เดินตัดหน้าคนละหมาด บาปไหม?


7,245 ผู้ชม

เดินตัดหน้าคนละหมาด บาปไหม?


เดินตัดหน้าคนละหมาด บาปไหม?

ท่านมุสลิมได้รายงานว่า อบูญุฮัยม์ได้ถูกถามว่ าสิ่งใดบ้านที่เขาได้รู้จากท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับผู้เดินผ่านหน้าผู้กำลังทำละหมาดอยู่ ดังนั้น ท่านอบูญุฮัยม์ จึงกล่าวตอบว่า

ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "หากผู้เดินทางหน้าผู้ทำการละหมาดรู้ว่า อะไรคือ(โทษ)ที่จะเกิดขึ้นบนเขา แน่นอนการที่เขาหยุด 40 ปีนั้น ย่อมดียิ่งกว่าสำหรับจากการเดินทางหน้าผู้ทำการละหมาด" รายงานโดยมุสลิม (785)"

ท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า:

"เมื่อคนใดในหมู่ท่านทำการละหมาด ก็จงอย่าได้ปล่อยให้ผู้ใดเดินตัดหน้าเขาในระยะใกล้ และให้กั้นขวางเขาเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากเขาผู้นั้นยังคงดื้อดึง ก็ให้ผลักเขาออกไปได้ เพราะแท้จริงแล้วเขาผู้นั้นคือชัยฏอน"

(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 505)

ท่านสะฮฺล์ บิน อบี หัษมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า:

"เมื่อคนใดในหมู่ท่านยืนละหมาดโดยหันเข้าหาสิ่งกั้น เขาก็จงขยับเข้าไปใกล้สิ่งนั้นให้มากที่สุด เพื่อที่ชัยฏอนจะได้ไม่สามารถทำลายสมาธิของเขาในการละหมาด"

(บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 16090)

ดังนั้น เวลาเราละหมาด ก็สุนัตให้มีสิ่งที่มากั้น (ซุตเราะฮ์) เช่นการทำการละหมาดโดยมีฝาหรือกำแพงอยู่ข้างหน้า หรือมีเสาอยู่ข้างหน้า หรือมีไม้เท้าปักอยู่ หรือปูญัดญาดะฮ์ หรือขีดเส้นข้างหน้าไว้ หรือเอากระเป๋าใส่หนังสือวางไว้ หรือเอาตำราหนังสือวางไว้ (การวางนั้นคือให้วางข้างหน้าโดยวางให้อยู่ข้างขวาหรือข้างซ้าย อย่าวางตรงข้างหน้า) ดังนั้น หากเรามีซุตเราะฮ์แล้ว ก็ถือว่าฮะรอมเดินผ่าน และหากมีคนเดินผ่าน ก็สุนัตให้ผู้ละหมาดผลักอกเขาอย่าให้เดินผ่านเข้ามา หากเดินเข้ามาอีกก็ผลักอีก หากยังดันทุรังเดินเข้ามาอีก ก็จัดการรบกับเขาเลย

เดินตัดหน้าคนละหมาด บาปไหม?

นั่นคือ กรณีที่เราละหมาดแล้วมีของมากั้น

ส่วนกรณีที่เราทำการละหมาด โดยไม่มีสิ่งมากั้น ก็ถือว่าเป็นความบกพร่องของเราเอง อย่าไปโทษคนที่เดินผ่านเลย (หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ : 1/380) และไม่ฮะรอมด้วยหากไม่มีสิ่งมากั้น ดังนั้นผู้เดินผ่านจะกระทำบาป เมื่อเขาได้เดินผ่านหน้าผู้ละหมาดที่มีของกั้นหรือมีสิ่งใดที่นำมาเป็นซุตเราะฮ์

เมื่อมีสิ่งที่มากั้น (ซุตเราะฮ์) แล้วก็เดินผ่านนั้น บังจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี

1. หากคนเดินผ่านทราบว่าการเดินผ่านหน้าผู้ละหมาดโดยมีสิ่งกั้นขวางเป็นสิ่งที่ฮะรอมและมีซุนนะฮ์ห้าม แน่นอนว่าผู้ที่เดินทางเป็นผู้กระทำบาปและฝ่าฝืนนั่นเอง และให้ผู้ละหมาดผลักอกเขาอย่าให้เดินผ่าน

2. หากผู้เดินผ่านไม่รู้ว่าการเดินผ่านหน้าผู้ละหมาดที่มีสิ่งกั้นขวางเป็นสิ่งฮะรอม ก็ถือว่าไม่ฮะรอมเดินผ่าน แต่ก็ให้ผู้ละหมาดผลักอกผู้เดินผ่านอย่าให้เดินผ่านหน้าเรา เพื่อเป็นการตักเตือนและหักห้ามจากการทำสิ่งไม่ดี(ด้วยการเดินผ่านดังกล่าวนั้น)

3. ส่วนการที่ผู้ละหมาดไม่ได้วางซุตเราะฮ์ไว้ คือทำการละหมาดแล้วไม่ได้วางอะไรกั้นไว้เลย ก็ถือว่าฮะรอมผลักผู้เดินผ่าน เพราะถือว่าเป็นความการเบาความเลินเล่อของผู้ที่ละหมาดเองที่ไม่รอบคอบในการวางหรือกั้นซุตเราะฮ์เอาไว้ ดังนั้นผู้ละหมาดก็อย่าไปโทษคนอื่น แต่ต้องโทษตัวเราเอง

ส่วนเส้นแถวในละหมาดนั้น หากทำขึ้นเพื่อเป็นซุตเราะฮ์แก่ผู้ละหมาดและผู้คนทั้งหลายต่างรู้กันดี ก็ถือว่าเป็นซุตเราะฮ์และห้ามเดินผ่านนะครับ ส่วนระยะความห่างระหว่างผู้ละหมาดกับเส้นขีดนั้น คือยาว 3 ศอกของคนที่มีรูปร่างปานกลาง หากพ้น 3 ศอกไปแล้ว ก็เดินผ่านได้ ...

ส่วนแถวหน้าของผู้ละหมาดนั้น นับว่าเป็นซุตเราะฮ์ หากจะผ่านเข้าไปแถวหน้าก็ต้องแหวกแถวไปไม่ใช่เดินตัดผ่านข้างหน้า...

สำหรับผู้เป็นมะอ์มูมไม่จำเป็นต้องวางสิ่งกั้น ทั้งนี้ การวางสิ่งกั้นในละหมาดญะมาอะฮฺนั้นถือเป็นหน้าที่ของอิหม่าม ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า

"ฉันขี่ลามาถึง ในขณะที่ท่านเราะสูล กำลังนำละหมาดที่มินาโดยมิได้หันเข้าหาผนัง แล้วฉันก็เดินผ่านระหว่างแถวละหมาดแล้วปล่อยให้ลากินหญ้า จากนั้นจึงเข้าร่วมละหมาดในแถว โดยที่ไม่มีผู้ใดตำหนิฉันเลยแม้แต่ผู้เดียว ซึ่งในขณะนั้นฉันก็อยู่ในวัยที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว"

(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 76 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 504)

การละหมาดก็ยังเป็นสิ่งแรกที่บ่าวจะถูกถามถึงในวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน ที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ตามรูปแบบที่ท่านนบี ได้เคยสั่งใช้และทำไว้เป็นแบบอย่างแก่ประชาชาติของท่าน

ท่านมาลิก บิน อัล-หุวัยริษ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า

"พวกท่านจงละหมาด เหมือนดังที่พวกท่านเห็นฉันละหมาดเถิด"

(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 631)

อัพเดทล่าสุด