ละหมาด ไม่ตรงเวลา เลยเวลา ละหมาด มีผลอย่างไร?


5,295 ผู้ชม

คำถาม อยากทราบผลของการละหมาดไม่ตรงเวลา และการละหมาดชดใช้จะมีผลอย่างไร?...


ละหมาด ไม่ตรงเวลา เลยเวลา ละหมาด มีผลอย่างไร?

คำถาม อยากทราบผลของการละหมาดไม่ตรงเวลา และการละหมาดชดใช้จะมีผลอย่างไร?

พระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  ทรงดำรัสว่า  :

ความว่า: “แล้วมีกลุ่มชนรุ่นหลังได้มาภายหลังพวกเขา  (พวกชนรุ่นหลังนั้น)  ได้ทำให้การละหมาดสูญหายไป  (ทิ้งละหมาด)  และปฏิบัติตามอารมณ์ความใคร่  พวกเขาจะได้พบกับการหลงผิด  (หรือขุมนรกหนึ่งในญะฮันนัม)  ยกเว้นบุคคลที่สำนึกผิด,  ศรัทธาและประพฤติการงานที่ดี”  (มัรยัม  :  59-60)  

ท่านอิบนุ  อับบาส  (ร.ฎ.)  กล่าวว่า  :  คำว่า  “พวกเขาได้ทำการละหมาดสูญหาย” มิได้หมายความว่าพวกเขาทิ้งการละหมาดทั้งหมด  แต่พวกเขาล่าช้าการละหมาดจนออกจากเวลาของการละหมาดนั้น  ท่านสะอีด  อิบนุ  อัลมุซัยยับ  อิหม่ามของชนรุ่นตาบิอีน  กล่าวว่า  :  คือการที่เขาจะไม่ละหมาดซุฮฺริจนกว่าเวลาอัศริมาถึง  และจะไม่ละหมาดอัศริจนเข้าสู่เวลามัฆริบ  และจะไม่ละหมาดมัฆริบจนเข้าสู่เวลาอิชาอฺ  และจะไม่ละหมาดอิชาอฺจนเข้าสู่เวลาฟัจฺร์  (ซุบฮิ)  และจะไม่ละหมาดฟัจฺร์จนกระทั่งดวงตะวันขึ้น  

ละหมาด ไม่ตรงเวลา เลยเวลา ละหมาด มีผลอย่างไร?

ดังนั้น ละหมาด ไม่ตรงเวลา ผู้ใดตายไปในสภาพที่เขายืนกรานต่อสภาพเช่นนี้  และไม่สำนึกผิด  (เตาบะฮฺ)  พระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  ทรงคาดโทษ  (สัญญาร้าย)  แก่ผู้นั้นด้วย  ฆ็อยฺย์  อันหมายถึง  ขุมหนึ่งในนรกญะฮันนัมที่ก้นของมันลึกและรสชาติ  (หรืออาหาร)  ของมันเลวยิ่งนัก  

และพระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  ทรงดำรัสในอีกอายะฮฺหนึ่งว่า

ความว่า: “ดังนั้นความวิบัติมีแก่บรรดาผู้ละหมาดที่พวกเขาหลงลืมจากการละหมาดของพวกเขา”  (อัลมาอูน  :  4)  

หมายถึง  พวกเขาหลงลืมและเพิกเฉยต่อการละหมาด  ท่านสะอฺด์  อิบนุ  อบีวักก็อซ  (ร.ฎ.)  กล่าวว่า  :  ฉันได้ถามท่านร่อซู้ล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ถึงบรรดาผู้ที่หลงลืมจากการละหมาดของพวกเขา  (ว่าหมายถึงอย่างไร?)  ท่านร่อซู้ล  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  กล่าวว่า  :  คือการล่าช้าเวลาละหมาด  หมายถึง  ล่าช้าในการละหมาดจนออกจากเวลาของมัน  (ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุดระบุว่า  หะดีษนี้เป็นคำพูดของท่านสะอฺด์)  

ละหมาด ไม่ตรงเวลา เลยเวลา ละหมาด มีผลอย่างไร?

พระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  ทรงเรียกชื่อพวกเขาว่าเป็นบรรดาผู้ปฏิบัติละหมาด  (اَلْمُصَلِّيْنَ)  แต่ทว่าเมื่อพวกเขากระทำเบาความและทำให้การละหมาดล่าช้าจนออกจากเวลาของมัน  พระองค์จึงทรงคาดโทษพวกเขาด้วยกับวัยฺล์  (وَيْل)  อันหมายถึง  การลงทัณฑ์อันรุนแรง  บ้างก็กล่าวว่า  หมายถึง  ขุมหนึ่งในนรกญะฮันนัม  ซึ่งถ้าหากนำเอาบรรดาขุนเขาในโลกนี้ใส่ลงไปในขุมนี้  แน่นอนบรรดาขุนเขาเหล่านั้นก็จะหลอมละลายสิ้นเนื่องจากความร้อนที่รุนแรงของมัน  

ขุมนรกนี้ เป็นที่พำนักของบรรดาผู้เพิกเฉยและกระทำเบาความกับการละหมาด  และทำให้การละหมาดล่าช้าจนออกจากเวลาของมัน  ยกเว้นผู้ที่สำนึกผิดยังพระองค์อัลลอฮฺ  (ซ.บ.)  และเสียใจที่ต่อความบกพร่องของตน  (The  Mejor  sins  Al-KABA'IR ;  By  Muhammad  Bin  Uthman  Adh-Dha  habi,  Rendered  into  English  By  Mohammed  Moinuddin  Siddiqui,  ph D.  p.34-35)  

ดังกล่าวข้างต้นคือ  ผลของการละหมาดไม่ตรงเวลา  ซึ่งหากกระทำโดยเจตนาและไม่มีความจำเป็น หรืออุปสรรคพร้อมกับการเพิกเฉยและกระทำเบาความก็ถือ เป็นบาปใหญ่

ซึ่งจำเป็นต้องเตาบัตตัวโดยไม่รีรอ  ส่วนการชดใช้  (กอฎออฺ)  ละหมาดที่ขาดไปนั้น  ถ้าหากว่าขาดไปเพราะลืมหรือนอนหลับ  นักวิชาการเห็นพ้องกันว่า  จำเป็นต้องกอฎออฺ  (ชดใช้)  ส่วนผู้ที่ละทิ้งการละหมาดโดยเจตนา  ตามทัศนะของปวงปราชญ์  (ญุมฮู๊ร)  ถือว่า  ผู้นั้นมีความผิดและจำเป็นที่ผู้นั้นต้องชดใช้ 

แต่นักวิชาการบางท่าน  เช่น  อิบนุตัยมียะฮฺ  (ร.ฮ.)  และอิบนุฮัซฺมิน  ระบุว่า  ไม่มีบัญญัติให้เขาผู้นั้น  (ผู้ที่เจตนาละทิ้งการละหมาด)  ทำการชดใช้  (กอฎออฺ)  และถือว่าการละหมาดชดใช้ไม่เซาะฮฺ  (ใช้ไม่ได้)  -ฟิกฮุซซุนนะฮฺ  ;  อัซซัยยิด  ซาบิก  เล่มที่  1  หน้า  297-300)

ซึ่งในประเด็นนี้ ละหมาด ไม่ตรงเวลา เลยเวลา ละหมาด สมควรที่จะยึดถือตามทัศนะของปวงปราชญ์เพราะเป็นสิ่งที่รอบคอบกว่า

 ที่มา: alisuasaming.org

อัพเดทล่าสุด