกี่ยวกับครอบครัว อัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว

เพื่อให้ชีวิตครอบครัวดำเนินไปด้วยความราบรื่น มีความมั่นคงและส่งผลที่ดีต่อสังคม อิสลามจึงได้กำหนดหน้าที่ของสามีภรรยาที่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อกันไว้ดังนี้

ครอบครัวมุสลิมกับสังคมโลกปัจจุบัน โดย อัช-ชะมาลี่ย์

สังคมที่ดีและมีคุณภาพนั้นเป็นสังคมที่มนุษย์ทุกๆคนใฝ่ฝันและปรารถนา เพราะสังคมที่ดีนั้นเป็นสังคมที่ผู้คนทั้งหลายสามารถใช้ชีวิตของพวกเขาได้อย่างสงบสุข ปราศจากซึ่งความหวาดกลัว ความหวาดระแวง และสามารถยืนหยัดอยู่ในโลกใบนี้ได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง ท่ามกลางสังคมอื่นๆที่ด้อยคุณภาพและเต็มไปด้วยปัญหา ข้อพิพาทระหว่างบุคคลในสังคมนั้นๆ ซึ่งปัจจัยและสาเหตุสำคัญ เปรียบเสมือนกุญแจไขความลับของความสำเร็จในสังคมที่ดีนั้นก็คือ ครอบครัวที่ดีนั่นเอง เป็นที่สังเกตได้โดยทั่วไปว่า " สังคมใดก็ตามที่มีโครงสร้างพื้นฐานมาจากครอบครัวที่ดีสังคมนั้นจะเป็นสังคมที่มีคุณภาพและสงบสุข "

ฉะนั้นในมุมมองของอิสลามซึ่งเป็นศาสนาที่ได้ประมวลไว้ด้วยสัจธรรมอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แบบ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ทั้งในอัลกุรอานและแบบฉบับของท่านศาสนทูต ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ดังที่อัลลอห์ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ใน อัลกุรอาน เกี่ยว กับ ครอบครัว

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنْفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَاراً

ความว่า " โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงปกป้องตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้รอดพ้นจากไฟนรก " ( ซูเราะห์ อัตตะห์รีม อายะห์ที่6 )

สำหรับการสร้างครอบครัวที่ดีนั้น อิสลามได้วางแนวทางอย่างละเอียดอ่อนและลึกซึ้งอย่างมากเพราะอิสลามมิได้เริ่มวางแผนครอบครัวหลังจากเเต่งงานแล้ว แต่ทว่าอิสลามได้เริ่มตั้งแต่ก่อนที่มนุษย์จะมีครอบครัวเสียอีก โดยเริ่มต้นตั้งแต่ก้าวแรกของการสร้างครอบครัวนั่นก็คือการประพฤติตนให้เป็นคนดี เพราะอิสลามได้ชี้แนวทางเอาไว้ว่าคนที่ดีก็จะได้ครองคู่กับคนที่ดีและคนเลวก็จะได้ครองคู่กับคนเลว ดังที่อัลลอห์ ตะอาลา ได้ทรงตรัสไว้ว่า อัลกุรอาน เกี่ยว กับ ครอบครัว

الْخَبِيثَاتُ لِلْخَبِيثِينَ وَالْخَبِيثُونَ لِلْخَبِيثَاتِ وَالطَّيِّبَاتُ لِلطَّيِّبِينَ وَالطَّيِّبُونَ لِلطَّيِّبَاتِ

ความว่า " หญิงชั่วย่อมคู่ควรกับชายชั่ว และชายชั่วย่อมคู่ควรกับหญิงชั่ว และหญิงดีย่อมคู่ควรกับชายดี และชายดีย่อมคู่ควรกับหญิงดี . (ซูเราะห์ อันนูร อายะห์ที่26 )

จากนั้นก็คือการดุอาวิงวอนต่ออัลลอห์ให้เขาได้คู่ครองที่ดี เพราะอิสลามสอนให้ผู้ศรัทธาเลือกคู่ครองที่ดี ดังที่อัลลอห์ตะอาลาได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

فَانْكِحُوا مَا طَابَ لَكُمْ مِنَ النِّسَاءِ

ความว่า " สูเจ้าทั้งหลายจงแต่งงานกับบรรดาหญิงที่ดีและเหมาะสมกับสูเจ้า " ( ซูเราะห์อันนิซาอฺ อายะห์ที่ 3 )

ครอบครัวมุสลิมที่ดี หะดีษเกี่ยวกับครอบครัว อัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว

และท่านศาสนทูต ซ็อลลัลลอหุอลัยฮิวะซัลลัมเองก็ได้ให้ความสำคัญในการเลือกคู่ครองเป็นอันมากซึ่งท่านได้ให้แนวทางในการเลือกคู่ครองเอาไว้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยสั่งใช้ให้ผู้ศรัทธาเลือกคู่ครองที่ดีมีศาสนา ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ใน หะดีษ เกี่ยวกับครอบครัว ว่า

تُنْكَحُ المَرْأَةُ لأَرْبَعٍ : لِمَالِهَا ، وَلِحَسَبِهَا ، وَلِجَمَالِهَا ، وَلِدِينِهَا ، فَاظْفَرْ بِذاتِ الدِّينِ تَربَتْ يَدَاك . مُتَّفَقٌ عَلَيهِ .

ความว่า " สตรีนั้นจะถูกพิจารณาเพื่อแต่งงานจากคุณสมบัติ4อย่างต่อไปนี้

1. ความร่ำรวยของนาง 2. วงศ์ตระกูลของนาง 3.ความงามของนาง 4. ศาสนาของนาง

ฉะนั้น จงเลือกสตรีที่มีศาสนาเถิด(ประพฤติตนอยู่ในหลักธรรมคำสอนของศาสนา) แล้วท่านจะได้รับความสุขความจำเริญในชีวิตของท่าน ” (บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์และมุสลิม)

ซึ่งสาเหตุที่อิสลามได้สั่งใช้ให้ผู้ศรัทธาเลือกคู่ครองที่ดีมีศาสนานั้นก็อันเนื่องมาจากว่า

สามีที่ดีมีศาสนานั้นจะปกครองดูแลครอบครัวได้อย่างถูกต้องและมั่นคงและสามารถนำพาครอบครัวดำเนินชีวิตไปตามแนวทางอันถูกต้องที่อิสลามได้วางรากฐานไว้ อันเป็นเหตุให้ครอบครัวนั้นได้รับความพึงพอพระทัยและความเมตตาจากอัลลอห์และได้รับสรวงสวรรค์อันสถาพรเป็นรางวัลตอบแทนจากพระองค์

ส่วนภรรยาที่ดีมีศาสนานั้นก็จะอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยกับหลักคำสอนของอิสลามในทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหวของบุตร อาทิเช่น สอนให้บุตรอ่านอัลกุรอาน และทำละหมาด , อ่านดุอาต่างๆ ตลอดจนอบรมจรรยามารยาทอันดีงาม ฯลฯ เป็นต้น

ครอบครัวมุสลิมที่ดี หะดีษเกี่ยวกับครอบครัว อัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว

ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่าสามีและภรรยาที่ดีนั้นเป็นปัจจัยและสาเหตุสำคัญที่จะทำให้ครอบครัวและสังคมเกิดความสงบสุขและมั่นคง

หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต เราจะพบว่าบรรดาชนในยุคแรกเริ่มของอิสลามนั้นต่างก็เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการวางแผนและการสร้างครอบครัวที่ดี ซึ่งหากจะหยิบยกนำมากล่าว ณ ที่นี้คงจะไม่สามารถนำมากล่าวได้ทั้งหมด และผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในการสร้างและปกครองครอบครัวที่ดีที่สุดนั้นก็คือท่านศาสนทูต ซ็อลลัลลอหุอลัยฮิวะซัลลัม นั่นเอง ซึ่งท่านศาสนทูตได้กำชับให้ความสำคัญในการวางแผนและสร้างครอบครัวตลอดจนสังคมที่ดีและมั่นคง โดยท่านได้กล่าวไว้ใน หะดีษ เกี่ยวกับครอบครัว ของท่านไว้ในหลายๆบทด้วยกัน เช่น

- สอนให้ผู้นำมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสมาชิกที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนเอง ดังที่ท่านได้กล่าวว่า

كلكم رَاعٍ ، وَكُلُّكُمْ مَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ : وَالأمِيرُ رَاعٍ ، والرَّجُلُ رَاعٍ عَلَى أهْلِ بَيتِهِ ، وَالمَرْأةُ رَاعِيةٌ عَلَى بَيْتِ زَوْجها وَوَلَدهِ ، فَكُلُّكُمْ رَاعٍ ، وَكُلُّكُمْ مَسْؤُولٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ مُتَّفَقٌ عَلَيهِ .

ความว่า " ท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ และจะต้องถูกสอบสวนถึงสิ่งที่ได้ดูแลและได้รับมอบหมาย และ ผู้ปกครองนั้นเป็นผู้ที่จะต้องมีความรับผิดชอบ , สามีต้องดูแลรับผิดชอบต่อสมาชิกในครอบครัวของเขา , ภรรยาต้องดูแลรับผิดชอบต่องานบ้านของสามีและลูกๆของนาง ,

ดังนั้น พวกท่านทั้งหลายจึงเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและจะต้องถูกสอบสวนถึงสิ่งที่ดูแลและได้รับมอบหมาย " บันทึกโดย อิหม่ามบุคอรีย์และมุสลิม 

- สอนให้ผู้นำมีจรรยามารยาทอันงดงามโดยยึดเอามาจากอัลกุรอานและแบบอย่างของท่านศาสนทูต ดังที่อัลลอห์ ตะอาลาได้ตรัสว่า

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ

ความว่า " แท้ที่จริงแล้วท่านศาสนทูตนั้นเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพวกเจ้า " ( ซูเราะห์ อัลอะห์ซาบ อายะห์ที่ 21 )

และท่านศาสนทูตก็ได้กล่าวว่า

بعثت لأتمم صالح الأخلاق رواه الحاكم ، والبيهقى

ความว่า " ฉันนั้นถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตเพื่อเป็นแบบอย่างของมารยาทอันดีงามและสมบูรณ์ " บันทึกโดย อัลฮากิม และ อัลบัยหะกีย์ .โดยเชคอัลบานีย์ได้กล่าวว่าเป็นหะดีษที่ถูกต้อง (ซอเฮี๊ยะห์)

- สอนให้สามีครองเรือนอยู่ร่วมกับภรรยาด้วยคุณธรรม ดังที่ท่านศาสนทูตได้ถูกถามว่า " อะไรคือสิทธิของภรรยาที่จะได้รับจากสามี " ท่านศาสนทูตจึงตอบว่า

تطعمها إذا طعمت وتكسوها إذا اكتسيت ولا تضرب الوجه ولا تقبح ولا تهجر إلا في البيت

رواه أبو داود وابن حبان و صححه الألباني .

ความว่า " ท่าน(สามี)จะต้องให้นางรับประทานอาหารเหมือนดังที่ท่านรับประทาน และท่านจะต้องให้เสื้อผ้าอาภรณ์เเก่นางดังที่ท่านมีเสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่ และท่านจะต้องไม่ตบหน้าของนาง และท่านจะต้องไม่ด่าทอนางด้วยคำพูดที่น่ารังเกียจ และท่านจะต้องไม่หนีห่างออกจากนางเว้นแต่ภายในบริเวณบ้านของท่าน " บันทึกโดยอิหม่ามอบูดาวุด และอิบนุ ฮิบบาน โดยท่านเชค อัลบานีย์กล่าวว่าเป็น หะดีษ เกี่ยวกับครอบครัว ที่ถูกต้อง(ซอเฮี๊ยะห์) 

- สอนให้ภรรยาดูแลปรนนิบัติสามีอย่างดี โดยท่านศาสนทูตได้เปรียบเทียบไว้ในหะดีษบทหนึ่งว่า

لو كنت آمرا أحدا أن يسجد لأحد لأمرت المرأة أن تسجد لزوجها

ความว่า " หากว่าฉันสามารถสั่งใช้ให้คนๆหนึ่งสุญูด( เคารพ เชื่อฟัง ) ต่อ คนๆหนึ่งได้ ฉันจะสั่งใช้ให้ภรรยา สุญูด (เคารพ เชื่อฟัง ) ต่อสามีของนาง . บันทึกโดย อิหม่ามอบูดาวุดและ อิบนุมาญะหฺ

- สอนให้บุตรหลานเชื่อฟังบิดามารดา และดูแลปรนนิบัติท่านทั้งสองอย่างดี ดังที่มีระบุในหะดีษบทหนึ่งของท่านศาสนทูตได้กล่าวไว้ว่า

أيُّ العَمَلِ أَحَبُّ إِلَى اللهِ تَعَالَى ؟ قَالَ : الصَّلاَةُ عَلَى وَقْتِهَا قُلْتُ : ثُمَّ أيُّ ؟ قَالَ : بِرُّ الوَالِدَيْنِ قلتُ : ثُمَّ أيُّ ؟ قَالَ : الجِهَادُ في سَبيلِ اللهِ

ความว่า " รายงานจากท่านอิบนุมัสอู๊ดโดยท่านได้ถามท่านศาสนทูตว่า " การงานใดหรือที่เป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอห์ ตะอาลา ท่านศาสนทูตตอบว่า " การละหมาดตรงเวลา " ฉันจึงถามท่านอีกว่า "แล้วอะไรต่อจากนั้นหรือ " ท่านตอบว่า " การทำดีต่อบิดามารดา " ฉันจึงถามท่านอีกว่า " แล้วอะไรต่อจากนั้นหรือ " ท่านตอบว่า " การต่อสู้ในหนทางของอัลลอห์ " . บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์และมุสลิม .

ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงบางตัวอย่างที่ท่านศาสนทูตได้ชี้นำครอบครัวมุสลิมให้ดำเนินรอยตาม ซึ่งบรรดามุสลิมในยุคแรกๆต่างก็ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดอันเป็นเหตุให้ครอบครัวและสังคมในยุคนั้นมีความเข้มแข็งมั่นคงและผู้คนต่างใช้ชีวิตได้อย่างมีความสงบสุข

แต่เมื่อเราย้อนกลับมามองและพิจารณาถึงสภาพครอบครัวมุสลิมในสังคมโลกปัจจุบันเราจะพบว่ามีความตกต่ำลงไปจากในอดีตเป็นอันมาก

ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ทำให้ครอบครัวและสังคมมุสลิมเกิดความตกต่ำลงไปจากเดิมในอดีตอันรุ่งเรืองมีดังนี้

- ออกห่างจากคำสอนของอิสลามอันถูกต้องที่ตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของอัลกุรอานและแบบฉบับของท่านศาสนทูตอันเป็นเหตุทำให้พวกเขาหันเหออกจากแนวทางอันถูกต้องในที่สุด

- ขาดจิตสำนึกในค่านิยมและอุดมการณ์อันล้ำค่าของอิสลาม และหลงใหลคลั่งใคล้ในค่านิยมของกลุ่มชนอื่น

- ละเลยการเอาใจใส่ในการเลือกคู่ครองที่ดีมีศาสนาให้กับบุตรหลาน ดังนั้นเมื่อเลือกคู่ครองโดยมองปัจจัยอื่นเหนือกว่าการมีศาสนา เช่น ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ จึงทำให้ครอบครัวนั้นมิสามารถดำเนินไปในหนทางที่ประสบความสำเร็จอย่างเเท้จริงได้

- ละเลยการเอาใจใส่ในการศึกษาเรียนรู้วิชาการทางด้านศาสนาอันถูกต้องและมองว่าการเรียนรู้ศาสนาเป็นเรื่องล้าสมัย และไม่มีเกียรติในสังคม

- หลงใหลชีวิตในโลกนี้จนหลงลืมความสุขที่แท้จริงในโลกหน้าอันนิจนิรันดร์

ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวมานี้สามารถเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและพัฒนาให้ครอบครัวและสังคมมุสลิมกลับมาเป็นสังคมที่เข้มแข็งและมั่นคงได้หากทุกๆครอบครัวร่วมมือกันโดยทำให้ครอบครัวของตนเองเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับครอบครัวอื่น เมื่อทุกๆครอบครัวเป็นครอบครัวที่ดีก็จะทำให้สังคมนั้นๆเกิดความเข้มแข็งและสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตได้ด้วยความมั่นคงและสงบสุข
เครดิต อัลอิคลาส วัลมุตาบ

บทความดังกล่าวนี้ เป็นบทความเกี่ยวกับ ครอบครัวมุสลิมที่ดี ซึ่งได้มีการนำเสนอ หะดีษ เกี่ยวกับครอบครัว และ อัลกุรอาน เกี่ยว กับ ครอบครัว ทั้งนี้ ยังมีหะดิษ อีกมากมาย ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีจากท่านนบีมูฮำหมัด(ซ.ล.) ทั้งนั้น สมควรค่าแก่การนำมาเป็นแบบอย่างให้มุสลิมไทย น้อมนำมาปรับใช้กับการ สร้างครอบครัวมุสลิมที่ดี เป็นกำลังรากฐานให้สังคมไทยต่อไป

อัพเดทล่าสุด