สลามยามเช้า การทักทายแบบมุสลิม เรียกว่า หรือการให้สลาม เพราะการให้สลาม หรือรับสลามเป็นการขอดุอาอฺ (การวิงวอน)...
สลามยามเช้า การทักทายแบบมุสลิม
การทักทายแบบมุสลิม เรียกว่า หรือการให้สลาม เพราะการให้สลาม หรือรับสลามเป็นการขอดุอาอฺ (การวิงวอน)
"อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ"
แปลว่า : "ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่าน"
ผู้ได้ยิน จะต้องรับว่า
" วะอะลัยกุมุสลาม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ "
แปลว่า "ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลลอฮฺจงประสบแด่ท่านเช่นกัน"
ซึ่งถ้ามีมุสลิมผู้ใด กล่าวสลาม แล้วจำเป็น(วาญิบ) ที่มุสลิมที่ได้ยินนั้น ต้องรับสลาม
- ท่านนบีมูฮัมมัด ศอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ระบุว่า หากกล่าว "อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ"
เช่นนี้ผู้กล่าวได้ 30 ผลบุญ
- แต่ถ้าให้สลามโดยกล่าวว่า
"อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะมะตุลลอฮฺ" ท่านนบีระบุว่าคนกล่าวได้ 20 ผลบุญ
- และส่วนบุคคลใดกล่าว "อัสสลามุอะลัยกุม" เขาจะได้ 10 ผลบุญ
- "วัสสลามมุอะลัยกุม" ก็มักจะใช้เมื่อเราจะจากกัน
-และเมื่อมีผู้ฝากสล่ามมาถึง หมายถึง บุคคลที่ 1 ฝากสล่าม ไปถึงบุคคลที่ 3 โดยฝากไปกับบุคคลที่ 2 ต้องตอบรับว่า
"วะอะลัยกะ อะลัยฮิสสลาม "
หมายความว่า "ขอความสันติ ความเมตตาจงมีแด่ผู้ให้(ฝากมา) และผู้นำ(ผู้รับฝาก)มาเช่นกัน "
ถ้ามีผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเข้ามากล่าวสลาม ให้นั้น ต้องบอกเขาว่า ไม่สามารถกระทำได้ แม้ว่าจะเป็นการหวังให้เขาได้รับความรู้สึกดีๆ เพราะการให้สล่ามและการรับสล่ามนั้นเป็นการขอดุอา (วิงวอน)
ต่อพระเจ้า (อัลลอฮฺ ซุบบะฮานะฮูวะตะอาลา ) ของผู้ที่นับถืออิสลาม
สำหรับผู้ที่สนใจอิสลาม แต่ยังไม่ได้เข้ารับอิสลาม
หรือ ถ้ามีมุสลิมมากล่าวสล่าม (เพราะคิดว่า อีกฝ่ายเป็นมุสลิม) ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมก็สามารถบอกไปได้ว่า ขอโทษค่ะ /ครับ มิใช่มุสลิมคะ/ครับ เป็นการแสดงให้เขาเห็นว่า เราแสดงความบริสุทธิ์ใจกับเขาด้วยค่ะ
หากแต่จะ จับมือทักทาย (เฉพาะเพศเดียวกันเท่านั้น) สามารถทำได้
แล้ว บอกเพื่อนไปได้ค่ะ ว่า ที่ทำไปเพราะไม่รู้เพราะอยากให้เพื่อนรู้สึกดี แต่ตอนนี้ทราบแล้ว และเรากำลังศึกษาอิสลามอยู่นะคะ แค่นี้ เพื่อนคุณก็จะรู้สึกดีมากๆแล้วค่ะ เพราะคุณกำลังสนใจศาสนาของเพื่อนคุณเคารพศรัทธาอยู่นั่นเองค่ะ เขาจะยิ่งอยากช่วยเหลือให้ความรู้กับคุณค่ะ
การทักทายแบบมุสลิม มารยาทในการให้สลาม
- เด็กให้กับผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถทักทายเด็กก่อนได้ เพราะเป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักเรียนรู้สิ่งที่ดีในอิสลาม
- คนที่เิดินให้กับคนที่นั่ง
- ก่อนเข้าบ้านควรที่จะให้สล่ามก่อน หรือก่อนเข้าบ้านใครก็ให้สล่ามก่อน อย่าดุ่มๆเข้าไปพร้อมให้สล่ามทันที เพราะเจ้าของบ้าน อาจจะยังแต่งกายไม่เรียบร้อยหรือติดธุระหรือไม่อยู่บ้าน
- หญิงควรให้กับหญิง ชายควรให้กับชาย แต่ชายและหญิงสามารถให้สล่ามกันได้
- ถ้ามีมุสลิมอยู่รวมกับผู้ไม่ใช่มุสลิม สามารถกล่าวสล่ามได้
- ผู้ที่ให้สล่ามก่อนประเสริฐกว่า
หลีกเลี่ยงการให้สล่ามในสถานการณ์ ต่อไปนี้
- คนที่กำลังสนใจกุรอาน อ่านกุรอานอยู่
- ใครที่กำลังกล่าวคำบรรยายหรือฟังคำปราศัยหรืิอเทศนาอยู่
- เมื่อคนกำลังอะซาน(ทำการเรียกร้องสู่การละหมาด)
- ครูที่กลังสอนหนังสือ
- คนที่กำลังทำกิจธุระ (ขับถ่าย)
อย่ากล่าวสลามกับบุคคลต่อไปนี้
- ผู้ที่กำลังทำสิ่งชั่วช้าที่อิสลามห้ามไว้
- ผู้ที่โจมตีให้ร้ายอิสลาม บิดเบือนศาสนา หรือเอาศาสนามาพูดตลก
- ผู้ที่ปลุกปั่น ยุยงให้คนเกลียดและต่อต้านอิสลาม
ด้วยความเคารพ
วัสสลามมุอะลัยกัม
-----------
การ ทักทาย เป็นมารยาททางสังคมอีกประการหนึ่ง ซึ่งแสดงออกถึงความผูกพัน ความมีมิตรไมตรี และความสมานฉันท์กันของผู้คน
ดังนั้น ผู้คนในสังคมต่าง ๆ จึงมีวิธีการและคำทักทายตลอดจนมารยาทในการทักทายเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรม มุสลิมก็เป็นอีกประชาคมหนึ่ง ซึ่งมีวัฒนธรรมของตนเองในการทักทาย และอิสลามได้กำหนดมารยาทในการทักทายให้ แก่มุสลิมให้ปฏิบิติดังนี้ :-
1. คัมภีร์กุรอานกำหนดให้มุสลิมกล่าวคำว่า "อัสสะลามุอะลัยกุม" (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เมื่อพบปะพี่น้องมุสลิมด้วยกัน และเป็นหน้าที่สำหรับผู้ได้รับคำทักทายดังกล่าว จะต้องกล่าวตอบรับว่า "วะอะลัยกุมุสสะลาม"(ขอความสันติจงมีแด่ท่านเช่นกัน) เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ ก็ให้กล่าวต่อจากนั้นเพิ่มไปอีกว่า "วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮฺ" (และความเมตตาของอัลลอฮฺและความจำเริญจากพระองค์จงเป็นของท่าน) อย่างไรก็ตาม ควรพยายามที่จะเป็นผู้กล่าวสลามก่อน
2. การจับ มือกันหลังการทักทายจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยผู้ชายจะจับมือกับผู้ชาย และหญิงจับมือกับผู้หญิงเท่านั้น ห้าม ชายและหญิง จับมือกันในการทักทาย(ไม่ว่าจะมีสิ่งอื่นปิดกั้นหรือไม่ จะเอาผ้ามารองหรือใส่ถุงมือก็ตาม หากถือว่าการเอาสิ่งอื่นมารองถือว่าจับมือได้แล้ว อวัยวะส่วนอื่นที่ห้ามสัมผัสหากมีผ้าหรือสิ่งอื่นมาปิดกั้นถือว่าใช้ได้กะ นั้นหรือ?) เว้นแต่จะเป็นญาติพี่น้องร่วมสายโลหิต หรือบุคคลที่เรามิอาจแต่งงานด้วยได้เท่านั้น การจับมือควรจับให้กระชับพอดี ไม่ใช่แค่ใช้ปลายนิ้วแตะกัน หรือบีบมือจนแน่นเกินไป
3. เมื่อ เข้าบ้าน ก็ให้กล่าวสลามแก่สมาชิกในครอบครัว และก่อนที่จะเข้าบ้านคนอื่น ก็ให้สลามแก่คนในบ้านนั้นเสียก่อน และกล่าวสลามอีกครั้งหนึ่งเมื่อตอนจะกลับ
4. ถึงแม้จะเป็นมารยาทที่ผู้น้อยจะต้องกล่าวสลามแก่ผู้ใหญ่ แต่การกล่าวสลามแก่เด็ก
เล็ก ๆ ก็ไม่เป็นที่ต้องห้ามหรือเสียหาย ในทางตรงกันข้าม มันกลับการเป็นการดีเสียอีก เพราะการกระทำเช่นนั้น เป็นการฝึกเด็ก ๆ ให้รู้จักมักคุ้นกับวัฒนธรรมในการทักทายของอิสลาม
5. ผู้หญิงอาจกล่าวสลามทักทายผู้ชายเช่นเดียวกับผู้ชายก็สามารถที่จะกล่าวสลามทักทายผู้หญิงได้เช่นกัน
6. ผู้น้อย จะต้องกล่าวคำสลามต่อผู้ใหญ่ ผู้ที่เดินอยู่จะต้องกล่าวสลามแก่ผู้ที่นั่งอยู่ คนหมู่น้อยจะกล่าวสลามแก่คนหมู่มาก ผู้ที่อยู่บนยานพาหนะจะต้องกล่าวสลามแก่ผู้ที่เดินหรือนั่งอยู่ข้างทาง
7. การกล่าวคำว่า "อัสสะลามุอะลัยกุม" เป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่ถูกทักทายอย่างดีที่สุดแล้ว ดังนั้น จึงไม่ต้องเอ่ยชื่อของผู้ที่เราทักทายอีก
8. ถ้า หากมีโอกาสที่จะฝากให้ใครกล่าวสลามแก่ญาติผู้ใหญ่หรือญาติมิตรเพราะเราไม่ สามารถที่จะไปพบได้ ก็จงฉกฉวยโอกาสนั้นฝากสลามไปถึงบุคคลที่เราต้องการ
9. อนุญาตให้กล่าวสลามแก่ที่ชุมนุมที่มีทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิมอยู่ร่วมกันได้
10. เมื่อ ท่านศาสดามุฮัมมัดส่งสารไปยังจักรพรรดิเฮราคลีอุสแห่งอาณาจักรโรมัน เพื่อเชิญชวนให้เข้ารับอิสลาม ท่านได้ใช้คำทักทายจักรพรรดิคริสเตียนว่า "สะลามุ อะลา มะนิตตะบะอัล หุดา" (สันติจงมีแด่ ผู้ปฏิบัติตามทางนำ)
11. เมื่อเพื่อนพ้อง หรือญาติใกล้ชิดหรือผู้อาวุโส กลับมาจากการเดินทางไกล โดยเฉพาะเมื่อกลับมาอุมเราะฮหรือฮัจญ์ จงกล่าวสลาม และสวมกอด
12. เมื่อเดินผ่านสุสาน (กุบูร) ฝังศพมุสลิม ให้กล่าวสลามแก่ผู้ที่อยู่ในสุสานว่า "อัสสะลามุ อะลัยกุม ยาอะฮลัล กุบูร" (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ ชาวสุสาน)
จงหลีกเลี่ยงการกล่าวสลามภายใต้สถานการณ์ดังต่อไปนี้ :
1. เมื่อคนกำลังสนใจอยู่กับการอ่าน ฟัง หรือกำลังสอนกุรอาน
2. เมื่อใครกำลังกล่าวหรือฟังคำปราศรัยหรือคำเทศนาอยู่
3. เมื่อใครบางคนกำลังอะซาน หรือตักบีร
4. เมื่อผู้คนกำลังพูดคุยกันถึงเรื่องบทบัญญัติของอัลลอฮฺ
5. เมื่อครูกำลังสอนหนังสือ
6. เมื่อคนกำลังถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
อย่ากล่าวสลามให้แก่บุคคลที่กำลังทำสิ่งต่อไปนี้ :
1. ผู้ที่กำลังทำสิ่งชั่วช้าลามกที่อิสลามได้ห้ามไว้
2. ผู้ที่กล่าวโจมตีให้ร้าย บิดเบือนศาสนา หรือเอาศาสนามาพูดเป็นเรื่องตลก
3. ผู้ที่พูดปลุกปั่นยุยงให้คนเกลียดและต่อต้านศาสนา ไม่เพียงแต่จะต้องไม่กล่าวสลามให้แก่คนดังกล่าวมาเท่านั้น ท่านจะต้องแสดงความรังเกียจการกระทำ และผู้กระทำเช่นนั้นด้วย