หนี้สินกับอิสลาม หากไม่ใช้หนี้ ระวัง..ไม่ได้เข้าสวรรค์!


9,397 ผู้ชม

หากท่านไม่ใช้หนี้สินที่ยืมไปจากผู้อื่น ระวังท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์ แม้แต่คนตายชะฮีดติดคดีนี้ ยังไม่สามารถเข้าสวรรค์ได้เลย


หนี้สินกับอิสลาม หากไม่ใช้หนี้ ระวัง..ไม่ได้เข้าสวรรค์!

หากท่านไม่ใช้หนี้สินที่ยืมไปจากผู้อื่น ระวังท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์ แม้แต่คนตายชะฮีดติดคดีนี้ ยังไม่สามารถเข้าสวรรค์ได้เลย

ผู้ศรัทธาทุกคนมีภาระผูกพันกับหนี้สินของเขา จนกว่าเขาจะชำระหนี้สินนั้นเสีย

อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

“วิญญาณของผู้ศรัทธาจะถูกกักไว้ โดยจะยังไม่ได้รับรางวัลของความดีที่กระทำไว้ จนกว่าหนี้สินของเขาจะได้รับการชดใช้” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 1078 และ 1079)
อัชเชากานีย์ กล่าวว่า

“หะดีษบทนี้ชี้ให้เห็นว่า อิสลามได้ส่งเสริมให้ทายาทผู้รับมรดกชดใช้หนี้สินแทนผู้ตาย โดยเน้นย้ำว่าผู้ตายที่ยังมีหนี้สินอยู่นั้น จะถูกกักตัวไว้ก่อนจนกว่าหนี้สินของเขาจะได้รับการชำระที่กล่าวมานี้เป็นกรณีที่ผู้ตายมีทรัพย์สินเพียงพอ แต่หากเป็นผู้ขัดสนซึ่งไม่มีทรัพย์สิน และตายไปในสภาพที่เขามีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะชำระหนี้ให้ได้ เช่นนี้อัลลอฮฺก็จะทรงชดใช้หนี้สินแทนเขา ดังมีหลักฐานจากหะดีษมากมายที่ระบุถึงเรื่องนี้” (นัยลุลเอาฏอร เล่ม 2 หน้า 53)

หนี้สินกับอิสลาม หากไม่ใช้หนี้ ระวัง..ไม่ได้เข้าสวรรค์!

ทั้งนี้ ผู้ศรัทธานั้นอาจจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าสวรรค์ด้วยเหตุที่เขายังมีหนี้สินค้างชำระ ดังมีหะดีษบันทึกโดยอบูดาวูด จากสะมุเราะฮฺ เล่าว่า 

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวในคุฏบะฮฺว่า “มีผู้ใดในที่นี้มาจากเผ่านี้ (ท่านระบุชื่อเผ่าหนึ่ง) ไหม?” ไม่มีผู้ใดตอบ ท่านจึงกล่าวซ้ำอีกว่า “มีผู้ใดมาจากเผ่านี้ไหม?” ก็ไม่มีผู้ใดตอบอีก ท่านจึงกล่าวอีก “มีผู้ใดมาจากเผ่านี้ไหม?” จึงมีชายคนหนึ่งลุกขึ้น และกล่าวว่า “ฉันเอง โอ้ ท่านเราะสูลลุลลอฮฺ” ท่านจึงกล่าวแก่ชายคนนั้นว่า “เหตุใดเล่าท่านจึงไม่ตอบฉันตั้งแต่สองครั้งแรกที่ฉันถาม ที่จริงแล้วฉันมิได้กล่าวถึงพวกท่านเว้นแต่ในทางที่ดี ฉันจะบอกว่าพี่น้องของท่านคนหนึ่งยังคงถูกกักตัว (ไม่ได้เข้าสวรรค์) เนื่องจากหนี้สินของเขาที่ยังคงค้างชำระ” จากนั้นฉันก็เห็นชายคนดังกล่าวช่วยชำระหนี้ให้แก่ผู้ตายจนกระทั่งไม่มีผู้ใดทวงถามให้ชำระอีกต่อไป (บันทึกโดยอบูดาวุด หะดีษเลขที่ 3341)

ในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า 

 إِنَّ الرَّجُلَ الَّذِي مَاتَ فِيكُمْ قَدِ احْتَبَسَ عَنِ الْجَنَّةِ مِنْ أَجْلِ الدَّيْنِ الَّذِي عَلَيْهِ ، فَإِنْ شِئْتُمْ فَافْدُوهُ ، وَإِنْ شِئْتُمْ فَأَسْلِمُوهُ إِلَى عَذَابِ اللّهِِ 

“ชายคนหนึ่งในหมู่พวกท่านที่เสียชีวิตลง ได้ถูกกักตัวไว้ไม่ให้เข้าสวรรค์เพราะยังมีหนี้สินยังค้างชำระ หากพวกท่านประสงค์ก็จงช่วยปลดปล่อยเขาเสีย (ด้วยการชดใช้หนี้แทนเขา) หรือไม่ก็ปล่อยให้เขาต้องเผชิญกับการลงโทษของอัลลอฮฺไป” (บันทึกโดย อัลหากิม หะดีษเลขที่ 2216)

และแม้แต่ชะฮีด (ผู้สละชีพในหนทางของอัลลอฮฺ) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการลบล้างบาปทั้งหมด ก็ยังถูกยกเว้นในเรื่องหนี้สิน ดังที่ อับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

“ทุก ๆ บาปของชะฮีดนั้นจะได้รับการยกโทษ ยกเว้นเรื่องหนี้สิน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1886)

ที่มา : ส่วนหนึ่งจากบท ความการชดใช้หนี้สิน

ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย

แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ /www.islammore.com

อัพเดทล่าสุด